จากเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงต่อต้านการลงมติของวุฒิสภาปารากวัย สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประธานาธิบดีแห่งปารากวัยสามารถบริหารประเทศได้หลายสมัย ส่งผลให้การชุมนุมประท้วงขยายความรุนแรงจนกลายเป็นการจลาจล และกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าทำลายและวางเพลิงอาคารรัฐสภาที่กรุงอาซัยซีออง ปารากวัย ในช่วงกลางคืนของวันที่ 31 มีนาคม 2560
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย ของทางการปารากวัยจากการเผยแพร่ภาพของสื่อมวลชนและจาก Social Network สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. คาดว่า หน่วยงานด้านความปลอดภัยของทางการปารากวัยประเมินสถานการณ์การชุมนุมประท้วงการลงมติของวุฒิสภาในครั้งนี้ต่ำเกินไป ต่อเมื่อขยายความรุนแรงจนกลายเป็นการจลาจลจึงไม่ได้เตรียมมาตรการรองรับที่เหมาะสมกับเหตุร้ายที่เกิดขึ้น
1.1 ปรากฎภาพกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนมากบริเวณภายนอกทางเข้าอาคารรัฐสภา ช่วงเย็นวันที่ 31 มีนาคม 2560 ซึ่งยังมิได้แสดงท่าทีให้เห็นว่าจะขยายความรุนแรงเป็นการจลาจล
1.2 เมื่อปรากฏข่าวสารว่า วุฒิสภาบางส่วนทำการหารืออยู่ในอาคารรัฐสภาและลง มติลับสนับสนุนให้แก้ไขบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งได้เพียงสมัยเดียว เป็นผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจอย่างยิ่ง และต้องการขัดขวางการหารือของวุฒิสภา ผู้ชุมนุมประมาณ 100 คน จึงบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาชั้นล่างแต่ยังมิได้มีการทำลายทรัพย์สินในอาคารรัฐสภา ขณะเดียวกันไม่ปรากฏรายงานข่าวสารว่าฝ่ายรัฐบาล ดำเนินการควบคุมหรือป้องกันใดๆอย่างไรก็ดี รายงานข่าวสารของสื่อมวลชนต่างชาติแจ้งว่า กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้นำเอกสารและวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงมารวมไว้ที่ด้านนอกอาคารรัฐสภา และก่อเพลิงจนลุกไหม้อาคารชั้นล่าง
1.3 การแสดงออกของผู้ชุมนุมขณะเพลิงไหม้อาคารรัฐสภา จะเห็นว่า ผู้ชุมนุมไม่มีความกังวลต่อความผิดจากการก่อการจลาจล ทั้งไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาระงับเหตุที่เกิดขึ้นอีกด้วย
1.4 เป็นที่น่าสังเกตว่า ทางการปารากวัยเตรียมการดูแลรักษาความปลอดภัยอยู่บ้าง เพราะปรากฏภาพกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาประจำในอาคารรัฐสภา ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2560
2. มาตรการควบคุมและปราบเหตุจลาจลที่เกิดขึ้น
2.1 ใช้ตำรวจม้าพร้อมอาวุธปืนทำการสลายกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง เมื่อคืนวันที่ 31 มีนาคม 2560
2.2 ใช้กำลังตำรวจปราบจลาจลควบคุมสถานการณ์ พร้อมอาวุธ ประกอบด้วยปืนกระสุนยาง เครื่องยิงแก๊สน้ำตาสำหรับปราบจลาจล และรถหุ้มเกราะติดตั้งเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง
2.3 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยรัฐสภา อพยพผู้ที่ยังทำงานอยู่ภายในอาคารรัฐสภาออกจากพื้นที่ก่อนกลุ่มผู้ชุมนุมจะบุกรุกเข้ามา
2.4 ความเสียหายบริเวณชั้นล่างของอาคารรัฐสภา ซึ่งตำรวจเข้าทำการควบคุมได้แล้ว เมื่อ 1 เมษายน 2560
2.5 รัฐบาลให้กำลังตำรวจพร้อมอาวุธหนักประจำการที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อรักษาความปลอดภัยเมื่อ 1 เมษายน 2560
จัดทำโดย : องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน