ทางการรัสเซียอ้างว่าได้สกัดกั้นแผนของยูเครน
ที่จะลอบสังหารพระผู้ฟังคำสารภาพบาปของปูติน
เมื่อวันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ ทางการรัสเซียแถลงว่า รัสเซียได้สกัดกั้นแผนการลอบสังหาร สังฆราชทิคนอน เชฟคูนอฟ (Tikhon Shevkunov) อายุ 66 ปี ผู้เป็นสังฆราชมิตโตรโปลิตันแห่งเมืองปัสคอฟและปอร์คอฟ ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญในโบสถ์ออร์โธดอกซ์รัสเซีย นอกจากนี้เขาเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงจากหนังสือ “Everyday Saints and Other Stories” ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับชีวิตของนักบวชและศรัทธาในศาสนาออร์โธดอกซ์ ได้รับความนิยมอย่างมากในรัสเซียและแปลไปหลายภาษา สังฆราชทิคนอน เชฟคูนอฟ เป็นที่รู้จักจากทรรศนะอนุรักษนิยม สนับสนุนแนวคิดชาตินิยมรัสเซีย และมีบทบาทในการเชื่อมโยงศาสนากับรัฐ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ พระสังฆราชทิคนอน เชฟคูนอฟ ยังเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของ ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เพราะเขาเป็นพระผู้รับฟังการสารภาพบาปของปูตินอีกโสดหนึ่งด้วย
จากรายงานข่าวทางการรัสเซียแจ้งว่า ได้จับกุมผู้ต้องสงสัย 2 คน ได้แก่ นายนิกิตา อิวานโควิช (Nikita Ivankovich) ชาวรัสเซียและ นายเดนนิส พอพโพวิช (Denis Popovich) ชาวยูเครน ถูกจับกุมพร้อมกับอุปกรณ์ระเบิดที่ทำขึ้นเอง ผู้ต้องสงสัยยอมรับว่าถูกหน่วยข่าวกรองทหารของยูเครนว่าจ้างผ่านแอพพลิเคชั่น Telegram และมีแผนจะลอบสังหารสังฆราชทิคนอน เชฟคูนอฟ ในกรุงมอสโก แต่โฆษกของฝ่ายข่าวกรองทหารของยูเครนได้ออกแถลงในข้อกล่าวหานี้ไร้สาระและเป็นการโกหก แม้ว่าก่อนหน้านี้ทางการยูเครนได้ยอมรับความรับผิดชอบต่อการลอบสังหารบางกรณีในรัสเซียตั้งแต่เริ่มสงครามใน พ.ศ.2565 อย่างไรก็ตาม แต่ในกรณีนี้ทางฝ่ายยูเครนได้ปฏิเสธอย่างแข็งขัน
ข่าวเรื่องนี้ทำให้นึกถึงวลีที่ว่า “ศาสนาเป็นยาเสพติด” เป็นแนวคิดที่มักเกี่ยวข้องกับคำพูดของ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) นักปรัชญาและนักคิดทางสังคมชาวเยอรมัน ผู้เป็นบิดาแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งประธานาธิบดีปูตินเองก็เคยเป็นสาวกเมื่อครั้งยังอยู่ในสหภาพโซเวียต ซึ่งกล่าวว่า “Religion is the opium of the people.” (ศาสนาเป็นฝิ่นของประชาชน)เพราะมาร์กซ์มองว่าศาสนาเป็นเหมือนยาเสพติด เพราะมันทำให้ประชาชนรู้สึกสบายใจและช่วยบรรเทาความทุกข์ทางจิตใจในชีวิต แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้พวกเขาไม่ตระหนักถึงความอยุติธรรมในสังคม ศาสนาอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้ผู้คนยอมรับชะตากรรมที่ไม่เป็นธรรมแทนที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงนั่นเอง
ในสมัยหลังการปฏิวัติบอลเชวิคและสถาปนาสหภาพโซเวียต (ช่วงระหว่าง พ.ศ.2460-2539) ภายใต้ลัทธิคอมมิวนิสต์มีนโยบายต่อต้านศาสนาอย่างเข้มข้น เพราะมองว่าศาสนาเป็นอุปสรรคต่ออุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ซึ่งเน้นความเสมอภาคและการพึ่งพาตนเอง แทนที่จะพึ่งพา “อำนาจเหนือธรรมชาติ” หรือศาสนา
