จาก 407 โครงการ มูลค่าการลงทุน 35,560 ล้านบาท ซึ่งเป็น ตัวเลขโครงการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมหารส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เพื่อยกระดับธุรกิจสู่ Smart & Sustainable Industry ในปี 2567 ที่บอกว่า การเปลี่ยนแปลงสู่โรงงานอัจฉริยะและความยั่งยืน คือ “คลื่นเปลี่ยนเกม” ที่ผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องจับให้ทัน
เพราะนี่คือโอกาสที่จะทำให้โรงงานธรรมดา กลายเป็นผู้นำเทรนด์อุตสาหกรรมแห่งอนาคตในโลกที่การแข่งขันสูงขึ้นและตลาดโลกให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ผู้ประกอบการไทยต้องไม่หยุดนิ่ง
มาดูกันว่า 5 เส้นทางนี้จะช่วยให้ธุรกิจของคุณ “ปัง” อย่างยั่งยืนและเติบโตในยุคใหม่ได้อย่างไรอ โดย 5 เส้นทางที่จะเปลี่ยนโรงงานหรือกิจการแบบเดิม ๆ ให้เป็นธุรกิจที่ “ปัง” อย่างยั่งยืน และ ปรับธุรกิจเก่าให้ “SMART” และเพิ่มประสิทธิภาพ
1. ส่งเสริมการใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Automation & Robotics) เปลี่ยนโรงงานให้เป็น Smart Factory ด้วย Automation & Robotics
-
- การใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไม่ใช่แค่ “เพิ่มความเร็ว” แต่ยังเพิ่มความแม่นยำลดความผิดพลาดในการผลิต และสร้างความน่าเชื่อถือ
-
- ได้รับการยกเว้นเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 3 ปี สำหรับธุรกิจที่ลงทุนในในเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ
2. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) ในยุคนี้ Data คือ ของมีค่า
-
- การลงทุนใน IoT (Internet of Things) และ Big Data ช่วยให้คุณรู้จักลูกค้าได้ดีขึ้น
-
- การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ช่วยลดของเสียในกระบวนการผลิต ช่วยให้ตัดสินใจได้มีประสิทธิภาพและและเพิ่มความแม่นยำ
3. ปรับปรุงประสิทธิภาพไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) เปลี่ยนจาก ‘Manual’ เป็น ‘Smart’ มาตรฐานใหม่ สำหรับธุรกิจที่ต้องการความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพ
-
- Industry 4.0 คือการเชื่อมต่อทุกกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
- ใช้ AI & Machine Learning ในการคาดการณ์ปัญหา ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในกระบวนการผลิต
-
- ลด Downtime ในสายการผลิต และเพิ่ม Productivity อย่างเห็นได้ชัด
4. ส่งเสริมการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy) พลังงานสะอาด = กำไรที่ยั่งยืน
-
- การใช้พลังงานทดแทน หรือการใช้พลังงานหมุนเวียน ไม่ใช่แค่เรื่องของ “มีส่วนช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน” แต่ช่วยลดต้นทุนพลังงานในระยะยาว
-
- Smart Grid System ควบคุมการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
-
- โรงงานที่ใช้พลังงานทดแทน หรือพลังงานหมุนเวียน ได้รับความสนใจจากนักลงทุน ESG Fund มากขึ้น
5. ยกระดับมาตรฐานความยั่งยืนระดับสากล (Global Sustainability Standards) ธุรกิจที่ได้มาตรฐานระดับโลก ไม่เพียงแค่เพิ่มความน่าเชื่อถือ แต่ยังเปิดตลาดใหม่ในระดับนานาชาติ
-
- การรับรองมาตรฐาน เช่น ISO 22000, FSC, หรือ PEFC ช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และสร้างความได้เปรียบในตลาดที่มีการแข่งขันสูง
-
- ISO 22000 ยกระดับคุณภาพมาตรฐานอาหารและอุตสาหกรรมการผลิต
-
- FSC / PEFC ช่วยเพิ่มโอกาสส่งออกสินค้าไปยุโรปที่มีมาตรการเข้มงวด
Smart & Sustainable Industry สร้าง “มาตรฐานใหม่” ของอุตสาหกรรมไทย เพื่อทางให้ภาคอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่มาตรฐานสากล ที่มุ่งเน้นการลดมลพิษ ลดกากของเสีย นํ้าเสีย มลพิษในอากาศ ลดการใช้พลังงาน และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดด้วยการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ เปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานทดแทนในกิจการ เช่น การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง
โรงงานหรือกิจการที่ยังใช้ระบบเดิมอาจเสียโอกาสในการแข่งขัน ขณะที่ธุรกิจที่ปรับตัวสามารถสร้างโอกาสลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และได้รับการยอมรับในตลาดโลก การเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรอัจฉริยะ พลังงานสะอาด หรือระบบอัตโนมัติ ที่ช่วยให้การผลิตเร็วขึ้นแต่ใช้ทรัพยากรน้อยลง
มาตรการนี้ สนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่ลงทุนอยู่เดิม ลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี คิดเป็นวงเงิน 50% หรือ 100% ของเงินลงทุน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่จะลงทุนใหม่ในกลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (กลุ่ม หากมีการนำระบบอัตโนมัติหุ่นยนต์ และ Industry 4.0 มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจะ ได้รับสิทธิตามมาตรการนี้อีกด้วย
ความสำเร็จเริ่มต้นที่ “การลงมือทำ” เริ่มเปลี่ยนวันนี้เพื่ออนาคตธุรกิจที่ยั่งยืน
———————————————————————————————-
ที่มา :กรุงเทพธุรกิจ / วันที่เผยแพร่ 22 กุมภาพันธ์ 2568
Link : https://www.bangkokbiznews.com/environment/1167828