– กลลวงใหม่ใช้ Google Calendar ปลอม หลอกขโมยข้อมูลส่วนตัวหรือการเงิน
– โดยปลอมอีเมลให้ดูเหมือนมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น บริษัทชื่อดังหรือคนรู้จัก เหยื่อถูกล่อให้กรอกข้อมูลสำคัญผ่านลิงก์ปลอม เช่น Google Forms หรือ ReCaptcha ปลอม
– Google แนะนำให้เปิดฟีเจอร์กรองอีเมลและตั้งค่า “ผู้ส่งที่รู้จัก” ใน Gmail พร้อมหลีกเลี่ยงการเปิดลิงก์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือเพื่อป้องกันภัยไซเบอร์นี้
มิจฉาชีพ เริ่มใช้เทคนิคใหม่ในการหลอกขโมยข้อมูลผู้ใช้ ด้วยการส่งคำเชิญใน Google Calendar ปลอมๆ เพื่อหลอกขอข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงิน แล้วจะไปใช้ในทางไม่ดีต่อไป
มิจฉาชีพที่เป็นสิงห์ร้ายในโลกไซเบอร์ เริ่มใช้เทคนิคใหม่ในการหลอกขโมยข้อมูลผู้ใช้ ด้วยการส่งคำเชิญใน Google Calendar ปลอม ที่ดูเหมือนของจริงมากๆ ดูเหมือนจะมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทชื่อดัง หรือบุคคลที่เหยื่อรู้จัก ซึ่งคำเชิญเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อหลอกขอข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงิน แล้วจะไปใช้ในทางไม่ดีต่อไป
เทคนิคการหลอกลวง
ทั้งนี้ มิจฉาชีพ จะคำเชิญใน Google Calendar ปลอมเหล่านี้ โดยอาศัยเทคนิคการปลอมแปลงส่วนหัวของอีเมล (Header spoofing) ทำให้อีเมลดูเหมือนส่งมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น บริษัทต่าง ๆ หรือบุคคลที่เหยื่อรู้จักอยู่ก่อนหน้า
รูปแบบของการโจมตีอาจแตกต่างกันไป แต่จุดร่วมคือคำเชิญที่พาผู้ใช้ไปยังหน้าที่ถูกออกแบบมาเพื่อหลอกขอข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลการเงิน
มีรายงานว่าอีเมลประเภทนี้ถูกส่งไปประมาณ 4,000 ฉบับในช่วงเวลา 4 สัปดาห์ และมีการปลอมแปลงอีเมลจากกว่า 300 แบรนด์ต่างๆ การโจมตีนี้เริ่มได้รับการตรวจจับจากเครื่องมือสแกนอีเมลที่มีในผลิตภัณฑ์อย่าง Gmail และ Microsoft Outlook
แม้เครื่องมือสแกนอีเมลใน Gmail และ Microsoft Outlook จะสามารถตรวจจับอีเมลเหล่านี้ได้บ้าง แต่มิจฉาชีพก็พยายามเปลี่ยนกลยุทธ์ เช่น ใช้ Google Forms, Google Drawings หรือแม้แต่หน้าจอ ReCaptcha ปลอม เพื่อหลอกลวงเหยื่อ จุดมุ่งหมายหลักคือการทำให้เหยื่อไว้วางใจและป้อนข้อมูลสำคัญลงไป
กลลวงไซเบอร์รูปแบบใหม่ ส่งคำเชิญใน Google Calendar ปลอม – ฟิชชิ่งรูปแบบใหม่ที่ต้องระวัง
ข้อแนะนำ – การป้องกัน Google Calendar ปลอม
Google แนะนำให้ผู้ใช้เปิดใช้งานฟีเจอร์กรองอีเมลใน Gmail และตั้งค่า “ผู้ส่งที่รู้จัก” เพื่อช่วยลดโอกาสเปิดอีเมลที่เป็นอันตราย รวมถึงแนะนำให้ผู้ใช้อยู่ในความระมัดระวัง เปิดลิงก์เฉพาะที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้หรือที่คาดว่าจะได้รับเท่านั้น
ที่มา : darkreading notebookcheck
————————————————————————————————
ที่มา : springnews / วันที่เผยแพร่ 25 ธ.ค.67
Link : https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/854901