5 เทรนด์เทคโนโลยีที่สำคัญของภาครัฐในปี 2567 เผยโดย Gartner เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้นำองค์กรภาคสาธารณะในการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น รวดเร็วขึ้นและให้ความคุ้มค่ายิ่งขึ้น ท่ามกลางความวุ่นวายทั่วโลกทั้งบนโลกจริงและโลกออนไลน์ที่มีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดต่อเนื่องและการนำ AI มาใช้งานกำลังเพิ่มความกดดันให้ภาครัฐฯ ในการตอบสนองความต้องการของภาคประชาชนที่ต้องการบริการที่มีความรวดเร็วและสร้างสรรค์กว่าเดิม ผู้บริหาร CIO ของภาครัฐฯ ต้องหาวิธีการใหม่ ๆ ที่สอดรับกับความต้องการดังกล่าวด้วยบริการที่ทันสมัย เข้าถึงง่ายและยืดหยุ่น โดยเน้นไปที่เทคโนโลยีที่ยั่งยืนและปรับขนาดได้
ผู้บริหาร CIO ของรัฐบาลควรพิจารณาผลกระทบของเทรนด์ทั้ง 5 เพื่อปรับใช้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อสร้างเคสการลงทุนในการเพิ่มความสามารถต่าง ๆ ทางธุรกิจ พร้อมบรรลุเป้าหมายการจัดลำดับความสำคัญของความเป็นผู้นำ และสร้างองค์กรภาครัฐที่พร้อมสำหรับอนาคต
5 เทรนด์เทคโนโลยีที่สำคัญของภาครัฐในปี 2567
Gartner
Adaptive Security – ความปลอดภัยปรับเปลี่ยนได้
ในปี 2571 Multiagent AI หรือ AI ที่สามารถเข้าใจและทำงานกับข้อมูลหลายประเภทที่ใช้เพื่อตรวจจับและรับมือต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามจะถูกนำมาใช้เพิ่มจาก 5% เป็น 70% โดยไม่ได้นำมาแทนที่พนักงานที่เป็นมนุษย์ ซึ่ง AI กำลังสร้างการปรับเปลี่ยนและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ขึ้นใหม่ ด้วยการนำเสนอโอกาสใหม่ ๆ แก่ CIO ขององค์กรภาครัฐฯ และโมเดล Adaptive Security จะทำงานผสานพร้อมปรับเปลี่ยนเครื่องมือ เทคนิค รวมถึงกำหนดผู้มีทักษะความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้เหมาะสมกับภูมิทัศน์ภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง
“ผู้บริหาร CIO และผู้นำภาครัฐฯ ต้องเอาชนะการต่อต้านการนำ Adaptive Security มาใช้ที่ยืดเยื้อ โดยเชื่อมโยงคุณค่าเทคโนโลยีนี้เข้ากับวัตถุประสงค์องค์กรในมิติที่กว้างขึ้น อาทิ นวัตกรรมดิจิทัลและการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน, ภารกิจด้านความมั่นคงของชาติ และการสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน”
Digital Identity Ecosystems – อัตลักษณ์ดิจิทัลในระบบนิเวศต่าง ๆ
Digital Identity หรือ อัตลักษณ์ดิจิทัลในภาครัฐกำลังขยายไปสู่ระบบนิเวศที่ใหญ่ขึ้น รวมถึงการตรวจสอบอัตลักษณ์ของผู้ใช้ การระบุตัวตนของพลเมืองหรือองค์กร และการตรวจสอบข้อมูลรับรอง หรือ Credential Verification เช่น วอลเล็ตแบบระบุอัตลักษณ์บุคคลบนสมาร์ทโฟน คาดว่าในปี 2569 ผู้ใช้สมาร์ทโฟนอย่างน้อย 500 ล้านรายจะใช้สิทธิ์ยืนยันตัวตนเป็นประจำผ่านการใช้กระเป๋าเงินระบุตัวตนดิจิทัลที่สร้างขึ้นจาก Distributed Ledger Technology หรือ เทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย
ผู้บริหาร CIO ภาครัฐฯ สามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับกลยุทธ์การระบุอัตลักษณ์ดิจิทัลได้โดยการสร้างยูสเคสและเพิ่มความร่วมมือที่แยกอิสระจากภาคส่วนดั้งเดิมเพื่อเพิ่มมูลค่ายิ่งขึ้นให้กับประชาชน รัฐบาล และธุรกิจ โดยผู้บริหารสามารถกำหนดรูปแบบระบบนิเวศใหม่เหล่านี้ขึ้นได้ด้วยการตอกย้ำบทบาทของรัฐฯ ที่เป็นผู้เชื่อมโยง ผู้อำนวยความสะดวก และผู้กำกับดูแลอัตลักษณ์ดิจิทัลที่มีศักยภาพ
AI for Decision Intelligence – เอไอเพื่อการตัดสินใจอัจฉริยะ
