อิหร่านจับกุม ‘สายลับ’ เอี่ยวหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ

Loading

(แฟ้มภาพซินหัว : ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยเดินบนสะพานในเมืองโทเนกาบอนของอิหร่าน วันที่ 26 เม.ย. 2021)   เตหะราน, 30 พ.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันอังคาร (29 พ.ย.) สำนักข่าวกึ่งทางการเมห์ร (Mehr) ของอิหร่าน อ้างอิงอาลี ฟาดาวี รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน (IRGC) ซึ่งเปิดเผยระหว่างการชุมนุมของผู้บัญชาการหน่วยแพทย์แห่งกองกำลังฯ ในกรุงเตหะราน ว่ามีประชาชนจำนวนหนึ่งถูกจับกุมในข้อหาติดต่อกับหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ระหว่างการจลาจลครั้งล่าสุดในประเทศ   ฟาดาวีกล่าวว่าหน่วยข่าวกรองแห่งกองกำลังฯ ได้จับกุม “สายลับ” หลายคนที่เชื่อมโยงกับหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ ระหว่างการจลาจลครั้งล่าสุด ก่อนจะส่งตัวพวกเขาให้กับหน่วยงานตุลาการ พร้อมเสริมว่าพวกเขาทำหน้าที่เป็น “ผู้นำเครือข่ายของศัตรู” ในการจลาจลครั้งนี้   ฟาดาวีระบุว่ากลุ่มคนเหล่านี้ไม่เพียงมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานีโทรทัศน์อิหร่าน อินเตอร์เนชันแนล (Iran International) ซึ่งดำเนินงานภายใต้หน่วยสอดแนมของศัตรูเท่านั้น ทว่ายังเกี่ยวข้องกับหน่วยข่าวกรองและหน่วยสอดแนมของสหรัฐฯ ด้วย   อย่างไรก็ดี รายงานข้างต้นไม่ได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนและรายชื่อของผู้ถูกจับกุม       —————————————————————————————————————————————————————- ที่มา :   …

Google เผยชื่อบริษัทขายสปายแวร์สอดแนมผู้ใช้ซอฟต์แวร์จากบริษัทยักษ์ใหญ่

Loading

  กลุ่มวิเคราะห์ภัยคุกคาม (TAG) ของ Google รายงานบริษัทจากบาเซโลนารายหนึ่งขายสปายแวร์ที่ใช้ช่องโหว่ Zero Days ของ Chrome, Firefox และ Windows Defender ในการสอดแนมอุปกรณ์ PC   บริษัทรายนี้มีชื่อว่า Variston IT ซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยแบบปรับแต่งได้ (custom security solution) โดย TAG เทียบ Variston กับบริษัทอย่าง RCS Labs และ NSO Group ที่ขายอุปกรณ์สอดแนมให้กับรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลก   ช่องโหว่ที่ Variston ใช้ประโยชน์ในการนำไปสอดแนมผู้ใช้งาน ได้แก่ –   ช่องโหว่ Heliconia Noise ที่สามารถเปิดใช้งานโค้ดแบบระยะไกลบนอุปกรณ์ของผู้ใช้ Google Chrome ในเวอร์ชัน 90.0.4430.72 จนถึง 91.0.4472.106 ซึ่งเป็นช่วงระหว่างเดือนเมษายน –…

ออสเตรเลียผ่านกฎหมายลงโทษคนทำข้อมูลส่วนบุคคลหลุดสุดโหด ค่าปรับคิดตามความเสียหาย

Loading

  ออสเตรเลียผ่านกฎหมายขึ้นค่าปรับการทำข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล จากเดิมที่ค่าปรับสูงสุดอยู่ที่ 2.2 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย กลายเป็นค่าปรับไม่มีเพดานแต่จะคิดจากความเสียหายหรือขนาดองค์กรที่ทำข้อมูลหลุดแทน โดยค่าปรับในกรณีที่เกิดความเสียร้ายแรงหรือทำผิดซ้ำ   โดยเพดานค่าปรับจะดูจากสามเงื่อนไขและคิดเงื่อนไขที่เพดานค่าปรับสูงสุด เงื่อนไขได้แก่ – 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย – สามเท่ามูลค่าผลประโยชน์ที่คนร้ายได้ไปจากการใช้ข้อมูล – 30% ของเงินหมุนเวียนของบริษัท (adjusted turnover)   ออสเตรเลียพบปัญหาข้อมูลหลุดครั้งใหญ่ ๆ หลายครั้งในปีนี้ เช่น เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ Optus ทำข้อมูลลูกค้าหลุด 9.8 ล้านคน หรือบริการประกันสุขภาพ Medibank ที่ทำข้อมูลหลุดถึง 9.7 ล้านคน   นอกจากการเพิ่มบทลงโทษแล้ว กฎหมายนี้ยังให้อำนาจกรรมการข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการช่วยสอบสวนเหตุการณ์ข้อมูลหลุดและการเปิดเผยข้อมูลเพื่อปกป้องลูกค้าขององค์กรที่ข้อมูลหลุด   กฎหมายนี้นับเป็นวาระเร่งด่วนของรัฐบาล Albanese ที่เพิ่งรับตำแหน่งในปีนี้ ทางรัฐบาลประกาศว่าจะแก้ไขกฎหมายข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติมต่อไป     ที่มา – Australia Attorney General ภาพ – vjohns1580    …

Meta โดนปรับอีก ฐานละเมิดข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ จ่าย 265 ล้านยูโร

Loading

  [วันนี้ที่ (ไม่) รอคอย] ย้อนกลับไปในเดือนเมษายนปีก่อน พบข้อมูลผู้ใช้ Faecbook หลุดในเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นจำนวนนับร้อยล้าน และพบด้วยว่าเหตุเกิดตั้งแต่ปี 2019 เป็นเหตุให้ Facebook อาจต้องชดใช้เป็นการใหญ่ จนล่าสุดมีการตัดสินแล้วว่า Meta หรือเจ้าของ Faecbook ในปัจจุบัน ต้องจ่ายเงินชดเชยถึง 265 ล้านยูโร คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลของไอร์แลนด์ (DPC) สั่งปรับ Meta เป็นจำนวนเงินถึง 265 ล้านยูโร หรือประมาณ 9,800 ล้านบาท ฐานละเมิดข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ โดยปล่อยให้ข้อมูลสำคัญของผู้ใช้ Facebook ไม่ว่าจะเป็น เบอร์โทร วันเกิด อีเมล และตำแหน่งที่อยู่ (อาจรวมถึงชื่อผู้ใช้ด้วย) หลุดในเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นจำนวนถึง 533 ล้านคน เปิดทางผู้ไม่หวังดี นำไปยิง [ฟิชชิงเมล] และการโจมตีอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ทาง DPC ระบุอีกว่า ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook ที่หลุดออกไปนั้น…

สหรัฐฯ แบนอุปกรณ์สื่อสาร ‘หัวเว่ย-ZTE’ อ้างกระทบความมั่นคงของชาติ

Loading

  รัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ออกคำสั่งห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารจากบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ และบริษัท ZTE ของจีน โดยอ้างว่ากระทบต่อความมั่นคงของชาติจนถึงขั้นที่ “ไม่อาจยอมรับได้”   คณะกรรมาธิการกำกับดูแลกิจการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Commission : FCC) ประกาศวานนี้ (25 พ.ย.) ว่า ทางหน่วยงานยังได้บังคับใช้กฎห้ามการนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์สอดแนมที่ผลิตโดยบริษัท Dahua Technology รวมไปถึงกล้องวิดีโอวงจรปิดของบริษัท Hangzhou Hikvision Digital Technology และบริษัทโทรคมนาคม Hytera Communications Corp ด้วย   มาตรการนี้ถือเป็นความพยายามล่าสุดของสหรัฐฯ ที่จะกีดกันบริษัทไฮเทคของจีนท่ามกลางความวิตกกังวลว่าปักกิ่งอาจใช้อุปกรณ์ของบริษัทเหล่านี้เป็นเครื่องมือสอดแนมชาวอเมริกัน   “กฎใหม่เหล่านี้เป็นหนึ่งในความพยายามของเราที่จะปกป้องชาวอเมริกันจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติที่เกิดจากระบบโทรคมนาคม” เจสซิกา โรเซนวอร์เซล ประธาน FCC ระบุในถ้อยแถลง   กรรมาธิการทั้ง 4 คนใน FCC ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรครีพับลิกัน 2 คน…