สภามาเลเซียไฟเขียวกฎหมายให้อำนาจรัฐขยายการควบคุมอินเทอร์เน็ต

Loading

สมาชิกสภานิติบัญญัติของมาเลเซียเห็นชอบกฎหมายให้รัฐบาลสามารถควบคุมอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น แม้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า กฎหมายนี้อาจจำกัดเสรีภาพในการพูดและขัดขวางการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างของประชาชน

ภัยไซเบอร์ยังน่ากลัว!ชี้ธุรกิจไทยโดนคุกคามทางเว็บ 5,811 รายการต่อวัน

Loading

    “แคสเปอร์สกี้” ชี้ธุรกิจไทยโดนภัยคุกคามทางเว็บเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน! เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 1.4 แสนต่อวัน   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญกับภัยคุกคามทางเว็บ (web threat) หรือภัยคุกคามที่เกิดจากอินเทอร์เน็ต (internet-born threat) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นทั้งศูนย์กลางการเติบโตและเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์   โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 โซลูชันความปลอดภัยสำหรับธุรกิจของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บในภูมิภาคมากกว่า 26 ล้านรายการ โดยเฉลี่ยแล้วนับเป็นความพยายามโจมตีทางเว็บ 146,944 รายการต่อวัน ประเทศไทยพบความพยายามโจมตีทางเว็บทั้งหมด 1,057,732 รายการ คิดเป็นจำนวนเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน   ภัยคุกคามทางเว็บหรือภัยคุกคามออนไลน์เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ผ่านอินเทอร์เน็ต ภัยคุกคามทางเว็บเกิดจากช่องโหว่ของผู้ใช้ ผู้พัฒนา ผู้ดำเนินการบริการเว็บ รวมถึงตัวบริการเว็บเอง ไม่ว่าจะมีเจตนาหรือสาเหตุใด ภัยคุกคามทางเว็บอาจสร้างความเสียหายให้กับทั้งบุคคลและองค์กร     บริษัทและองค์กรธุรกิจในมาเลเซียอยู่ในอันดับสูงสุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผชิญกับภัยคุกคามทางเว็บ 19,615,255 รายการ…

กำเนิด “เครื่องจับเท็จ” ยุคมนุษย์ยังพยายามหาวิธีจับโกหก และช่วยสอบสวนคดีความ

Loading

  กำเนิด “เครื่องจับเท็จ” ยุคมนุษย์ยังพยายามหาวิธีจับ “โกหก” และช่วยสอบสวนคดีความ   “การโกหก” เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นถึงนิสัยของมนุษย์อย่างหนึ่ง คือ ช่างเรียนรู้และช่างปรับตัว เมื่อใดก็ตามที่โกหก เราสามารถสังเกตโดยวิธีง่าย ๆ ด้วยการสังเกตสีหน้าและกิริยาท่าทาง หากพยายามจะปกปิดความจริง จะมีอาการหัวใจเต้นแรงหรือเลือดลมสูบฉีด อาการเหล่านี้เกิดจากความกลัวที่อาจถูกจับเท็จได้   หากแม้โกหกสำเร็จไปแล้วโดยเข้าใจว่าไม่มีผู้ใดทราบว่าตนพูดเท็จ ก็อาจจะหายใจแรงอย่างโล่งอก แต่ถ้าถูกจับเท็จได้ก็อาจรู้สึกร้อนหน้า กัดริมฝีปาก หลบสายตา พูดเสียงอ่อย หรือฝืนหัวเราะ ตลอดจนเคลื่อนไหวมือหรือเท้าที่มีลักษณะแสดงความไม่สบายใจ   มนุษย์ (ที่ชอบโกหก) เมื่อทราบว่ากิริยาอาการเหล่านั้น เป็นอาการ “เลิ่กลั่ก” จนทำให้ “โป๊ะแตก” เขาก็เรียนรู้และปรับตัว พยายามควบคุมสติ ควบคุมร่างกาย เพื่อปิดบังอาการเหล่านั้น และเมื่อไม่สามารถจับเท็จด้วยวิธีการดังนี้ได้แล้ว มนุษย์ก็เรียนรู้ได้ว่าจะต้องหากลวิธีใหม่มาจับเท็จ นั่นจึงนำไปสู่การสร้าง “เครื่องจับเท็จ” (Lie-Detector)   ตั้งแต่โบราณกาล มนุษย์ได้ใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อพิสูจนผู้ต้องสงสัยว่าใคร “โกหก” ใครเป็นผู้กระทําความผิด หรือเป็นผู้บริสุทธิ์   ตุลาการจีนเคยใช้ “สรีรวิทยา”…

ไต้หวันยกระดับเตือนภัย หลังจีนระดมเรือ 90 ลำเตรียมซ้อมรบ

Loading

ไต้หวันประกาศยกระดับเตือนภัยในวันนี้ (9 ธ.ค.) หลังจีนกำหนดเขตพื้นที่หวงห้ามทางอากาศ 7 แห่ง พร้อมส่งกองเรือรบและเรือยามฝั่งเข้าประจำการ ซึ่งถือเป็นการซ้อมรบครั้งแรกของจีนที่ครอบคลุมน่านน้ำของภูมิภาคในวงกว้าง จากการเปิดเผยของแหล่งข่าวด้านความมั่นคง

ป่วนเมือง! มือมืดขู่วางระเบิดโรงเรียนกว่า 40 แห่งในเดลี

Loading

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม โรงเรียนมากกว่า 40 แห่งในกรุงเดลี เมืองหลวงของอินเดียได้รับอีเมล์ข่มขู่วางระเบิด โดยเรียกร้องเงินจำนวน 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,017,900 บาท ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการค้นหาเบื้องต้นเพื่อหาวัตถุต้องสงสัยตามโรงเรียนดังกล่าวแล้ว

เนเธอร์แลนด์สงสัยเหตุอาคารระเบิดในกรุงเฮก คาดเป็น “อาชญากรรม”

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ว่า เจ้าหน้าที่กู้ภัยดำเนินการค้นหาร่างผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิด ซึ่งทำลายบ้าน 5 หลัง เมื่อช่วงเช้าของวันเสาร์ที่ผ่านมา แต่ทางการไม่ทราบว่า ยังมีผู้รอดชีวิตอีกกี่คนที่อยู่ใต้ซากปรักหักพัง