ภายในปี 2569 หน่วยงานภาครัฐมากกว่า 70% จะใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจด้านการบริหารงานของมนุษย์ และในอีกสองปีข้างหน้านี้ เทคโนโลยี Machine learning, Analytics และ Generative AI จะเติบโตก้าวกระโดด
“เครื่องมือเหล่านี้จะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างรอบคอบ และสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้บริหาร CIO ของรัฐฯ จะต้องขับเคลื่อนนโยบายการนำ AI มาใช้และกำหนดขอบเขตการกำกับดูแล AI ทั่วทั้งองค์กร โดยจะต้องพัฒนากลยุทธ์ที่รวมเอานโยบายเหล่านี้และให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ จากนั้นใช้แนวทาง Assurance Approach อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าหลังการนำ AI มาใช้แล้วนโยบายเหล่านี้จะได้รับการปรับปรุง”
Digital Platform Agility – ความคล่องตัวแพลตฟอร์มดิจิทัล
องค์กรภาครัฐกำลังนำโซลูชันบนแพลตฟอร์มมาใช้มากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคลาวด์สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม หรือ Industry Cloud และแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันแบบ Low-Code ที่ปรับใช้ความสามารถทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วพร้อมจัดการความเสี่ยงในการให้บริการที่เกิดจากระบบที่ล้าสมัย ยืดหยุ่นและปรับขนาดตามความต้องการสำหรับบริการของประชาชนได้ง่ายดาย โดยความสามารถ Cloud-Native ในโซลูชันแพลตฟอร์มเหล่านี้ยังช่วยควบคุมต้นทุนและใช้เวลาในการดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น
โซลูชันแพลตฟอร์มบนคลาวด์จะเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมและกระบวนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในองค์กรภาครัฐ ผู้บริหาร CIO ภาครัฐฯ ควรใช้กลยุทธ์ “มัลติคลาวด์” เพื่อเพิ่มประโยชน์ที่ได้รับจากโอกาสเหล่านี้ได้อย่างสูงสุด และลดความซับซ้อนในการปรับปรุงระบบให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น
Programmatic Data Management – การจัดการข้อมูลเชิงโปรแกรม
ผู้นำรัฐบาลกำลังเรียกร้องให้มีการใช้ข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจและการวางแผนมากขึ้น โดย Programmatic Data Management เป็นแนวทางที่เป็นระบบและมีความสามารถในการปรับขนาด ช่วยให้ภาครัฐสามารถใช้สินทรัพย์ข้อมูลทั่วทั้งองค์กรได้ ที่กำลังได้รับการพัฒนาโดยแพลตฟอร์มอัตโนมัติต่าง ๆ และรวมความสามารถของ AI ไว้ คาดว่าภายในปี 2569 องค์กรภาครัฐมากกว่า 60% จะให้ความสำคัญกับการลงทุนพัฒนากระบวนการทางธุรกิจแบบอัตโนมัติ เพิ่มขึ้นจาก 35% ในปี 2565
จาก 5 เทรนด์ดังกล่าว ผู้บริหาร CIO จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนท่ามกลางแนวโน้มดังกล่าวดังนี้
ผู้บริหาร CIO ภาครัฐต้องเอาชนะอุปสรรคในการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้
• เน้นย้ำถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีเหล่านี้ต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร
• พัฒนากลยุทธ์ที่ครอบคลุมและกำหนดขอบเขตการกำกับดูแล
• ใช้แนวทาง “มัลติคลาวด์” ลดความซับซ้อน ปรับปรุงระบบให้ทันสมัย
• ปรับปรุงกฎระเบียบและโครงสร้างต่าง ๆ ที่ควบคุมข้อมูล
อ้างอิง Gartner
———————————————————————————————————————————————————————————
ที่มา : iT24Hrs / วันที่เผยแพร่ 14 พ.ค. 67
Link : https://www.it24hrs.com/2024/government-technology-trends-2567/