CIA เลือดเข้าตา เล่นทุกทางหวังเอาชนะสงครามข่าวกรอง เปิดรับสมัครสายลับในจีน-อิหร่าน-เกาหลีเหนือ แบบโจ่งแจ้งทางออนไลน์ หวังดึงเอาคนที่ไม่พอใจการปกครองของประเทศตัวเองมาเป็นพวกป้อนข้อมูลความลับให้ ไม่สนใจว่าจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ต้องระวังดาบสองคม เพราะสายลับเหล่านั้นอาจล้วงความลับอเมริกาส่งกลับประเทศตัวเอง
ในรายการ “คุยทุกเรื่องกับสนธิ” หรือ “สนธิทอล์ก”เมื่อวันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม ที่ผ่านมา นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เครือผู้จัดการได้กล่าวถึงกรณีสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (Central Intelligence Agency) หรือ CIA พยายามเพิ่มขีดความสามารถด้านข่าวกรองของตัวเอง เพื่อสู้กับ “จีน” มหาอำนาจจากซีกโลกตะวันออกที่ได้ขยายความร่วมมือกับ “รัสเซียและอิหร่าน”
ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา CIA ได้ลงประกาศรับสมัคร“สายลับ”ใน จีน อิหร่าน และเกาหลีเหนือ ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย โดยผู้สนใจสามารถส่งชื่อและข้อมูลสมัครได้ทางผ่านเว็บไซต์ และช่องทางที่เป็นความลับ
การประกาศรับสมัครสายลับในจีน อิหร่าน และเกาหลีเหนือผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ทั้ง X, Facebook, YouTube, Instagram, Telegram และ LinkedIn รวมถึงในดาร์กเว็บ มีทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษาฟาร์ซี และภาษาเกาหลี โดยโพสต์ถึง “วิธีติดต่อซีไอเออย่างปลอดภัย (Securely Contacting)”
สำหรับ สาเหตุที่ทำไม CIA ต้องประกาศรับสมัครสายลับผ่านโซเชียลมีเดียอย่างเปิดเผยแทนที่จะไปหาสายลับกันแบบเงียบ ๆ โฆษก CIA กล่าวในแถลงการณ์ว่า “เราต้องการให้แน่ใจว่าบุคคลในระบอบเผด็จการอื่น ๆ รู้ว่าเราพร้อมอยู่เสมอ และความพยายามนี้เป็นเพียงวิธีเดียวที่ซีไอเอจะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมระดับโลกใหม่ ที่มีการปราบปรามของรัฐ และการเฝ้าสอดแนมทั่วโลกได้”
นาย เดวิด เอส.โคเฮน (David S.Cohen) รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ แสดงความมั่นใจกับสำนักข่าว Bloomberg ว่าจะมีคนจากประเทศเป้าหมายจำนวนมากสมัครเป็นสายลับกับ CIA อย่างแน่นอน โดยเขาบอกว่า มีคนจำนวนมากที่เข้าถึงข้อมูลภายในของรัฐบาลตัวเองและไม่พอใจกับระบอบการปกครองในประเทศของตัวเอง CIA จึงมั่นใจว่าคนกลุ่มนี้จะมาสมัครเป็นสายลับของ CIA
“มีคนจำนวนมากที่เข้าถึงข้อมูลได้และไม่พอใจระบอบการปกครองของ สี จิ้นผิง ในจีน … มีผู้คนในนั้นที่ไม่ชอบทิศทางที่ สี จิ้น ผิง กำลังนำพาประเทศไป และเข้าใจว่ายังมีเส้นทางที่จะช่วยเหลือประเทศของตนเองได้โดยทำงานร่วมกับเรา”
อย่างไรก็ตาม ได้เกิดคำถามว่า แล้วคนเกาหลีเหนือที่สนใจจะสมัครเป็นสายลับให้ CIA จะสมัครได้อย่างไร เพราะคนเกาหลีเหนือส่วนใหญ่ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ ซึ่ง CIA คาดว่าเป็นไปได้ที่คนเกาหลีเหนือที่อาศัยอยู่ติดชายแดนจีนมักจะข้ามพรมแดนเข้ามาค้าขายในจีนแล้วกลับไปที่เกาหลีเหนือ จึงทำให้ในช่วงที่มาฝั่งจีนเป็นโอกาสที่ดีที่พวกเขาจะเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและอาจสนใจสมัครเป็นสายลับให้ CIA ก็ได้
ขณะที่ นายหลิว เผิงอี๋ว์ (Liu Pengyu) โฆษกสถานทูตจีนประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ก็กล่าวตอบโต้ถึงความเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า “ความพยายามใด ๆ ก็ตามที่จะสร้างความแตกแยกระหว่างชาวจีน กับ พรรคคอมมิวนิสต์จีน หรือทำลายความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างจีนกับจีน จะต้องล้มเหลวอย่างแน่นอน” โดยที่ผ่านมา จีนพยายามเตือนประชาชนของตัวเองให้ระวังถูกสายลับต่างชาติล่อลวงให้เผยแพร่ข้อมูลความลับ
ทั้งนี้ใน ปีงบประมาณ 2567 สหรัฐฯ มีการจัดสรรงบประมาณการป้องกันประเทศทั้งหมดของกระทรวงกลาโหม และหน่วยข่าวกรองกลางสหรัฐฯ ไว้จำนวน 944,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือราว 31.6 ล้านล้านบาท) โดยแบ่งเป็น
– 842,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับกระทรวงกลาโหม
– 2,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จัดสรรไว้สำหรับโครงการข่าวกรองแห่งชาติ
– 29,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับโครงการข่าวกรองทางทหาร
ขณะที่ งบประมาณการป้องกันประเทศของรัสเซียสำหรับในห้วงเวลาเดียวกันนั้นคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 130,000 ถึง 140,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือราว 4.4 ถึง 4.7 ล้านล้านบาท)
ในขณะเดียวกันรายงานระบุว่าค่าใช้จ่ายด้านการทหารของจีนสำหรับปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 224,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(ราว 7.5 ล้านล้านบาท)
สรุปง่าย ๆ ก็คือ งบประมาณด้านการทหารของจีนและรัสเซีย นั้นอยู่ที่เพียงระหว่าง 20% และ 12-13% ของงบประมาณด้านการทหารของสหรัฐฯ เท่านั้น
เป็นที่ทราบกันดีในชุมชนข่าวกรองของสหรัฐฯ ว่า การจะเข้าไปเจาะข้อมูล ล้วงความลับในรัสเซีย จีน อิหร่านหรือเกาหลีเหนือนั้นเป็นเรื่องยากมาก พิสูจน์ได้จากรายงานของ เว็บไซต์นิวยอร์กไทมส์ เมื่อ ปี 2560 ที่รายงานความล้มเหลวของปฏิบัติการสายลับของ CIA ในจีนช่วง ระหว่างปี 2553 ถึง 2555 สายลับ CIA ของสหรัฐฯ ถูกทางการจีนจับกุมได้มากถึง 20 ราย โดยรัฐบาลจีนได้ลงโทษสายลับเหล่านี้ด้วยการสังหาร หรือ ตัดสินโทษจำคุก ส่งผลให้การเจาะข่าวข้อมูลของสหรัฐฯ ประสบกับภาวะชะงักงันยาวนานหลายปี
นี่เองเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ CIA ต้องพยายามเพิ่มทรัพยากรบุคคลในการหาข่าวในหมู่คนหนุ่มสาวชาวจีนที่ไม่พอใจรัฐบาล รวมทั้งสนับสนุนให้คนหนุ่มสาวที่ชังชาติเหล่านี้ทำการติดต่อผ่านสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศนั้น ๆ
รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองสหรัฐฯ นายเดวิด โคเฮน ยังเน้นย้ำถึงการกระจายกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน กระจายไปทั่วโลก แทนที่จะรวมศูนย์ กระจุกตัวอยู่ที่สำนักงานใหญ่ CIA แห่งเดียว โดยเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะทำหน้าที่ประสาน และคอยยุยงประเทศต่าง ๆ ให้ระแวงต่อประเทศจีน
วิธีการดังกล่าวนี้ ไม่ต่างจาก ยุทธวิธีที่ CIA ใช้ในช่วง “สงครามเย็น” ในช่วงศตวรรษที่ 20 และ เหมือนกับวิธีที่สหรัฐฯ ใช้ภายหลังจากการรุกรานยูเครนของรัสเซียในปี 2565 โดย CIA ได้เปิดช่องทางในการรับข้อมูลจากพลเมืองรัสเซียที่ไม่พอใจรัฐบาลปูตินผ่านช่องทางออนไลน์ อีกทั้งยังรณรงค์แคมเปญเรียกร้องให้ร่วมมือต่อต้านรัสเซีย
การกระทำเหล่านี้สะท้อนถึง กลยุทธ์ในการแทรกซึมเข้าไปในรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นคู่ปรับกับสหรัฐฯ นั่นเอง
ทั้งนี้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เมื่อ วันที่ 23 มกราคม 2567 CIA ยังเคยเผยแพร่วีดิโอสั้นภาษารัสเซีย ความยาวเกือบ 3 นาที ผ่านบัญชีแพลตฟอร์ม X, Facebook และ Telegram เพื่อชักชวน และ ปลุกปั่นเจ้าหน้าที่ข่าวกรองรัสเซียที่รู้สึกว่า ตนเองถูกผู้นำระดับสูงของรัสเซียทรยศ และ คดโกงผ่านการคอร์รัปชัน จากนั้นจึงชวนให้มาเป็นสายลับสองหน้าให้ CIA โดยในวีดิโอนำเสนอเรื่องราว ผ่านตัวละครเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองทหารรัสเซียที่ผิดหวัง และ ตัดสินใจติดต่อกับ CIA ในที่สุด
ทั้งนี้ CIA มักใช้สื่อและเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการรับสมัครสายลับหน้าใหม่ โดยวิธีการเปิดรับสายลับในเกาหลีเหนือและอิหร่าน เช่นเดียวกันกับโมเดลการบ่มเพาะสายลับหนุ่มสาวที่ชังชาติโซเวียตได้สำเร็จบางส่วน
เมื่อย้อนไปอีก เมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 จากรายงานของสำนักข่าว VOA ระบุว่า ซีไอเอ ต้องการกระตุ้นคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมงานกับหน่วยข่าวกรองกลาง โดยปรับภาพลักษณ์ใหม่ขององค์กรให้ทันสมัยและเข้าถึงคนหนุ่มสาวและเปิดรับคนหลากหลายเชื้อชาติมากกว่าที่เป็นอยู่
บนเว็บไซต์ของ CIA ระบุว่า หลายคนอาจนึกถึงเจ้าหน้าที่ CIA สวมเสื้อโค้ทคลุมยาวปกปิดใบหน้า คอยส่งข้อความรหัสลับหากัน หรือแม้กระทั่งใช้อุปกรณ์แปลกๆ เช่น กล้องหรือโทรศัพท์แบบลับ ๆ ในการทำงาน เหมือนที่หลายคนเคยเห็นในภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ หรือในนวนิยายสายลับต่าง ๆ แต่ภาพที่เห็นนี้ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่งานของ CIA ทั้งหมด
ภาพด้านบน เป็นภาพโปสเตอร์ภาพหญิงสาวสวย ผมดำขลับ หน้าตาคม ที่มุมหนึ่งมองเหมือนกับเธอมีเชื้อสายฮิสแปนิก-ละติน แต่อีกมุมเหมือนชาวตะวันออกกลาง พร้อมกับข้อความเชิญชวนให้เข้าร่วมงานเป็นคนสืบข่าวให้กับ CIA
