“อิมราน ข่าน” อดีตนายกฯ ปากีสถาน ถูกพิพากษาจำคุก 10 ปี

Loading

วันที่ 30 ม.ค. ศาลปากีสถานพิพากษาจำคุกอดีตนายกรัฐมนตรี “อิมราน ข่าน” และชาห์ มาห์มูด คูเรชี สมาชิกพรรคขบวนการปากีสถานเพื่อความยุติธรรม (Pakistan Tehreek-e-Insaf) คนละ 10 ปี หลังจากตัดสินว่ามีความผิดฐานเปิดเผยความลับของทางการ

‘ดีอี’เข้มแก้กม.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ลุยเปิดศูนย์ฯรับเรื่องร้องเรียน

Loading

ดีอีดันสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เปิดทำการศูนย์บริการ รับเรื่องร้องเรียนและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA Center) อย่างเป็นทางการ ระบุมีแนวคิดแก้กฎหมาย หลังใข้เวลาดำเนินการนาน 90 วัน แต่ความเสียหายเกิดไปแล้ว

ญี่ปุ่นจ่ออนุญาตให้ใช้โดรน 5G เพื่อการบรรเทาสาธารณภัย-ตรวจโครงสร้างพื้นฐาน

Loading

รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมยกเลิกข้อห้ามการเชื่อมต่อโดรนเข้ากับเครือข่ายการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง 5G ในปีงบประมาณ 2567 เพื่อจะได้ใช้โดรนเก็บภาพความละเอียดสูงสำหรับภารกิจการบรรเทาสาธารณภัยและการตรวจโครงสร้างพื้นฐาน

นักวิเคราะห์ห่วง ‘ดีพเฟค’ สื่อลวงลึก อาวุธร้ายทำลายงานข่าวสาร

Loading

แฟ้มภาพ – ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีดูวิดีโอปลอมที่สร้างจากปัญญาประดิษฐ์ หรือ ดีพเฟค (Deepfake) ที๋โต๊ะทำงานในกรุงวอชิงตัน 25 ม.ค. 2019 (Alexandra ROBINSON/AFP)   การคืบคลานเข้ามาของเทคโนโลยีดีพเฟค (Deepfake) หรือวิดีโอปลอมที่สร้างขึ้นโดยปัญญาประดิษฐ์ ได้กลายเป็นอาวุธใหม่ในการเผยแพร่ข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่แพร่หลายในทุกรูปแบบบนโลกออนไลน์   การเผยแพร่คลิปวิดีโอที่มีภาพของผู้ดำเนินรายการข่าวสหรัฐฯ ที่นำเสนอข่าว แสดงความเห็น หรือสนับสนุนสกุลเงินคริปโต รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ อย่างผิด ๆ ได้สร้างความกังวลให้กับเหล่านักวิเคราะห์ในเรื่องนี้   การใช้ ดีพเฟค (deepfake) หรือสื่อลวงลึก เป็นวิดีโอที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการปลอมแปลงตัวตนซึ่งรวมถึงบรรดานักข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวต่าง ๆ ขึ้นมาได้เหมือนจริง ได้กลายเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาใหญ่ ในปี 2024 ที่ประชาชนมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลกจะออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงเลือกตั้งครั้งสำคัญของพวกเขา   ในช่วงเวลาที่ข้อมูลบิดเบือนมีอย่างแพร่หลายและความเชื่อมั่นในข่าวสารบ้านเมืองปัจจุบันตกต่ำอย่างหนัก ประกอบกับการที่ธุรกิจสื่อรับเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงานข่าวจริง วิดีโอเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้รับชมในการแยกแยะว่าสิ่งที่เห็นและได้ยินเป็นจริงหรือไม่แค่ไหน   พอล แบร์เร็ตต์ รองผู้อำนวยการ Stern Center for Business and…

ข้อมูลอีเมลรั่วไหลมีความเสี่ยงถึงชีวิตได้หรือไม่

Loading

  เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศอังกฤษ (UK Information Commissioners’ Office: ICO) ได้เผยแพร่คำสั่งปรับทางปกครองกระทรวงกลาโหมของประเทศอังกฤษเป็นเงินจำนวน 350,000 ปอนด์ (ประมาณ 15.6 ล้านบาท)   อันเนื่องมากจากการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองอัฟกานิสถาน ที่จะทำการอพยพย้ายถิ่นฐานจากประเทศอัฟกานิสถานไปยังประเทศอังกฤษในช่วงปี 2564 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย UK GDPR (UK General Data Protection Regulation)   เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่กลุ่มตาลิบาน (Taliban) ได้เข้าควบคุมประเทศอัฟกานิสถานในปี 2564 กระทรวงกลาโหมในขณะนั้นได้ดำเนินนโยบาย UK’s Afghan Relocations and Assistance Policy (ARAP) เพื่อช่วยเหลือในการจัดหาที่อยู่ให้กับชาวอัฟกานิสถานที่ร่วมปฏิบัติการกับรัฐบาลอังกฤษที่ต้องการลี้ภัย โดยให้ยื่นคำร้องขอและส่งข้อมูลต่าง ๆ ผ่านช่องทางอีเมล   จากการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว ก่อให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เมื่อกระทรวงกลาโหมได้ส่งอีเมลไปยังผู้รับจำนวน 245 คนซึ่งเป็นพลเมืองอัฟกานิสถานผู้มีสิทธิลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษ…

เผยกล้องวงจรปิด 2 คนร้ายสวมหน้ากาก บุกกราดยิงในโบสถ์ตุรกีอุกอาจ ดับสลด 1 ศพ

Loading

เกิดเหตุคนร้ายสวมหน้ากากปิดบังใบหน้า บุกเข้าไปในโบสถ์ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ขณะที่มีประชาชนจำนวนมากกำลังทำพิธีมิสซา ก่อนใช้อาวุธปืนกราดยิงใส่คนที่อยู่ภายใน จนต้องหนีตายกันจ้าละหวั่น เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 ศพ ขณะที่คนร้ายยังหลบหนีไปได้ลอยนวล