เปิดโหมดป้องกัน Samsung ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ เซฟข้อมูลส่วนตัว ไม่ต้องกลัวตอนซ่อม

Loading

  หลายคนอาจเป็นกังวล เวลาโทรศัพท์พังต้องส่งซ่อม แล้วข้อมูลส่วนตัวที่อยู่ในเครื่องจะถูกขโมยหรือถูกแอบเปิดดูหรือไม่   Samsung เปิดโหมดป้องกัน เพิ่มฟีเจอร์ “Maintenance Mode” ป้องกันข้อมูลรั่วไหล ที่รองรับแล้วในรุ่น Galaxy   เพื่อลดความวิตกกังวล สร้างความอุ่นใจเมื่อผู้ใช้ส่งอุปกรณ์ไปซ่อม โดยวิธีนี้ผู้ใช้จะสามารถบล็อกการเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ , รายชื่อติดต่อ หรือข้อความส่วนตัว เป็นต้น   ขั้นตอนการเปิดใช้งานให้เข้าไปที่ Settings > Device care > Maintenance Mode เครื่องจะทำการรีบูต สร้างบัญชีใหม่แบบอัตโนมัติเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลได้ทันที   เปิดทดลองใช้ใน Galaxy S21 ในเกาหลีเมื่อเดือนกรกฎาคม ส่วนรุ่นอื่น ๆ คาดว่าจะทยอยเปิดต่อไปในปี 2566   จากสถิติพบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักเก็บข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลบัตรเครดิต ที่อยู่ เบอร์โทร และรูปถ่ายต่าง ๆ ไว้ในเครื่อง เพื่อความสะดวกของตัวเอง แต่บางทีอาจลืมคิดไปว่านั้นเป็นช่องโหว่ที่อาจทำให้คนร้ายดึงข้อมูลของเราไปใช้ได้ง่าย ๆ  …

ForceNet ระบบสื่อสารของกลาโหมออสเตรเลียถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่

Loading

  มีรายงานข่าวว่า ForceNet แพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลของถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่   ทั้งนี้ ยังไม่มีสิ่งบ่งชี้ว่ามีข้อมูลละเอียดอ่อนของกองทัพถูกขโมยไปในระหว่างการโจมตี แต่ข้อมูลบุคลากรของรัฐราว 30,000 – 40,000 ราย อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบด้วย   กระทรวงกลาโหมอยู่ระหว่างตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การโจมตีในครั้งนี้ พร้อมออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่เปลี่ยนรหัสผ่านทั้งหมดด้วย   ขณะเดียวกัน กองบัญชาการทางสัญญาณของออสเตรเลีย (ASD) ซึ่งรับผิดชอบข่าวกรองทางสัญญาณและการรบทางไซเบอร์ได้เคยออกคำเตือนตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายนของปีที่แล้วว่า Sitecore ซอฟแวร์ที่ใช้ในการสร้าง ForceNet มีช่องโหว่ที่เปิดทางให้ผู้ไม่หวังดีเข้าฝังมัลแวร์เพื่อควบคุมจากระยะไกลได้อยู่   ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ออสเตรเลียถูกกระหน่ำโจมตีทางไซเบอร์ อย่างในกรณีของ Medibank ผู้ให้บริการประกันสุขภาพรายใหญ่ก็ถูกแฮกข้อมูลลูกค้าเกือบ 4 ล้านราย ไปจนถึงกรณีของ Optus และ Telstra สองบริษัทด้านโทรคมนาคมใหญ่ที่สุดของประเทศก็ตกเป็นเหยื่อการเจาะข้อมูลเช่นกัน     ที่มา IT PRO       —————————————————————————————————————————————————- ที่มา :             …

“บอริส จอห์นสัน” กลัวหน่วยข่าวกรองลับอังกฤษขายหน้า สั่งปิดข่าวโทรศัพท์ส่วนตัว “ลิซ ทรัสส์” โดนสปายรัสเซียแฮ็ก เชื่อมีความลับสุดยอดรั่วถึงหูปูติน