นี่เป็นหนึ่งในแคมเปญที่ CIA ตั้งเป้าหมายในการจ้างคนรุ่นใหม่ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติมาร่วมทีมมากขึ้น โดยในเว็บไซต์ของ CIA ระบุว่า “เราจะสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อสำหรับคนทำงานที่มีภูมิหลังและประสบการณ์ รวมทั้งประสบการณ์กับมุมมองที่หลากหลาย เพื่อเจ้าหน้าที่ของเราจะได้ทุ่มเทปกป้องประเทศ”
การปรับโครงสร้างของ CIA ครั้งนี้ พุ่งเป้าไปกลุ่มคนรุ่นใหม่ เริ่มแรกปฏิบัติการเมื่อปี 2561 ในยุคของ นางจีนา ฮาสเพล (Gina Haspel) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯที่จ้างหนุ่มสาวชาวอเมริกันรุ่นใหม่ที่เก่ง ๆ แบบเปิดกว้างไม่มีข้อจำกัดด้านเพศสภาพ เชื้อชาติ หรือพื้นเพด้านวัฒนธรรมใด ๆ
ทั้งนี้ CIA ได้เริ่มปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์บนโลกออนไลน์ตั้งแต่ วันที่ 4 มกราคม 2564 ด้วยการเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ที่ทันสมัยจนถึงปัจจุบัน ที่สร้างความแตกต่างจากเว็บไซต์ของรัฐบาลสหรัฐฯทั่วไป เมื่อเทียบกับหน่วยงานที่ใกล้เคียงกันอย่างสำนักงาน FBI สืบสวนกลางของสหรัฐฯ ที่ยังคงเป็นภาพถ่ายบุคคลที่ต้องการตัวมากที่สุดในสหรัฐฯ
นอกจาก CIA จะใช้วิธีดึงดูดคนรุ่นใหม่มาร่วมงานผ่านการประกาศรับสมัครทางออนไลน์แล้ว ทาง CIA ยังเปิด บัญชีอินสตาแกรม เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2562 และสร้างเว็บไซต์ที่มีโดเมน ด็อท อันเนียน (.onion) ซึ่งเป็นโดเมนพิเศษที่ใช้เป็นช่องทางติดต่อบน ดาร์กเว็บมืด ไว้สำหรับผู้ที่ต้องการสื่อสารกับ CIA อีกทางหนึ่ง
สำหรับ การ Rebranding ของ CIA เป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้ CIA เป็นที่รู้จักและดึงดูด คนรุ่นใหม่ อายุ 18-35 ปี (คือ คน Gen Y ต่อ Gen Z) ให้เข้ามาร่วมงานกับ CIA ซึ่ง โฆษกของสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯขณะนั้น เปิดเผยว่า CIA ต้องการให้คนกลุ่มหนุ่มสาวเหล่านี้อยากทำงานกับองค์กรข่าวกรองซึ่งสามารถเจริญก้าวหน้าและเติบโต และอ้างว่าพันธกิจของ CIA อย่างหนึ่ง คือ การสร้างองค์กรที่รับฟัง ให้ความเคารพ และให้คุณค่ากับทุกคน
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาทำงานกับ CIA จะต้องเป็นพลเมืองอเมริกันหรือจะมีสองสัญชาติก็ได้ อายุ 18 ปีขึ้นไป มีความพร้อมที่จะย้ายเข้ามาทำงานในกรุงวอชิงตัน และต้องผ่านการตรวจสอบประวัติด้านความมั่นคงและด้านสุขภาพ
ส่วนตำแหน่งงานใน CIA ที่เปิดรับสมัครนั้นประกอบไปด้วย
-นักวิเคราะห์ด้านคอมพิวเตอร์
-นักวิเคราะห์ด้านการทหาร
-กราฟิกดีไซน์เนอร์
-นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี
-นักวิเคราะห์ด้านอาวุธ
-นักทำแผนที่จากข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมมาได้ ซึ่งตำแหน่งนี้มีบทบาทสำคัญต่อการวิเคราะห์ด้านข่าวกรอง เพื่อเป็นข้อมูลการตัดสินใจให้กับผู้กำหนดนโยบายสำคัญๆของประเทศรวมถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ ด้วย
ประเด็นสำคัญหนึ่ง ที่ผู้สมัครหลายคนอยากรู้ คือ ในการทำงานเป็นสายลับใน CIA จะได้ผลตอบแทน คิดเป็นตัวเงินเท่าไหร่?
