อาจารย์ฟิสิกส์เตรียมฟ้องกลับเอฟบีไอ หลังโดนมั่วจับกุมว่าเป็น ‘สปาย’ ของทางการจีน

Loading

    อาจารย์ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ผู้เคยโดนกล่าวหาว่าเป็นสายลับให้ทางการจีน ได้สิทธิฟ้องกลับหน่วยงานเอฟบีไอของทางการสหรัฐ ที่กล่าวหาเขาโดยไม่มีมูลความจริง   สีเซียวซิง อาจารย์มหาวิทยาลัยเทมเพิล เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ผู้ซึ่งเคยโดนกล่าวหาว่า ทำหน้าที่เป็นสายลับให้ทางการจีนเมื่อหลายปีก่อน ได้สิทธิในการยื่นฟ้องร้องหน่วยสืบสวนกลางของสหรัฐ ที่กล่าวหาเขาโดยไม่มีหลักฐาน   เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ผู้พิพากษาแห่งศาลอุทธรณ์กลาง ตัดสินให้ สี ชนะการยื่นอุทธรณ์เพื่อขอฟ้องกลับหน่วยงานสืบสวนกลางของสหรัฐ หรือเอฟบีไอ ซึ่งเคยกล่าวหาและจับกุมเขาโดยปราศจากหลักฐานยืนยันข้อเท็จจริง อีกทั้งละเมิดสิทธิของครอบครัวของเขา ขณะบุกเข้าค้นที่พัก ยึดทรัพย์สินและสอดส่องตรวจตราโดยมิชอบด้วยกฎหมาย   เหตุการณ์ละเมิดสิทธิของครอบครัว สี เกิดขึ้นเมื่อปี 2558 ทางเอฟบีไอได้ส่งเจ้าหน้าที่บุกเข้าไปยังบ้านพักของ สี ในฟิลาเดลเฟีย ใช้ปืนข่มขู่และไล่ต้อนคนในครอบครัวของเขา จากนั้นก็จับกุมเขาด้วยข้อหาเกี่ยวกับการฉ้อโกงและจารกรรมทางเศรษฐกิจหลายกระทง แต่กลับยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดในอีกหลายเดือนต่อมา   ในปี 2558 กระทรวงยุติธรรมกล่าวหา สี ซึ่งเป็นนักวิชาการด้านฟิสิกส์ว่า เขาเปิดเผยข้อมูลแผนพิมพ์เขียวของอุปกรณ์ทำความร้อนแบบพกพาให้บุคคลอื่นในประเทศจีน ซึ่งเป็นการผิดข้อตกลงห้ามเผยแพร่ข้อมูลที่เขาเคยเซ็นสัญญาไว้     แต่เมื่อเรื่องไปถึงศาล กลุ่มเพื่อนนักวิชาการฟิสิกส์ซึ่งขึ้นให้การชี้ว่า พิมพ์เขียวดังกล่าวไม่เข้าข่ายตามข้อตกลง เนื่องจากเป็นผลงานการประดิษฐ์ส่วนตัวของเขาเอง ซึ่งตามบันทึกให้การในศาลระบุว่า อุปกรณ์ทำความร้อนแบบพกพาที่ สี คิดขึ้นมานั้น…

นักคิดค้น ‘ขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง’ ของรัสเซีย ถูกกล่าวหาลอบเผยความลับให้จีน

Loading

  ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซียถูกจับกุมในข้อหาขายชาติ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีความเร็วเหนือเสียงอีกสองคนถูกกล่าวหาว่าลักลอบเปิดเผยความลับให้แก่จีน จากการเปิดเผยของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่ได้ข้อมูลมาจากแหล่งข่าวใกล้ชิดเรื่องนี้   รอยเตอร์ระบุว่า อเลกซานเดอร์ ชิปลียุค ผู้อำนวยการสถาบันทฤษฎีและกลศาสตร์ประยุกต์คริสติอาโนวิช หรือ ITAM (Khristianovich Institute of Theoretical and Applied Mechanics) ในไซบีเรีย ต้องสงสัยว่ามอบเอกสารลับให้แก่จีนระหว่างการประชุมด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศจีนเมื่อปี 2017   ผอ.ของ ITAM วัย 56 ปี ยืนยันความบริสุทธิ์ของตนเอง พร้อมระบุว่า ข้อมูลที่เขาส่งมอบให้กับจีนนั้นไม่ใช่ข้อมูลลับและสามารถหาได้ทั่วไปตามอินเทอร์เน็ต อ้างอิงจากแหล่งข่าวซึ่งรอยเตอร์ไม่ขอเปิดเผยชื่อเนื่องจากกังวลด้านความปลอดภัย   ชิปลียุค ถูกจับกุมเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วโดยไม่มีการเปิดเผยถึงข้อกล่าวหาที่มีต่อเขาในตอนนั้น ซึ่งกรณีของชิปลียุคถือเป็นเหตุการณ์ล่าสุดที่มีนักวิทยาศาสตร์รัสเซียหลายคนถูกจับกุมในรอบไม่กี่ปีมานี้จากข้อกล่าวหาว่าลอบเปิดเผยความลับให้รัฐบาลจีน     ดมิทรี เพสคอฟ โฆษกรัฐบาลรัสเซีย กล่าวถึงกรณีนักวิทยาศาสตร์รัสเซียถูกจับกุมว่า หน่วยงานด้านความมั่นคงของรัสเซียติดตามตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการ “ทรยศมาตุภูมิ” โดยตลอด และถือเป็นหน้าที่สำคัญ   และเมื่อรอยเตอร์สอบถามไปยังกระทรวงการต่างประเทศจีนถึงข้อกล่าวหานี้ ได้รับคำตอบว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซียอยู่บนพื้นฐานของการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่เผชิญหน้า และไม่เป็นเป้าหมายของบุคคลที่สาม   ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน เน้นย้ำว่า…

