การใช้สารเคมีกลุ่มคลอเรต 2 ชนิดผลิตดินระเบิด

Loading

          คาดว่าพวกเราจะลืมข่าวสาร เมื่อ 3 มิถุนายน 2549 ที่ว่า เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรภาค 4 พบสารโซเดียมคลอเรต จำนวน 625 กิโลกรัม ที่บริเวณตลาดสดทุ่งลุง ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ข่าวดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจ เพราะสารเคมีนี้เป็นส่วนประกอบในการผลิตดินระเบิด  เกี่ยวกับสารเคมี 2 ชนิด คือ โซเดียม คลอเรต และโพแทสเซียม คลอเรต นี้สามารถนำมาผลิตเป็นดินระเบิดประเภทวัตถุระเบิดกำลังสูงขั้นทุติยภูมิ secondary high explosives (ต้องจุดระเบิดด้วยชนวนหรือตัวเร่ง) ได้เช่นเดียวกับแอมโมเนียม ไนเตรต ซึ่งเป็นสารเคมียอดนิยมของกลุ่มก่อการร้าย         ทั้งโซเดียม คลอเรต และโพแทสเซียม คลอเรต ทั้ง 2 ชนิดนี้ในทางทหารถือเป็นสารเทียม(ระเบิด)กลุ่ม pyrotechnic (สารหรือสารผสม เมื่อสลายตัวจะเกิดความร้อน และก๊าซ หรือควัน…

SEMTEX

Loading

  นายสตานิสลาฟ เบรเบรา (Stanislav Brebera) และนายราดิม ฟูกัสโก (Radim Fukátko) นักเคมีคือผู้พัฒนาดินระเบิดชนิด Semtex ขึ้นมาในเชคโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐเชค) ตั้งแต่ปี 2507  เดิมเป็นดินระเบิดสำหรับการทหารและเพื่อพาณิชย์  แต่ด้วยความเป็นวัสดุนิ่มคล้ายดินน้ำมัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของดินระเบิดชนิดนี้ ทำให้สามารถใช้มือปั้น เป็นรูปแบบต่างๆ และนำไปยึดติดกับสิ่งของต่างๆ ได้ดี ทั้งตรวจค้นได้ยาก  ประกอบกับมีระยะหวังผลจากตำแหน่งที่ทำให้เกิดระเบิดประมาณ 5 เมตร จึงทำให้กลุ่มก่อการร้ายนิยมนำมาปรับใช้ในการประกอบเป็นระเบิดแสวงเครื่อง   ระเบิดแสวงเครื่อง (Improvised Explosive Devices,  IED) คำศัพท์นี้เริ่มใช้จากกองทัพบกอังกฤษในช่วงปี 2513  ซึ่งเป็นระยะเวลาที่อังกฤษเผชิญกับการก่อการร้ายของกลุ่มกองกำลังสาธารณรัฐไอริช (The Irish Republican Amy, IRA) โดยเฉพาะการลอบวางระเบิดตามสถานที่ต่างๆ ในพื้นที่สาธารณะและสถานที่ราชการ ทั้งในเกาะอังกฤษและดินแดนไอร์แลนด์เหนือ จุดประสงค์ของกลุ่มกองกำลังสาธารณรัฐไอริช คือการเรียกร้องให้อังกฤษถอนตัวออกจากการยึดครองดินแดนไอร์แลนด์เหนือ ระเบิดแสวงเครื่องที่กองกำลังสาธารณรัฐไอริชใช้ก่อวินาศกรรมมี  2 รูปแบบ คือ 1. ประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมีส่วนผสมของปุ๋ย เช่น แอมโมเนียมไนเตรท กับ…

ชี้สารพิษสังหารคิม จอง นัม เป็น “อาวุธทำลายล้างสูง”

Loading

ตำรวจมาเลเซียแถลงว่าจากการตรวจสอบสารพิษที่ใช้ปลิดชีวิตนายคิม จอง นัม พี่ชายต่างมารดาของนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ พบว่าเป็นสารพิษต่อระบบประสาท “VX nerve agent” ซึ่งองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กำหนดว่าเป็นอาวุธทำลายล้างสูง สิ่งควรรู้เกี่ยวกับสารพิษ VX nerve agent เป็นของเหลวไม่มีรสชาติ ไม่มีกลิ่น มีสีเหลืองอัมพันใส เป็นสารเคมีที่ใช้ในสงครามซึ่งมีพิษร้ายแรงที่สุด การสัมผัสสาร VX เพียงหยดเดียวบนผิวหนังมีอันตรายถึงชีวิต และทำให้ตายได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ทำงานโดยซึมผ่านเข้าทางผิวหนังและทำลายการถ่ายทอดกระแสประสาท สามารถแพร่กระจายด้วยการฉีดพ่น ไอระเหย หรือใช้ผสมในน้ำ อาหาร และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สารพิษเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งจากการสูดดม รับประทาน สัมผัสทางผิวหรือ หรือดวงตา จะตกค้างอยู่บนเสื้อผ้าได้นาน 30 นาที หลังสัมผัสกับไอระเหยของสารพิษนี้ ซึ่งจะกระจายไปยังผู้อื่นได้ การสัมผัสกับสารพิษนี้ในปริมาณน้อยทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหล ปวดตา สายตาพร่ามัว น้ำลายไหลยืด และเหงื่อออกในปริมาณมาก แน่นหน้าอก หายใจเร็ว มีปัสสาวะมาก สับสน วิงเวียน อ่อนแรง หรืออาเจียน มีชื่อเป็นทางการว่า S-2…