ในประกาศรับสมัครงานของ CIA ระบุว่า รายได้รายปีของพนักงาน CIA จะอยู่ที่ตั้งแต่ 58,070 ดอลลาร์ หรือราว 1.74 ล้านบาทต่อปี ไปจนถึง 159,286 ดอลลาร์ หรือราว 4.78 ล้านบาทต่อปี ขึ้นอยู่กับทักษะและประสบการณ์ของแต่ละคน และเกือบทุกตำแหน่งจะต้องมีวุฒิปริญญาตรีหรือโทด้วย รวมทั้งการมีทักษะด้านภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ สำหรับนักเรียนนักศึกษา ทางCIA จะมีทุนการศึกษาให้ระดับปริญญาตรี เพื่อรองรับสายลับรุ่นใหม่ที่จะเข้าร่วมองค์กร โดยมีทุนการศึกษาสูงสุดถึง 25,000 ดอลลาร์ หรือราว 836,000 บาทต่อปี สำหรับนักศึกษาที่เรียนด้านไอที การเงิน และด้านนโยบายต่างประเทศ
ไม่เพียงแต่คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่อย่างรุ่น Gen Y (มิลเลนเนียล) หรือ GenZ ที่ CIA ให้ความสนใจ เพราะบนเว็บไซต์ของ CIA มีเว็บไซต์ย่อยที่เรียกว่า “Spy Kids” ที่มีวิดีโอเกี่ยวกับสุนัขดมกลิ่นหาวัตถุระเบิด ที่มีเสียงเด็กหญิงคอยอธิบาย เพื่อสร้างความรู้จักและเข้าใจการทำงานของ CIA ให้กับเด็ก ๆ ด้วย
ความพยายาม และปฏิบัติการล้างสมอง เพื่อนำไปสู่การจารกรรมแทรกซึมสอดแนมเหล่านี้ของสหรัฐฯ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะ ภารกิจหนึ่งของ CIA ก็คือ คือบ่อนทำลายความมั่นคงของบรรดาประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคซีกโลกใต้ เช่น ละตินอเมริกาและตะวันออกกลาง ซึ่งมักจะส่งผลกระทบรุนแรงนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลและเปลี่ยนแปลงอำนาจการเมืองการปกครองจากปฏิบัติการลับของสหรัฐฯ
ทั้งนี้ เมื่อย้อนไปในประวัติศาสตร์ CIA ถือกำเนิดขึ้นมาจากหน่วยงาน โอเอสเอส (OSS – Office Of Strategic Services) ซึ่งตั้งขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พอสงครามสงบ องค์การนี้ก็ถูกยุบไป ต่อมา “สงครามเย็น” ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต มีความเข้มข้นมากขึ้น อเมริกาจึงได้จัดตั้ง CIA ขึ้นมาต่อต้าน “ลัทธิคอมมิวนิสต์”
ทั้งนี้ เมื่อย้อนไปในประวัติศาสตร์ CIA ถือกำเนิดขึ้นมาจากหน่วยงาน โอเอสเอส (OSS – Office Of Strategic Services) ซึ่งตั้งขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พอสงครามสงบ องค์การนี้ก็ถูกยุบไป ต่อมา“สงครามเย็น”ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต มีความเข้มข้นมากขึ้น อเมริกาจึงได้จัดตั้ง CIA ขึ้นมาต่อต้าน “ลัทธิคอมมิวนิสต์”
CIA นั้นไม่เลือกวิธีการในการต่อสู้ ทั้งปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อ, จารกรรมความลับและการสนับสนุนกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์, ทำลายล้าง, สังหารบุคคลชั้นนำฝ่ายตรงข้าม และแทรกแซงโดยก่อรัฐประหารเปลี่ยนแปลงรัฐบาลที่เห็นว่าจะเป็นพิษภัยต่อผลประโยชน์ของอเมริกา ดังตัวอย่างที่ปรากฏในทวีปอเมริกาใต้, ประเทศละตินอเมริกา, ตะวันออกกลาง