อุดมการณ์มาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ เชื่อว่าศาสนาเป็น “ฝิ่นของประชาชน” ทำให้คนมุ่งหวังถึงชีวิตหลังความตายแทนที่จะต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ในปัจจุบันศาสนาเป็นภัยต่อรัฐ ผู้นำโซเวียตมองว่าสถาบันศาสนา โดยเฉพาะโบสถ์ออร์โธดอกซ์รัสเซียมีอิทธิพลสูงและอาจเป็นภัยคุกคามต่อรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องการสร้างรัฐแบบอเทวนิยม (Atheist State) โดยให้ประชาชนเชื่อมั่นในพรรคคอมมิวนิสต์แทนศาสนา
ในสมัยหลังการปฏิวัติบอลเชวิคและสถาปนาสหภาพโซเวียต (ช่วงระหว่าง พ.ศ.2460-2539) ภายใต้ลัทธิคอมมิวนิสต์มีนโยบายต่อต้านศาสนาอย่างเข้มข้น เพราะมองว่าศาสนาเป็นอุปสรรคต่ออุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ซึ่งเน้นความเสมอภาคและการพึ่งพาตนเอง แทนที่จะพึ่งพา “อำนาจเหนือธรรมชาติ” หรือศาสนา
อุดมการณ์มาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ เชื่อว่าศาสนาเป็น “ฝิ่นของประชาชน” ทำให้คนมุ่งหวังถึงชีวิตหลังความตายแทนที่จะต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ในปัจจุบันศาสนาเป็นภัยต่อรัฐ ผู้นำโซเวียตมองว่าสถาบันศาสนา โดยเฉพาะโบสถ์ออร์โธดอกซ์รัสเซียมีอิทธิพลสูงและอาจเป็นภัยคุกคามต่อรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องการสร้างรัฐแบบอเทวนิยม (Atheist State) โดยให้ประชาชนเชื่อมั่นในพรรคคอมมิวนิสต์แทนศาสนา
สำหรับวิธีการปราบปรามศาสนาแบ่งออกเป็นยุคๆ ดังนี้
1.ยุคเลนิน (พ.ศ.2460-2467) หลังการปฏิวัติบอลเชวิค รัฐบาลโซเวียตเริ่มยึดทรัพย์สินของโบสถ์ และห้ามศาสนาเข้ามามีบทบาททางการเมือง มีการปล้นสะดมโบสถ์ ทำลายวัตถุทางศาสนา และจับกุมผู้นำศาสนา ใน พ.ศ.2465 มีการประหารชีวิตนักบวชจำนวนมากที่ต่อต้านรัฐบาล
2.ยุคสตาลิน (พ.ศ.2467-2496) มีการกวาดล้างครั้งใหญ่ (Great Purge) ช่วง พ.ศ.2479-2481 มีการจับกุมและสังหารนักบวชจำนวนมาก มีการปิดโบสถ์ มัสยิด และวัดจำนวนมาก รวมถึงเปลี่ยนสถานที่เหล่านั้นให้เป็นโรงเรียน หรือโกดังเก็บของ การสอนศาสนาในโรงเรียนถูกห้าม และเด็กๆ ถูกปลูกฝังแนวคิดอเทวนิยม แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สตาลินผ่อนคลายนโยบายเพื่อขอความร่วมมือจากโบสถ์ออร์โธดอกซ์รัสเซีย
3.ยุคครุชชอฟ (พ.ศ.2496-2507) เริ่มการปราบปรามศาสนาอีกครั้ง มีการปิดโบสถ์และกวาดล้างผู้นำศาสนา มีการส่งเสริมลัทธิอเทวนิยมอย่างจริงจังผ่านสื่อและระบบการศึกษา
4.ยุคเบรจเนฟ และหลังจากนั้น (พ.ศ.2507-2539) มีการควบคุมศาสนาอย่างเข้มงวด แต่ไม่ได้โหดร้ายเท่ายุคก่อน โบสถ์ยังคงถูกจำกัดบทบาท และนักบวชต้องได้รับอนุญาตจากรัฐจนกระทั่ง พ.ศ.2533 เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย ศาสนาจึงได้รับเสรีภาพอีกครั้ง
ครับ! ศาสนาในฐานะของสถาบันทางสังคมนี่ต้องอยู่คู่กับทุกสังคมไปตลอดนะครับ แม้ว่าบรรดารัฐคอมมิวนิสต์ทั้งหลายพยายามที่จะขจัดออกไปจากสังคมเป็นเวลา 70 กว่าปีก็ยังไม่สามารถที่จะกำจัดออกไปจากสังคมได้เลย
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
———————————————————————————————————————–
ที่มา : สำนักข่าวมติชนออนไลน์ / วันที่เผยแพร่ 5 มีนาคม 2568
Link : https://www.matichon.co.th/columnists/news_5075034