Loading

  เอเจนซีส์ – โทรศัพท์ส่วนตัวอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ลิซ ทรัสส์ ถูกแฮ็กโดยเอเยนต์ที่เชื่อว่าทำงานให้ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ไปได้สำเร็จ เชื่ออาจมีความลับสุดยอดอังกฤษประเด็นเจรจายูเครน และเรื่องส่วนตัวถูกล้วงออกไปเกิดขึ้นระหว่างการแข่งเลือกผู้นำพรรคคอนเซอร์เวทีฟช่วงหน้าร้อน แต่นายกรัฐมนตรีเวลานั้น บอริส จอห์นสัน ปิดข่าวไว้กลัวชื่อเสียงหน่วยข่าวกรองลับอังกฤษป่นปี้   เดอะซัน สื่ออังกฤษ รายงานวานนี้ (29 ต.ค.) ว่า เป็นการจารกรรมลับบรรลือโลกโดยแหล่งข่าวอ้างว่า สายลับรัสเซียสามารถแฮ็กโทรศัพท์ส่วนตัวของอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ลิซ ทรัสส์ ซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่เธอกำลังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ และเชื่อว่ามีความลับอังกฤษถูกล้วงออกไปได้   โดยในรายงานที่ถูกเปิดเผยคืนก่อนหน้าชี้ว่า ข้อความที่ทรัสส์ ส่งไปให้ชาติมหาอำนาจโลกและรัฐมนตรีอังกฤษคนอื่นๆ ตกอยู่ในมือศัตรู เดลีเมล สื่ออังกฤษ เปิดเผยว่า ความลับรั่วไหลยังรวมไปถึงการสนทนาระหว่างทรัสส์ และอดีตรัฐมนตรีคลังอังกฤษ ควาซี กวาร์เต็ง (Kwasi Kwarteng)   หนึ่งในแหล่งข่าวกล่าวว่า โทรศัพท์ส่วนตัวของทรัสส์นั้นโดนจารกรรมอย่างหนักและในเวลานี้ถูกเก็บไว้ในที่ปลอดภัยในที่ตั้งพิกัดความมั่นคงในหน่วยงานรัฐบาลอังกฤษแล้ว   การจารกรรมโทรศัพท์ของทรัสส์ ถูกพบระหว่างการแข่งขันชิงตำแหน่งผู้นำพรรคคอนเซอร์เวทีฟ หรือพรรคทอรี (Tory) ระหว่างที่เธอกำลังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ แต่ทว่าอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษในเวลานั้น บอริส จอห์นสัน…

กรรมการข้อมูลส่วนบุคคลอังกฤษเตือน การวิเคราะห์อารมณ์ความรู้สึกมีความเสี่ยงสูง ต้องใช้อย่างระวัง

Loading

  สำนักงานกรรมการข้อมูลส่วนบุคคลสหราชอาณาจักร (Information Commissioner’s Office – ICO) ออกแถลงเตือนถึงการใช้ปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์อารมณ์ว่ามีความเสี่ยงสูงยิ่งกว่าการเก็บข้อมูลชีวมาตร (biometric) เสียอีก และหน่วยงานใดที่ต้องการใช้ข้อมูลเหล่านี้ต้องระวัดระวังอย่างมากก่อนเริ่มใช้งาน ไม่เช่นนั้นจะถูก ICO สอบสวน   ข้อมูลอารมณ์ตามนิยามของ ICO กินความหมายกว้าง นับแต่การวิเคราะห์ความรู้สึก (setiment analysis), การตีความใบหน้า, อัตราการเต้นหัวใจ, เหงื่อตามผิวหนัง, หรือการจับจ้อง ปัญหาของกระบวนการเหล่านี้ในมุมมองของ ICO คือกระบวนการพัฒนายังไม่สมบูรณ์และเสี่ยงต่อการเหยียดคนบางกลุ่มเป็นพิเศษ   นอกจากการเตือนถึงการใช้งานข้อมูลอารมณ์แล้ว ICO ยังประกาศว่าจะออกแนวทางการเก็บข้อมูลชีวมาตร เช่น ลายนิ้วมือ, ลักษณะเสียง, หรือข้อมูลใบหน้า ว่ามีแนวทางการใช้งานที่ดีและมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ได้อย่างไรบ้าง เพราะข้อมูลเหล่านี้หากหลุดไปแล้วไม่สามารถเปลี่ยนได้อีกตลอดชีวิต โดยรายงานน่าจะออกมากลางปี 2023   ภาพโดย AbsolutVision ที่มา – ICO     ———————————————————————————————————— ที่มา :         …

นอร์เวย์จับสายลับรัสเซีย ปลอมตัวเป็นนักวิชาการมหาวิทยาลัย

Loading

  หน่วยความมั่นคงนอร์เวย์จับกุมนักวิชาการมหาวิทยาลัยชาวบราซิล ซึ่งเชื่อว่าแท้จริงแล้วเขาเป็น “สายลับรัสเซีย”   เมื่อวันจันทร์ (24 ต.ค.) หน่วยความมั่นคงนอร์เวย์จับกุม โฆเซ แอสซิส เกียมมาเรีย นักวิชาการมหาวิทยาลัยชาวบราซิลซึ่งเป็นนักวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัยทรอมโซทางเหนือของนอร์เวย์ เพราะพบว่าเขาไม่ใช่นักวิชาการ ไม่ใช่ชาวบราซิล แต่เป็น “สายลับจากรัสเซีย”   เฮ็ดวิก โม รองหัวหน้าตำรวจความมั่นคง (PST) กล่าวว่า “เราได้ขอให้มีการขับไล่นักวิจัยชาวบราซิลที่มหาวิทยาลัยทรอมโซออกจากนอร์เวย์ เพราะเราเชื่อว่าเขาเป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ของชาติเรา”     เขาเสริมว่า “หน่วยงานความมั่นคงกังวลว่าเขาอาจได้รับเครือข่ายและข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายต่าง ๆ ของนอร์เวย์ แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่ใช่ภัยคุกคามต่อความมั่นคงของอาณาจักร แต่เรากังวลว่ารัสเซียจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิด”   ด้านเพื่อนร่วมงานของเกียมมาเรีย ศ.กุนฮิลด์ ฮูเกนเซน ยอร์ฟ จากภาควิชาการศึกษาความมั่นคง กล่าวว่า เกียมมาเรียเข้ามาทำงานที่มหาวิทยาลัยเมื่อเดือน ธ.ค. 2021 หลังเขาติดต่อมายังภาควิชาของเธอว่า มีความสนใจในการศึกษาเรื่องความมั่นคงของภูมิภาคอาร์กติก   “เกียมมาเรียติดต่อฉันมาทางอีเมล บอกว่าเขาสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความมั่นคงในภูมิภาคอาร์กติก … มีศาสตราจารย์ในแคนาดาที่ฉันรู้จักให้การแนะนำเขามา และเราก็ได้ตรวจสอบประวัติของเขาด้วย”   ยอร์ฟบอกว่า จากข้อมูลที่ได้มาก เกียมมาเรียสำเร็จการศึกษาจากศูนย์การศึกษาด้านการทหาร…

งามไส้! จับ “พ.ต.ท.-จนท.กระทรวง” ขายข้อมูลคนไทยให้แก๊งคอลฯ ได้เดือนละ 6 แสนบาท

Loading

  งามไส้! จับ “พ.ต.ท.-จนท.กระทรวง” ขายข้อมูลคนไทยให้แก๊งคอลฯ ได้เดือนละ 6 แสนบาท   วันที่ 28 ต.ค.65 ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เมืองทองธานี พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร., พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.วริศร์สิริภ์ ลีละสิริ ผบก.สอท.2, พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองผบก.สอท.1 ร่วมกันเปิดเผยกรณีตรวจพบว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับขบวนการคอลเซ็นเตอร์ โดยได้มีการจับกุมดำเนินคดีไปแล้ว   พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ กล่าวว่า จากปฏิบัติการ “เด็ดปีกมังกร” จับเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาของทาง บช.สอท. สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 16 ราย เป็นกลุ่มรับจ้างเปิดบัญชีม้า 8 ราย กลุ่มรวบรวมบัญชีม้าเพื่อส่งต่อให้นายทุนชาวจีน 1 ราย และกลุ่มที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลผู้เสียหายเพื่อนำไปใช้ในการหลอกลวง 2 ราย   โดยระบุว่า ผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลของผู้เสียหายเพื่อนำไปใช้ในการหลอกลวง…