โดยภารกิจปฏิบัติการลับได้รับการอนุมัติงบและการจัดการผ่านระบบที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลระดับสูง เช่น สภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NSC) หรือที่รู้จักกันในชื่อกลุ่มพิเศษซึ่งมีอิทธิพลโดยตรงต่อนโยบายต่างประเทศ กลุ่มนี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล รวมถึงประธานาธิบดี ทำหน้าที่อนุมัติปฏิบัติการลับ
ภายหลัง “สงครามเย็น” สิ้นสุดลง ภารกิจของหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ ไม่เพียงไม่ลดลง แต่กลับมีความหลากหลายมากขึ้น การล่มสลายของสหภาพโซเวียตไม่ได้ยุติการจารกรรมของอเมริกา แต่เปลี่ยนโฟกัสไปที่ศัตรูรายใหม่และภัยคุกคามระดับโลก รวมถึงการก่อการร้ายและภัยคุกคามทางไซเบอร์ ยุคดิจิทัลได้เปลี่ยนโฉมหน้าการปฏิบัติการข่าวกรองด้วยการจารกรรมทางไซเบอร์กลายเป็นเครื่องมือสำคัญ
ความพยายามในการสรรหาสายลับใน “จีนและรัสเซีย” ผ่านโซเชียลมีเดีย อย่างเปิดเผยครั้งล่าสุด แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ต่อเนื่องซึ่งสหรัฐฯ ใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจภายในระบอบอำนาจนิยม เพื่อรวบรวมข่าวกรองโดยในจีนสหรัฐฯ ต้องอาศัยการใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจในหมู่ประชาชนและชนชั้นสูงเกี่ยวกับนโยบายที่เด็ดขาดของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง
ซึ่งคล้ายคลึงกันกับสิ่งที่ CIA ทำกับรัสเซีย ภายหลังการรุกรานยูเครนของกองทัพรัสเซียในปี 2545 โดยซีไอเอได้เดินแผนลับปฏิบัติการขอข้อมูลจากชาวรัสเซียที่ผิดหวังกับระบอบการปกครองของ ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน
ปฏิบัติการเหล่านี้ แม้ว่าทางการสหรัฐฯ จะอ้างว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความมั่นคงของประเทศ แต่กลับนำไปสู่ความขัดแย้งทางการทูตและการรับรู้ทั่วโลกเกี่ยวกับจักรวรรดินิยมอเมริกัน โดยสร้างผลกระทบทางจริยธรรมของปฏิบัติการจารกรรม ซึ่งสร้างความไม่สมดุลระหว่างผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของชาติกับอำนาจอธิปไตยและความมั่นคงของประเทศอื่นยังคงดำเนินต่อไป
นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดการโต้เถียงถึงปฏิบัติการข่าวกรองของสหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อภูมิรัฐศาสตร์ และการเมืองระดับโลก ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อกิจการภายในของประเทศเป้าหมายเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและพลวัตของความมั่นคงระดับโลก เนื่องจากความตึงเครียดยังคงทวีความรุนแรงขึ้นเป็นสงคราม โดยเฉพาะกับจีนและรัสเซีย
อย่างที่เคยเล่าให้ฟังคร่าว ๆ ไปแล้วในรายการคุยทุกเรื่องกับสนธิ Ep.259 ออกอากาศเมื่อวันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2567 ว่านายใหญ่ “CIA – MI6”หน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ และ อังกฤษ คือ วิลเลียม เบิร์นส์ และ เซอร์ ริชาร์ด มัวร์ ไปขึ้นเวทีของ Financial Times พร้อมกันที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อต้นเดือนกันยายน 2567 โดยเปิดเผยให้เห็นถึงแนวคิด และปฏิบัติการหลายๆ เรื่องที่กำลังเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพของโลก
ด้วยเหตุนี้ กรณีล่าสุดคือ การออกมารับสมัครสายลับอย่างโจ๋งครึ่ม ผ่านโซเชียลมีเดียว ยิ่งตอกย้ำว่า บทบาทของปฏิบัติการข่าวกรองของสหรัฐฯ จะยังคงเป็นตัวจุดประเด็นความขัดแย้งกันในกลยุทธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของสหรัฐฯ อย่างไม่จบไม่สิ้น เพราะปฏิบัติการลับของ CIA คือต้นตอความชั่วร้ายของสงครามที่ไม่วันสิ้นสุด
ที่น่ากลัวก็คือ พวกนี้กำลังดำเนินปฏิบัติการชักจูง และดึงเอาเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ Gen Y-Gen Z ในประเทศต่าง ๆ เข้าไปเป็นพวก เข้าแทรกซึม ให้เป็นสปาย และดำเนินการต่างๆ เพื่อเอื้อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา และชาติตะวันตกนั่นเอง
หนังสือ Confessions of an Economic Hitman หรือ ภาษาไทยคือ “เพชฌฆาตเศรษฐกิจ” ที่ตีพิมพ์ออกมาเมื่อปี 2547 หรือ 20 ปีที่แล้ว ที่ออกมาเปิดโปง และตีแผ่ปฏิบัติการของสหรัฐฯ ในการกร่อนเซาะบ่อนทำลายประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ในช่วงศตวรรษที่ 20
หนังสือ Confessions of an Economic Hitman หรือ ภาษาไทยคือ “เพชฌฆาตเศรษฐกิจ” ที่ตีพิมพ์ออกมาเมื่อปี 2547 หรือ 20 ปีที่แล้ว ที่ออกมาเปิดโปง และตีแผ่ปฏิบัติการของสหรัฐฯ ในการกร่อนเซาะบ่อนทำลายประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ในช่วงศตวรรษที่ 20
มีหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ Confessions of an Economic Hit Man ภาษาไทยคือ “เพชฌฆาตเศรษฐกิจ” ตีพิมพ์ออกมาเมื่อปี 2547 ออกมาเปิดโปง ตีแผ่ปฏิบัติการของอเมริกาในการกร่อนเซาะบ่อนทำลายประเทศอื่นทั่วโลกในช่วงศตวรรษที่ 20 โดยคนเขียนหนังสือเล่มนี้คืออดีตเจ้าหน้าที่ CIA
“เพราะฉะนั้นท่านผู้ชมจะเห็นได้ชัดว่า CIA คือองค์กรที่ชั่วร้าย หาข้อมูลข่าวสารเพื่อทำลายประเทศที่ไม่ยอมทำตามนโยบายของอเมริกา เพราะฉะนั้นแล้ว นี่คือแขนขาข้างหนึ่งของจักรวรรดินิยมอเมริกาที่ต้องการจะครอบครองทั่วโลก ตอนนี้ลงมาถึงระดับ Gen Y และ Gen Z แล้ว
“ผมมีคำถามสั้นๆ ท่านผู้ชมหลับตาวาดภาพแล้วกัน ผมเชื่อว่าต้องมีไม่ต่ำกว่า 10 หรือ 20% ของคนที่ติดต่อไปเพื่อขอเป็นสายลับนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นคนของรัฐบาลนั่นเอง ก็คือว่าไปเป็นสายลับ มึงอยากให้กูไปเป็นสายลับ กูไปเป็นให้ แต่กูก็จะเอาข้อมูลที่กูได้จากมึง ส่งมา ตรงนี้เป็นการตรวจสอบที่ยากเย็นมาก แล้วตรงนี้เป็นดาบสองคมของ CIA
“ในขณะที่ CIA ต้องการใช้คนพวกนี้สมัครเข้ามา ไม่เลือกแล้ว ที่ไหนก็ได้ จีน รัสเซีย ส่งเข้ามาเลย ถ้าผ่าน ซึ่งการผ่านการตรวจสอบความมั่นคงนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องยาก สามารถตกแต่งได้ จะกลายเป็นว่าหอกอันนี้ ที่ CIA ต้องการเอามาใช้ทิ่มแทงประเทศต่างๆ มันจะย้อนกลับไปทิ่มแทงประเทศสหรัฐอเมริกาเอง” นายสนธิ กล่าว
———————————————————————————————————————————————————————————
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ / วันที่เผยแพร่ 13 ต.ค.67
Link : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000098355