สหรัฐฯ แบนอุปกรณ์สื่อสาร ‘หัวเว่ย-ZTE’ อ้างกระทบความมั่นคงของชาติ

Loading

  รัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ออกคำสั่งห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารจากบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ และบริษัท ZTE ของจีน โดยอ้างว่ากระทบต่อความมั่นคงของชาติจนถึงขั้นที่ “ไม่อาจยอมรับได้”   คณะกรรมาธิการกำกับดูแลกิจการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Commission : FCC) ประกาศวานนี้ (25 พ.ย.) ว่า ทางหน่วยงานยังได้บังคับใช้กฎห้ามการนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์สอดแนมที่ผลิตโดยบริษัท Dahua Technology รวมไปถึงกล้องวิดีโอวงจรปิดของบริษัท Hangzhou Hikvision Digital Technology และบริษัทโทรคมนาคม Hytera Communications Corp ด้วย   มาตรการนี้ถือเป็นความพยายามล่าสุดของสหรัฐฯ ที่จะกีดกันบริษัทไฮเทคของจีนท่ามกลางความวิตกกังวลว่าปักกิ่งอาจใช้อุปกรณ์ของบริษัทเหล่านี้เป็นเครื่องมือสอดแนมชาวอเมริกัน   “กฎใหม่เหล่านี้เป็นหนึ่งในความพยายามของเราที่จะปกป้องชาวอเมริกันจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติที่เกิดจากระบบโทรคมนาคม” เจสซิกา โรเซนวอร์เซล ประธาน FCC ระบุในถ้อยแถลง   กรรมาธิการทั้ง 4 คนใน FCC ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรครีพับลิกัน 2 คน…

ข้อมูลผู้โดยสารและพนักงานของแอร์เอเชียโดนขโมย

Loading

    กลุ่มแฮ็กเกอร์ Daixin Team ปล่อยตัวอย่างข้อมูลที่ขโมยจากสายการบิน AirAsia   ข้อมูลจาก DataBreaches.net คาดว่า AirAsia ถูกโจมตีด้วย Ransomware ในช่วงวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2022   แฮ็กเกอร์บอกว่าพวกเขาได้ข้อมูลลูกค้าและพนักงานใน AirAsia สาขามาเลเซีย อินเดีย และไทย กว่า 5 ล้านราย ข้อมูลที่กลุ่มแฮ็กเกอร์ DAIXIN เปิดเผยออกมาได้แก่ ข้อมูลผู้โดยสาร หมายเลขการจอง และข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน     ตัวแทนของกลุ่มแฮ็กเกอร์ยังบอกกับทาง DataBreaches.net ไว้ว่าไม่จำเป็นต้องโจมตี AirAsia อีกต่อไปแล้วเพราะมาตรการความปลอดภัยต่ำและการวางเครือข่ายที่วุ่นวาย   ก่อนหน้านี้กลุ่มแฮ็กเกอร์ Daixin Team ถูกหมายหัวจากหน่วยข่าวกรองและความปลอดภัยไซเบอร์ของสหรัฐฯ เพราะโจมตีสถาบันทางการแพทย์     Source: https://thehackernews.com/2022/11/daixin-ransomware-gang-steals-5-million.html Translated by: Worapon H.  …

อังกฤษจำกัดการใช้กล้องซีซีทีวีผลิตโดยจีน “ด้วยเหตุผลความมั่นคง”

Loading

GETTY IMAGES   รัฐบาลสหราชอาณาจักรขอให้หน่วยงานของรัฐไม่ติดตั้งกล้องวีดีโอวงจรปิด ที่ผลิตโดยบริษัทของจีน เพราะความวิตกกังวลในเรื่องความมั่นคง   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ว่านายโอฃิเวอร์ โดวเดน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ยื่นหนังสือต่อสภาสามัญ ขอความร่วมมือให้หน่วยงานทุกแห่งของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ไม่ติดตั้งกล้องวีดีโอวงจรปิดที่ผลิตโดยบริษัทของจีน “ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง”   ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของรัฐบาลสหราชอาณาจักรเกิดขึ้น หลังตลอดช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สมาชิกสภาสามัญหลายสิบคนร่วมกันเรียกร้อง ให้มีการบัญญัติกฎหมาย หรืออย่างน้อยกำหนดมาตรการควบคุมการจำหน่ายและการใช้งาน กล้องวีดีโอวงจรปิด ซึ่งผลิตโดยบริษัทเจ้อเจียง ต้าหัว เทคโนโลยี ( ต้าหัว ) และบริษัทฮิควิชั่น   UK restricts Chinese cameras in government buildings over security fears https://t.co/HdeOXHRgNk pic.twitter.com/N0bVv6RDsP — Reuters (@Reuters) November 25, 2022   ขณะที่บริษัทฮิควิชั่นออกแถลงการณ์ปฏิเสธ “ความวิตกกังวล”…

สื่อแฉ! ทหารไต้หวันถูก ‘จีน’ ซื้อตัวเป็นสายลับ-ทำสัญญาให้ ‘ยอมแพ้’ หากเกิดสงคราม

Loading

  ไต้หวันกำลังสอบสวนทหารยศนายพันผู้หนึ่งฐานต้องสงสัยว่ารับเงินเดือนจาก “จีน” มาเป็นเวลาหลายปี แลกกับการรวบรวมข่าวกรองส่งให้ปักกิ่ง และให้ “ยอมแพ้” หากสงครามระหว่างจีนกับไต้หวันปะทุขึ้น   สำนักข่าวกลางไต้หวัน (CNA) รายงานโดยไม่อ้างอิงแหล่งข่าวเมื่อวันอังคาร (22 พ.ย.) ว่า เซี่ยง เต๋อเอิน (向德恩) ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าแผนกปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาในสังกัดกองบัญชาการฝึกทหารราบประจำเมืองเกาสง ถูกว่าจ้างให้เป็น “สายลับ” ตั้งแต่ปี 2019 และรับเงินจากรัฐบาลจีนจำนวน 40,000 ดอลลาร์ไต้หวัน (ราว 46,000 บาท) ต่อเดือน   ทหารนายนี้ยังเคยถ่ายรูปขณะถือจดหมายลงนามสัญญาว่าจะ “ยอมแพ้” ต่อจีนหากเกิดสงครามขึ้น   กรณีที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงภัยคุกคามด้านการจารกรรมที่ไต้หวันกำลังเผชิญอยู่ ขณะที่สหรัฐฯ เองก็มีความกังวลมานานแล้วว่า ไต้หวันจะสามารถเก็บรักษาความลับทางเทคโนโลยีและอื่น ๆ ไม่ให้ตกไปถึงมือปักกิ่งได้หรือไม่   สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ก่อนหน้านี้ จาง เจ๋อผิง (張哲平) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมไต้หวัน เคยถูกสอบสวนเมื่อปี 2021 ฐานต้องสงสัยว่ามีการติดต่อกับเครือข่ายจารชนจีน ทว่าต่อมาถูกประกาศให้พ้นข้อหา และทำหน้าที่เป็นพยานในคดีจนสามารถเอาผิดกับนายพลเกษียณและทหารยศพันโทนายหนึ่งได้เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา  …

Meta ลงโทษพนักงานและไล่ออกกว่า 20 ราย พบขายบัญชีผู้ใช้ให้แฮ็กเกอร์

Loading

  เอกสารภายในบริษัทและแหล่งข่าวของ Wall Street Journal ระบุว่า Meta ได้จัดการกับพนักงานกว่า 20 รายด้วยการไล่ออกหรือลงโทษทางวินัยเมื่อปีที่แล้ว หลังพบว่าพนักงานควบคุมบัญชีผู้ใช้งาน Facebook และ Instagram ขายบัญชีผู้ใช้ให้กับแฮ็กเกอร์   พนักงานที่ถูกลงโทษบางส่วนทำงานเป็นผู้ดูแลศูนย์บริการของ Meta และได้นำข้อมูลบัญชีผู้ใช้ออกไปให้บุคคลที่สามผ่านทางระบบที่เรียกเป็นการภายในบริษัทว่า Oops ย่อมาจาก Online Operations ที่ Meta อนุญาตให้พนักงานสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อจัดการกับข้อมูลผู้ใช้ได้ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการความช่วยเหลือ เช่น ต้องการรีเซ็ตรหัสผ่าน หรือเมื่อบัญชีถูกแฮก   การขโมยข้อมูลผู้ใช้มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการติดสินบนและขายบัญชีให้แฮกเกอร์นำไปขายต่อซึ่งมีมูลค่าเป็นหมื่นเหรียญสหรัฐ หรือในรูปแบบบริษัทกลางหรือคนกลางรับจ้างรีเซ็ตบัญชีที่ไปจ้างพนักงานภายใน Meta อีกทอดหนึ่ง บางกรณีเป็นคนใกล้ตัวที่พนักงานไว้ใจที่มาจ้างให้รีเซ็ตบัญชีของบุคคลที่สามให้ นอกจากนี้ ยังมีการปรับเปลี่ยนวิธีการขโมยข้อมูลเพื่อหลบหลีกการตรวจสอบจาก Meta ด้วย   สาเหตุสำคัญเกิดจากที่ Meta มีข้อมูลผู้ใช้กว่า 3 พันล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายบริการลูกค้าทางออนไลน์ เมื่อผู้ใช้พบปัญหาก็ต้องติดต่อผ่านพนักงานทางโทรศัพท์หรืออีเมลและให้พนักงานเป็นผู้จัดการบัญชีให้ ซึ่งเป็นช่องโหว่ให้มีการขายบัญชีผู้ใช้     ที่มา: Wall Street Journal  …

ศาลสหรัฐฯ ตัดสินจำคุกสายลับจีน โทษ 20 ปี ฐานขโมยข้อมูลความลับการค้า

Loading

  ศาลระดับรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ตัดสินโทษจำคุก 20 ปี ต่อเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองของจีนในเรือนจำ หลังจากชายรายดังกล่าวถูกพบเมื่อปีก่อนว่า มีส่วนในการขโมยข้อมูลความลับทางการค้า จากบริษัทด้านการบินและอวกาศของสหรัฐฯ และฝรั่งเศส   ซูหยานจุน ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้นำในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนเป็นเวลา 5 ปี เพื่อขโมยความลับทางการค้าจากบริษัท GE Aviation ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานชั้นนำของโลก และกลุ่มบริษัท Safran ของฝรั่งเศส ซึ่งทำงานร่วมกับ GE ในการพัฒนาเครื่องยนต์   ซูเป็นหนึ่งในชาวจีน 11 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ข่าวกรอง 2 คน ซึ่งถูกยื่นชื่อในคำฟ้องเมื่อเดือน ต.ค. 2561 จ่อศาลระดับรัฐบาลกลางในเมืองซินซินนาติ มลรัฐโอไฮโอ ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของบริษัท GE Aviation ทั้งนี้ ซูซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ข่าวกรองความมั่นคงแห่งรัฐของจีน ถูกจับกุมตัวในเดือน เม.ย. 2561 ที่เบลเยียม ซึ่งมีหลักฐานชี้ชัดว่าเขาถูกหลอกให้เข้าไปปฏิบัติการต่อต้านข่าวกรอง ทั้งนี้ ซูวางแผนที่จะแอบพบกับพนักงานของ GE ในการเดินทางครั้งนั้น   ซูถูกส่งตัวข้ามแดนไปยังสหรัฐฯ ก่อนที่เขาจะถูกพิจารณาคดีและถูกตัดสินโทษในการพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุน เมื่อวันที่…