ตามข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย ณ เดือนพฤษภาคม 2024 จำนวนชาวอินเดียโพ้นทะเลทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 35.42 ล้านคน คิดเป็น 2.53% ของจำนวนพลเมืองอินเดียทั้งประเทศราว 1,400ล้านคน โดย 10 ประเทศที่มีชาวอินเดียอาศัยอยู่มากที่สุดไล่เรียงจากมากไปหาน้อยได้แก่ สหรัฐฯ สหรัฐอาหรับฯ มาเลเซีย แคนาดา ซาอุดิอาระเบีย เมียนมา สหราชอาณาจักร แอฟริกาใต้ ศรีลังกา และคูเวต ซึ่งเป็นการนับรวมทั้งผู้ที่ยังคงถือสัญชาติอินเดียและผู้ที่มีเชื้อชาติอินเดียแต่ไม่ได้ถือสัญชาติอินเดียแล้ว
ตัวเลขดังกล่าว น่าจะไม่ได้นับรวมชาวอินเดียที่ลักลอบเข้าประเทศเหล่านี้อย่างผิดกฎหมายอีกจำนวนมาก ซึ่งชาวอินเดียเหล่านั้นได้ลักลอบเข้าประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศตะวันตกด้วยเส้นทางที่เรียกว่า ‘Dunki route’ แปลได้ว่า
‘ทางลาเดิน’ คำนี้มีที่มาจากสำนวนภาษาปัญจาบ ‘Dunki’ นอกจากแปลว่า ‘ลา’ แล้วยังแปลว่า “กระโดดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง” เป็นชื่อเรียกเส้นทางที่ที่เด็ก ๆ หนุ่มสาว จากแคว้น Punjab, Haryana และ Gujarat เป็นเส้นทางผิดกฎหมายที่ผู้คนจำนวนมากใช้เพื่อข้ามพรมแดนออกจากอินเดียไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งเป็นเส้นทางที่อันตรายด้วยมีความเสี่ยงมากมาย เนื่องจากต้องอดอาหารหลายวัน เดินผ่านป่า ข้ามแม่น้ำและทะเล เพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหน้าที่ เส้นทางผิดกฎหมายเหล่านี้ แม้จะว่า มักจะมีภัยคุกคามและจุดจบที่ไม่พึงปรารถนา แต่ก็เป็นที่นิยมในหมู่เยาวชนที่ต้องการชีวิตที่ดีขึ้นและไล่ตามความฝันแบบอเมริกัน (American dream)
ตามข้อมูลที่รวบรวมโดยสำนักงานศุลกากรและป้องกันชายแดนของสหรัฐฯ ผู้ย้ายถิ่นฐานจากอินเดียประมาณ 42,000 คนข้ามพรมแดนทางใต้โดยผิดกฎหมายระหว่างเดือนตุลาคม 2022 ถึงกันยายน 2023 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2022 เป็นต้นมาชาวอินเดียประมาณ 97,000 คนพยายามเข้าสู่สหรัฐอเมริกาอย่างผิดกฎหมายและถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ทั้ง ๆ ที่เส้นทางไปสู่ประเทศต่าง ๆ อย่างผิดกฎหมายนั้นมีค่าใช้จ่ายสูง ไม่เพียงแต่ในแง่ของความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงค่าใช้จ่ายทางการเงินด้วย การเดินทางด้วยลาไปยังสหรัฐอเมริกามีค่าใช้จ่ายระหว่าง 150,000-400,000 รูปี (58,500-156,000) และอาจสูงถึง 700,000 รูปี (273,000) และยิ่งใช้เงินมากเท่าไหร่การเดินทางก็ยิ่งสะดวกสบายมากขึ้นเท่านั้น โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 150,000 รูปีสำหรับโปรตุเกส 250,000 รูปีสำหรับเยอรมนี และ 450,000 รูปีสำหรับสหรัฐอเมริกา
ขั้นตอนแรกของ ‘Dunki route’ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากอินเดียไปยังประเทศในละตินอเมริกา เช่น เอกวาดอร์ โบลิเวีย กายอานา บราซิล และเวเนซุเอลา เหตุผลที่เลือกประเทศในละตินอเมริกาเป็นเส้นทางผ่านก็คือการที่ชาวอินเดียจะเข้าประเทศเหล่านี้ได้ง่ายกว่า ประเทศเหล่านี้ไม่เพียงแต่ให้วีซ่าเมื่อเดินทางมาถึง (Visa on arrival) แก่ชาวอินเดียเท่านั้น แต่ผู้ที่ต้องใช้วีซ่าก่อนเดินทางมาถึงก็สามารถขอวีซ่าท่องเที่ยวในอินเดียได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ นายหน้าที่จัดการการอพยพที่ผิดกฎหมายยังอาศัยอยู่ในประเทศเหล่านี้ซึ่งมี ‘ความเชื่อมโยง’ กับการค้ามนุษย์ที่ผิดกฎหมาย
