สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเขียนถึงโอกาสประเทศไทย ที่จะเป็น ศูนย์กลางดาต้าเซ็นเตอร์ในภูมิภาคอาเซียน แม้จากข้อมูลต่าง ๆ จะชี้ว่า เรายังตามหลังประเทศเพื่อนบ้านพอควร แต่เราก็มีโอกาสในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และการเข้ามาตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศ ก็เป็นไปตามแนวโน้มปริมาณการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเอไอที่เพิ่มขึ้น การลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ มีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องพิจารณาหลายด้าน เริ่มจากโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง ซึ่งต้องเลือกทำเลที่ปลอดภัยและมีระบบสาธารณูปโภคพร้อม ตามด้วยการลงทุนในเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เป็นหัวใจสำคัญที่สุด และน่าจะเป็นค่าใช้จ่ายสูงสุด รวมถึงค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องต่ออายุเป็นประจำ ส่วนด้านการดำเนินงาน มีค่าใช้จ่ายหลัก คือ ค่าพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์และระบบทำความเย็น และสุดท้ายคือค่าเชื่อมต่อเครือข่ายที่ต้องมีความเร็วและเสถียรสูง ในปัจจุบันดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ จะมีเซิร์ฟเวอร์เป็นหลักพันหรือหมื่นเครื่อง และมีค่าใช้ในการลงทุนจัดหาอุปกรณ์เหล่านี้มาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้เทคโนโลยีเอไอกำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 ดาต้าเซ็นเตอร์จะใช้ไฟฟ้าถึง 8% ของการใช้พลังงานทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา และต้องการการลงทุนด้านสาธารณูปโภคกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อรองรับการประมวลผลเอไอในดาต้าเซ็นเตอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ความท้าทายหลักมาจากการที่ระบบเอไอที่ต้องการกำลังการประมวลผลสูงมาก ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ต้องลงทุนมากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ในการเช่า ดาต้าเซ็นเตอร์ระยะยาวและทำให้อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ของบางเมืองในสหรัฐอเมริกาต้องใช้ไฟฟ้าถึง 60% ของการใช้พลังงานทั้งเมือง เราจึงเห็นการแข่งขันด้านดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับเอไอกันใน 3 ระดับ คือ ระดับบริษัทเทคโนโลยีที่แข่งกันพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง…