
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทวาย กับความเสี่ยงของพื้นที่ข้างเคียง ดร.ปริญญา พุทธาภิบาล ที่ปรึกษารองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีศาสตร์ เปิดเผยว่า ฝุ่นควันจากแผ่นดินไหวในประเทศเมียนมาช่วงปลายเดือนมีนาคม 2568 ยังไม่ทันจางหายไป ข่าวเก่าเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน เรื่องข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศรัสเซียและเมียนมาในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เขตเศรฐกิจพิเศษรัฐทวายประเทศเมียนมาก็กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง เพราะ ทวาย ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกของเทือกเขาตะนาวศรี มีพื้นที่ติดต่อชายแดนไทยตลอดแนวยาวจังหวัดกาญจนบุรีถึงจังหวัดระนอง มีสารพัดคำถาม สารพัดความกังวลใจ เกี่ยวกับความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความปรกติสุขของผู้คนในพื้นที่และปริมณฑล ก่อนที่จะวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ทวาย ผมขอเชิญชวนทุกท่านดูข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้และการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ บนโลกใบนี้สักเล็กน้อยก่อน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แห่งแรกของโลกสร้างขึ้นในทศวรรษ 1950 ในปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกรวม 440 แห่ง ตั้งอยู่ใน 52 ประเทศ โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้รวมคิดเป็นร้อยละ 9 ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้อยู่ทั่วโลก ห้าประเทศที่ผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ได้มากที่สุดตามลำดับคือ สหรัฐอเมริกา จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย และเกาหลีใต้ รูปที่ 1 ธรณีพิบัติภัยแผ่นดินไหวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กรณีศึกษาในประเทศญี่ปุ่น ปี 1995 แผ่นดินไหวที่เมืองโกเบ-โอซากา (Kobe-Osaka earthquake) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 แห่งของบริษัท…