คนร้ายปาระเบิดแบบ Molotov cocktail ใสไนท์คลับใกล้กรุงไคโร

Loading

คนร้ายปาระเบิดแบบ Molotov cocktail ใสไนท์คลับใกล้กรุงไคโร อียิปต์ เมื่อ 5 ธ.ค.58 เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 16 บาดเจ็บ 5 ทางการอียิปต์แจ้งว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายเป็นเพียงอาชญากรรม Molotov cocktail เป็นระเบิดเพลิง ที่สามารถผลิตได้เองและเสียค่าใช้จ่ายน้อยมาก ไม่ต้องใช้ดินระเบิด เมื่อนำมาใช้กับสถานที่ที่ปิดทึบและทางเข้า-ออกแคบจะสร้างความเสียหายได้ดียิ่ง ที่มา : CNN Updated 1846 GMT (0246 HKT) December 4, 2015 Link : http://www.newsjs.com/url.php?p=http://www.cnn.com/2015/12/04/middleeast/egypt-nightclub-molotov-cocktail-attack/  

การคุกคามด้วยวัตถุระเบิด

Loading

เหตุผลในการคุกคามด้วยวัตถุระเบิด การคุกคามด้วยวัตถุระเบิดพิจารณาได้ 2 สาเหตุ ผู้ทำกระทำเพราะ ต้องการสร้างความเสียหายให้แก่เป้าหมายตามที่ตนกำหนดหรือคาดการณ์ไว้ ผู้ทำกระทำเพื่อ ให้เกิดความตื่นตระหนก หวาดกลัว จนฝ่ายปกครองไม่สามารถควบคุมความตื่นตระหนก หวาดกลัวที่เกิดขึ้นได้ การเตรียมการเพื่อเผชิญกับการลอบวางระเบิด ต้องมีการประเมินพื้นที่ที่เอื้อหรืออาจเอื้อต่อการลอบวางระเบิดไว้ก่อน เช่น ที่จัดเก็บน้ำมัน/แก๊ซ พื้นที่จัดเก็บสารเคมี เป็นต้น การเข้าถึงพื้นที่ดังกล่าวและผลความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ต้องจัดทำแผนผังบริเวณโดยรอบและอาคารที่ตั้งที่มีรายละเอียดชัดเจน และตรงกับสภาพการใช้งานในปัจจุบัน เช่น พิมพ์เขียวของอาคาร ตำแหน่งในอาคารที่มีการปรับปรุง/แก้ไขไปจากแบบแปลนเดิม เป็นต้น เมื่อใดที่ต้องเผชิญเหตุ แผนผังเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องนำมาใช้ในการตรวจสอบเพื่อค้นหาจุดที่เอื้อต่อการก่อเหตุร้าย โดยเฉพาะที่ซุกซ่อนระเบิด และกำหนดเส้นทางอพยพออกจากพื้นที่เพื่อให้เกิดความเสียหายที่น้อยที่สุด การจัดทำแผนผังมีข้อพิจารณาคือ 2.1 บริเวณที่ตั้งและอาคารสถานที่เป็นแบบธรรมดา การจัดทำแผนผังสามารถแบ่งออกเป็นส่วนพื้นที่ที่ใช้ในการสนับสนุน เช่น สวนพักผ่อน ห้องน้ำ ทางเดิน ระเบียง เป็นต้น กับส่วนพื้นที่ที่ใช้ทำงาน พื้นที่นี้มีการติดตั้งหรือจัดเก็บทรัพย์สิน 2.2 บริเวณที่ตั้งและอาคารสถานที่เป็นแบบซับซ้อน การจัดทำแผนผังดำเนินการเช่นเดียวกับแบบธรรมดา แต่จำเป็นต้องเชิญผู้แทนที่รับผิดชอบพื้นที่จากทุกส่วนของอาคารมาร่วมจัดทำแผนผัง เพื่อ ให้ทราบรายละเอียดภายในตรงตามความเป็นจริงให้มากที่สุด เช่น อาคารหลายชั้น หรือมีเส้นทางเชื่อมโยงกับอาคารอื่น การปรับ-กั้นพื้นที่บางส่วนของอาคารเป็นการภายใน การจัดทำแผงควบคุมวงจรไฟฟ้าเพิ่ม เป็นต้น กำหนดสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจนและต้องเป็นที่รับทราบ-ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สำหรับควบคุมการเผชิญเหตุในชั้นต้น ก่อนถ่ายโอนให้แก่หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง