จีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน มาเลเซีย เวียดนาม และไต้หวัน ต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่พิพาทในทะเลจีนใต้มายาวนานหลายทศวรรษ เนื่องจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการเดินเรือ อีกทั้งยังเป็นแหล่งประมงและมีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ โดยหน่วยงานของสหประชาชาติเคยประเมินว่า ในปี 2016 การค้าโลกมากกว่า 21% เดินทางผ่านเส้นทางนี้
แผนที่ฉบับล่าสุดของจีนที่เผยแพร่ในปี 2023 มีเส้นแบ่งเขตแดนที่เรียกว่า ‘เส้น 10 ขีด’ (Ten-Dash Line) ซึ่งต่อยอดมาจาก ‘เส้น 9 ขีด’ (Nine-Dash Line) ซึ่งอ้างสิทธิทางประวัติศาสตร์ เพื่อกำหนดให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลจีนใต้เป็นอาณาเขตอธิปไตยของจีน เส้น 9 ขีดนี้เคยทำให้ฟิลิปปินส์นำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลกในปี 2013 ก่อนที่คณะอนุญาโตตุลาการถาวรจะตัดสินว่า จีนไม่อาจอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ โดยใช้สิทธิทางประวัติศาสตร์ หรือเส้น 9 ขีดได้ อย่างไรก็ตาม จีนปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการพิจารณาคดี และปฏิเสธคำตัดสินดังกล่าว โดยเส้น 10 ขีดในปัจจุบันครอบคลุมถึงพื้นที่ของเกาะไต้หวันด้วย
ภาพประกอบ: พิชามญชุ์ วรรณสาร
อ้างอิง:
https://www.theguardian.com/world/2023/sep/08/competition-over-the-south-china-sea-explained-in-30-seconds
https://www.scmp.com/news/china/diplomacy/article/3275354/why-has-sabina-shoal-become-china-philippine-flashpoint
https://apnews.com/article/china-philippines-south-china-sea-ship-06e9fe0ef440aba09bc650d986d83377
———————————————————————————————
ที่มา : The Standard / วันที่เผยแพร่ 22 ส.ค.67
Link: https://thestandard.co/territorial-disputes-in-the-south-china-sea/