เส้นทางอื่น ๆ ในบางกรณี นายหน้าจะจัดเตรียมวีซ่าตรงไปจากดูไบยังเม็กซิโก แต่การเข้าเมืองโดยตรงในเม็กซิโกถือเป็นอันตราย เนื่องจากมีโอกาสที่จะถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ดังนั้น นายหน้าส่วนใหญ่จึงส่งลูกค้าไปยังประเทศในละตินอเมริกาแล้วจึงพาพวกเขาไปที่โคลอมเบีย หลังจากมาถึงโคลอมเบีย ผู้อพยพจะเดินทางเข้าสู่ปานามา ซึ่งเส้นทางต้องข้ามช่องเขาดาริเอน ซึ่งเป็นป่าอันตรายระหว่างสองประเทศ ความเสี่ยง ได้แก่ ขาดน้ำสะอาด สัตว์ป่า และกลุ่มอาชญากร
ซึ่งอาจนำไปสู่การปล้นและกระทั่งข่มขืน ในหนึ่งในกรณีที่ถูกรายงานระบุว่า ชาวอินเดียกลุ่มหนึ่งจาก Haryana ถูกขโมยเงิน โทรศัพท์ และแม้กระทั่งเสื้อผ้าและรองเท้า ขณะข้ามป่า พวกเขาต้องเดินเท้าเปล่าท่ามกลางความหนาวเย็นและหิมะ
ใช้เวลาเดินทางแปดถึงสิบวัน และหากเกิดเหตุการณ์เลวร้ายขึ้นหรือผู้อพยพเสียชีวิต ก็ไม่มีทางที่จะส่งศพกลับบ้านได้
มีเส้นทางอื่นที่ปลอดภัยกว่าจากโคลอมเบีย ซึ่งผู้อพยพจะหลีกเลี่ยงป่าอันตรายในปานามา เส้นทางเริ่มต้นจากซานอันเดรส ซึ่งเรือประมงที่มีผู้อพยพผิดกฎหมายจะมุ่งหน้าไปยังฟิชเชอร์แมนส์เคย์
ซึ่งอยู่ห่างจากซานอันเดรสประมาณ 150 กิโลเมตร จากนั้นจึงเปลี่ยนเรืออีกลำเพื่อมุ่งหน้าต่อไปยังเม็กซิโก จากปานามา ผู้อพยพจะมุ่งหน้าไปยังเม็กซิโกเพื่อเข้าสู่ชายแดนสหรัฐฯ
และกัวเตมาลาเป็นศูนย์กลางการประสานงานที่สำคัญในเส้นทางนี้ เม็กซิโกเป็นเส้นทางที่สำคัญในการเดินทาง เนื่องจากต้องหลบซ่อนจากหน่วยงานพิทักษ์ชายแดน พรมแดนสหรัฐฯ และเม็กซิโกที่ยาว 3,140 กิโลเมตรที่กั้นระหว่างสหรัฐฯ
และเม็กซิโกออกจากกันมีรั้วกั้น ซึ่งผู้อพยพจะต้องกระโดดข้ามไป และผู้อพยพอื่น ๆ อีกจำนวนมากต้องข้ามแม่น้ำริโอแกรนด์ที่อันตราย อย่างไรก็ตาม ผู้อพยพจำนวนมากถูกจับกุมหลังจากข้ามแม่น้ำริโอแกรนด์ แทนที่จะข้ามรั้วหรือเข้ามาทางทะเล
เส้นทางผ่านยุโรป ผู้อพยพจำนวนมากยังเลือกยุโรปแทนที่จะผ่านประเทศในละตินอเมริกา ถึงแม้ว่าการเดินทางผ่านยุโรปไปยังเม็กซิโกจะง่ายกว่า แต่เส้นทางนี้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยทางการของประเทศต่าง ๆ อย่างเข้มงวด
เริ่มจากการบินจากนิวเดลีไปยังฮังการี ซึ่งพวกเขาจะถูกกักขังในห้องเล็ก ๆ เป็นเวลา 10 วัน และได้รับอาหารเพียงขนมปังและน้ำเล็กน้อยพอประทังชีวิต จากฮังการี พวกเขาบินไปฝรั่งเศส จากนั้นไปเม็กซิโกซิตี้
ซึ่งเขาถูกขังไว้ในห้องเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์
หลังจากบินอีกเที่ยวและนั่งรถบัสเป็นเวลานาน และถูกพาขึ้นรถกระบะพาพวกเขาไปใกล้ชายแดนสหรัฐฯ และข้ามไปยังมลรัฐแคลิฟอร์เนียในที่สุด หากถูกจับกุมจะถูกนำตัวไปที่ศูนย์ซึ่งจะพบกับผู้ลักลอบเข้าเมืองมากมายหลายชาติที่เคยเดินทางในลักษณะเดียวกัน ผู้อพยพลักลอบเข้าเมืองชาวอินเดียส่วนใหญ่ประมาณ 80% เป็นหนุ่มสาวที่โสด และเข้ามาทางชายแดนเม็กซิโกใกล้รัฐแอริโซนาหลังจากขึ้นเครื่องบินที่ผ่านประเทศที่ไม่ต้องขอวีซ่าสำหรับพลเมืองอินเดีย
รายงานในปี 2022 ของสถาบันนโยบายการย้ายถิ่นฐานของสหรัฐฯ (MPI) ได้ระบุว่า “การข่มเหงทางศาสนาและการเมืองต่อผู้ที่ไม่ใช่ชาวฮินดูที่เพิ่มมากขึ้นในอินเดีย” และ “การขาดการบังคับใช้กฎหมายในประเทศ โอกาสทางเศรษฐกิจ” ยังผลักดันชาวอินเดียเดินทางไปสู่ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งสหรัฐอเมริกาด้วย แม้ว่าจะมีอุปสรรคมากมายและเส้นทางที่อันตราย แต่การใช้ ‘Dunki route’ ถือเป็นวิธีการอพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายที่นิยมมากที่สุดของผู้ลักลอบเข้าเมืองหนุ่มสาวชาวอินเดีย
เรื่องโดย: ดร.ปุณกฤษ ลลิตธนมงคล
————————————————————————————————————————————-
ที่มา : thestatestimes / วันที่เผยแพร่ 15 กุมภาพันธ์ 2568
Link : https://thestatestimes.com/post/2025021501