เรื่องน่ารู้ของคนชอบเที่ยวเกี่ยวกับ “พาสปอร์ตไทย” มีสิทธิประโยชน์ทำอะไรได้บ้าง? เที่ยวได้ไม่ต้องขอวีซ่ากี่ประเทศ? สีของพาสปอร์ตบ่งบอกถึงอะไร?
หนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ตเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ยืนยันตัวตน และสัญชาติของเพื่อน ๆ ช่วยให้เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ และยังทำหน้าที่เป็นหลักฐานว่าเป็นใคร มาจากไหน โดยทั่วไปจำเป็นต้องใช้พาสปอร์ตเมื่อข้ามไปต่างประเทศและยังสามารถใช้เป็นเอกสารสำคัญในการระบุตัวตนเท่าเหมือนกับบัตรประชาชนสากลเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น การขอใบอนุญาตขับรถ และอื่นๆ อีกมากมาย
พาสปอร์ตไม่ได้มีแค่สีเดียวแล้วแต่ละสีแตกต่างกันอย่างไร?
สีเลือดหมู จะเป็นหนังสือเดินทางที่ทางกระทรวงต่างประเทศ ออกให้กับบุคคลธรรมดา โดยมีอายุของหนังสือเดินทางไม่เกิน 5 ปี
สีน้ำเงินเข้ม จะเป็นหนังสือเดินทางที่ออกให้ข้าราชการ สมาชิกรัฐสภา ที่จำเป็นต้องเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ รวมถึงบุคคลอื่นใดที่เดินทางไปทำประโยชน์ทางราชการตามที่กระทรวงต่างประเทศกำหนด โดยหนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี
สีแดงสด เป็นพาสปอร์ตนักการทูต มีอายุ 5 ปี และไม่สามารถต่ออายุได้ หากนักการทูตทำหายรัฐบาลจะมีการทำหนังสือแจ้ง “ยกเลิกใช้หนังสือเดินทาง” ไปยังประเทศอื่นๆทั่วโลก เพื่อป้องกันมิให้มีผู้ปลอมแปลงสวมสิทธิ์ และนำไปก่อเหตุร้ายได้
สีเขียว หนังสือเดินทางนี้ถูกเเบ่งออกเป็น 2 จำพวก คือ หนังสือเดินทางของพระภิกษุที่ถูกอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศโดยมหาเถรสมาคม เเละอีกพวกหนึ่ง คือ หนังสือเดินทางที่ออกให้ชาวมุสลิมเพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์โดยหนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปี เท่านั้น
พาสปอร์ต 10 ปีจ่ายค่าดำเนินการ 1,500 บาท ส่วนพาสปอร์ต 5 ปี 1,000 บาท Update 36 ประเทศและดินแดน ที่คนไทยไปเที่ยวได้ไม่ต้องขอวีซ่า ปี 2567 แค่ถือพาสปอร์ตไทยก็เข้าประเทศไปเที่ยวได้เลย ตัวเลขในวงเล็บ = จำนวนวันที่พำนักอยู่ได้ในประเทศปลายทาง (หลังชื่อประเทศ) คือ ประเทศและดินแดนที่ประกาศยกเว้นการตรวจลงตราแก่ไทยฝ่ายเดียว ที่เหลือนอกนั้นคือ ประเทศที่ทำความตกลงทวิภาคีกับไทย
ทวีปเอเชีย
– ญี่ปุ่น* (15 วัน)
– จีน (30 วัน) *เริ่ม 1 มีนาคม 2567
– มณฑลไห่หนาน* (30 วัน) (เกาะทางใต้ของจีน)
– ไต้หวัน* (14 วัน) *ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2566 – 31 กรกฎาคม 2568
– มัลดีฟส์* (30 วัน)
– ลาว (15 วัน)
– สิงคโปร์* (30 วัน)
– ฮ่องกง (30 วัน)
– เวียดนาม (30 วัน)
– มาเลเซีย* (30 วัน)
– อินโดนีเซีย* (30 วัน)
– ฟิลิปปินส์* (30 วัน)
– เมียนมา (14 วัน) *International Airport Only
– กัมพูชา (14 วัน)
– มาเก๊า (เขตบริหารพิเศษของสาธารณรัฐประชาชน จีน) (30 วัน)
– บรูไน* (14 วัน)
– กาตาร์* (30 วัน)
– บาห์เรน (14 วัน)
– มองโกเลีย (30 วัน)
– จอร์เจีย* (365 วัน)
– คีร์กีซ* (60 วัน) *ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2564 – 31 กรกฎาคม 2568
– ทาจิกิสถาน* (30 วัน)
– คาซัคสถาน* (30 วัน)
– เกาหลีใต้* (90 วัน) *ต้องกรอก K-ETA / ชำระค่าธรรมเนียม / รอผลอนุมัติผ่านอีเมลก่อน (หากไม่ได้ต้องขอวีซ่า)
– อินเดีย* (30 วัน) ยกเว้นค่าธรรมเนียม E-Tourist Visa ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567
ทวีปยุโรป
– แอลเบเนีย* (90 วัน) (*ตั้งแต่ 6 มีนาคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567)
– รัสเซีย (30 วัน)
– ทูร์เคีย* (หรือ ตุรกี ทั้งฝั่งทวีปยุโรปและเอเชีย) (30 วัน)
ทวีปอเมริกาใต้
– อาร์เจนตินา (90 วัน)
– บราซิล (90 วัน)
– ชิลี (90 วัน)
– เอกวาดอร์* (90 วัน)
– เปรู (90 วัน)
ทวีปอเมริกากลาง
– ปานามา* (180 วัน)
ทวีปแอฟริกา
– แอฟริกาใต้* (30 วัน)
– เซเชลส์ (30 วัน)
– เคนย่า (90 วัน)
ทวีปโอเชียเนีย (หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก)
– วานูอาตู* (30 วัน)
ประเทศที่สามารถขอ Visa on Arrival (VOA) ได้ ปี 2567
– จอร์แดน (30 วัน)
– โอมาน (30 วัน)
– เนปาล (15 / 30 / 90 วัน)
– โบลิเวีย (30 วัน)
– ฟิจิ (4 เดือน)
– นีอูเอ (30 วัน)
– หมู่เกาะโซโลมอน (3 เดือน)
– ติมอร์-เลสเต (30 วัน)
– บาร์เรน (14 วัน)
– นิการากัว (30 วัน)
หมายเหตุ
ที่มา : คมชัดลึก / วันที่เผยแพร่ 18 ธ.ค.67
Link : https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/general-knowledge/594281