หน่วยข่าวกรองเยอรมนีปวดหัว สายลับรุ่นใหม่ขอ Work From Home

Loading

    หน่วยข่าวกรองเยอรมนีกำลังประสบปัญหาขาดสายลับ หลังสายลับรุ่นใหม่ ๆ ยื่นเงื่อนไขในการทำงานว่า “ต้องสามารถ Work From Home ได้”   สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมหลายอย่างของผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะเรื่องของการทำงานที่หลายคนมีความคุ้นชินกับการทำงานที่บ้าน (Work From Home) หรือการทำงานทางไกล (Remote) มากขึ้น   อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกสายอาชีพที่จะสามารถทำงาน Work From Home ได้ เพราะงานบางอย่างก็ต้องเข้าไปทำในสถานที่ทำงานของตัวเอง หรือบ้างก็ต้องทำงานแบบลงพื้นที่     หนึ่งในนั้นคืออาชีพ “สายลับ” ของหน่วยข่าวกรองประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะต้องคอยแฝงตัว แทรกซึม สืบหาข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติของตัวเอง และปกป้องความมั่นคงของชาติจากภัยคุกคามต่าง ๆ   แต่ที่ประเทศเยอรมนี หน่วยข่าวกรองเยอรมันกำลังประสบปัญหาการรับสมัครสายลับหน้าใหม่ เพราะด้วยวัฒนธรรมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สายลับรุ่นใหม่ยื่นเงื่อนไขในการทำงานว่า “ต้องสามารถ Work From Home ได้”  …

แรงมาแรงกลับ! ติ๊กต็อกยื่นฟ้อง ‘รัฐมอนทานา’ ค้านกม.แบนใช้แอป

Loading

    สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ติ๊กต็อก แอปพลิเคชันแชร์วิดีโอชื่อดังของบริษัทไบต์แดนซ์ ของจีน ได้ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐบาลกลางสหรัฐเพื่อคัดค้านการที่รัฐมอนทานาผ่านร่างกฎหมายแบนไม่ให้ประชาชนของรัฐสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันติ๊กต็อก   การยื่นฟ้องดังกล่าวมีขึ้นหลังเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐมอนทานากลายเป็นรัฐแรกของสหรัฐอเมริกาที่ประกาศผ่านร่างกฎหมายแบนติ๊กต็อก ท่ามกลางกระแสการเรียกร้องจากสมาชิกสภานิติบัญญัติและเจ้าหน้าที่รัฐให้มีการแบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อกทั่วประเทศสหรัฐจากข้อกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลของรัฐบาลจีนที่มีต่อติ๊กต็อก   ส่งผลให้ติ๊กต็อกยื่นฟ้องร้องต่อศาลรัฐบาลกลางสหรัฐในรัฐมอนทานา โดยระบุว่าการแบนดังกล่าวซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม ปี 2024 ได้ละเมิดบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 (First Amendment) ถึงสิทธิเสรีภาพในการพูด และเรียกร้องให้ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐประกาศให้การแบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อกของรัฐมอนทานานั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญและสกัดกั้นไม่ให้รัฐมอนทานามีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว   โฆษกของติ๊กต็อกกล่าวในแถลงการณ์ว่า “เราขอคัดค้านการแบนติ๊กต็อกของรัฐมอนทานาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพื่อปกป้องธุรกิจและผู้ใช้งานติ๊กต็อกหลายแสนคนในรัฐมอนทานา” พร้อมกับระบุอีกว่าเราเชื่อว่าจะได้รับชัยชนะในการยื่นคัดค้านทางกฎหมายจากคำพิพากษาในอดีตและข้อเท็จจริงจำนวนมาก และรัฐมอนทานาได้ออกมาตรการพิเศษที่ไม่เคยมีมาก่อนจากการคาดการณ์ที่ไม่มีมูล พร้อมกับยืนยันในการยื่นฟ้องว่าติ๊กต็อกไม่เคยและจะไม่ส่งข้อมูลของผู้ใช้งานในสหรัฐให้กับรัฐบาลจีน   นายเกร็ก เกียนฟอร์เต ผู้ว่าการรัฐมอนทานาเผยว่าเขาลงนามรับรองกฎหมายการแบนดังกล่าวเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัวของประชาชนในรัฐจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน   ภายใต้กฎหมายการแบนแอปติ๊กต็อกของรัฐมอนทานา แอปเปิลและกูเกิลจะต้องนำแอปติ๊กต็อกออกจากแอปสโตร์ (App store) มิเช่นนั้นจะถูกปรับเป็นเงินสูงถึง 1 หมื่นดอลลาร์ หรือกว่า 3.4 แสนบาทต่อวัน อย่างไรก็ตาม จะไม่มีบทลงโทษต่อผู้ใช้งานติ๊กต็อกและจะไม่มีการห้ามไม่ให้ผู้ที่ใช้งานติ๊กต็อกอยู่ก่อนหน้าเลิกใช้งานแอปดังกล่าว   ด้านทนายความของทางการรัฐมอนทานากล่าวว่า พวกเขาเตรียมที่จะปกป้องการแบนดังกล่าวในชั้นศาล  …

ออสเตรเลียจ่อฟ้อง PwC หลังทำข้อมูลแผนภาษีของรัฐบาลรั่วไหล

Loading

    สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า รัฐบาลออสเตรเลียเตรียมดำเนินการตอบโต้ ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส (PricewaterhouseCoopers หรือ PwC) บริษัทตรวจสอบบัญชีชื่อดังระดับโลก ภายหลังการตรวจสอบพบว่า PwC ทำแผนภาษีของรัฐบาลรั่วไหล   รัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งเป็นลูกค้าของ PwC ประเทศออสเตรเลีย (PwC Australia) กล่าวหาว่า PwC ได้แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีฉบับใหม่ให้กับลูกค้าของ PwC ซึ่งการกระทำดังกล่าว ถือเป็นการละเมิดความไว้วางใจครั้งใหญ่ และรัฐบาลเตรียมจะส่งเรื่องนี้ให้กับสำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย (AFP) เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป   นายสตีเฟน โจนส์ (Stephen Jones) ผู้ช่วยรัฐมนตรีคลังและรัฐมนตรีฝ่ายบริการด้านการเงินของออสเตรเลีย เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังกำลังสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และกำลังพิจารณาว่าควรส่งข้อกล่าวหาทางอาญานี้ไปให้กับสำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลียหรือไม่   ในขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติบางคน เรียกร้องไม่ให้รัฐบาลออสเตรเลียทำสัญญาใด ๆ เพิ่มเติมอีกกับบริษัทตรวจสอบบัญชีรายนี้ รวมถึงนายจิม ชาลเมอร์ส (Jim Chalmers) รัฐมนตรีว่าการกระทวงการคลังออสเตรเลียที่ระบุว่า “นี่เป็นเรื่องที่ไม่สามารถให้อภัยได้”   แม้ว่า นายทอม ซีมอร์ (Tom Seymour)…

ศาลสหรัฐเผย “เอฟบีไอ” สอดแนมการสื่อสารส่วนตัวของคนอเมริกันเป็นประจำ

Loading

    เอกสารจากศาลเเสดงการสอดแนมข่าวกรองต่างประเทศ (ฟีซา) เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) มักละเมิดความเป็นส่วนบุคคลของชาวอเมริกัน ด้วยการลักลอบเข้าถึงฐานข้อมูล เพื่อค้นหาชื่อของเหยื่ออาชญากรรม และผู้เข้าร่วมการประท้วง   สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ว่า ฐานข้อมูลดังกล่าว ซึ่งเอฟบีไอเข้าถึงราว 278,000 ครั้ง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประกอบด้วยอีเมลส่วนตัว, ข้อความ และการสื่อสารอื่น ๆ ที่สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (เอ็นเอสเอ) ใช้ค้นหา เมื่อมีการสอดแนมชาวต่างชาติ   ถึงแม้ว่าเอฟบีไอควรเข้าถึงฐานข้อมูลของเอ็นเอสเอ เฉพาะเมื่อมีการสืบสวนปัญหาข่าวกรองต่างประเทศ แต่ความคิดเห็นของศาล แสดงให้เห็นว่า พวกเขาใช้ฐานข้อมูลนี้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสอบสวนคดีภายในประเทศด้วย ซึ่งในบางกรณี มันไม่มีข่าวกรองต่างประเทศ หรืออาชญากรรมในประเทศ ที่เป็นเหตุผลรองรับ ให้เอฟบีไอใช้สิทธิเข้าถึงฐานข้อมูลได้   อนึ่ง เอกสารข้างต้นถูกเผยแพร่ ขณะที่สภาคองเกรสกำลังอภิปราย เรื่องการต่ออายุมาตรา 702 ซึ่งเป็นกฎหมายที่อนุญาตให้เอ็นเอสเอ สามารถเข้าถึงบัญชีอินเทอร์เน็ตที่มีสหรัฐเป็นเจ้าของ เพื่อสอดแนมเป้าหมายข่าวกรองต่างประเทศ โดยสมาชิกสภาหลายคนกล่าวว่า มาตราข้างต้น…