จำคุก 1 ปีหญิงออสเตรเลีย โกหก’resume’เพื่อให้ได้งานดีๆ

Loading

ซีเอ็นเอ็น – ผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งให้ข้อมูลเท็จใน Resume (เอกสารสรุปข้อมูลส่วนตัว และประวัติการทำงานของผู้สมัครงานเพื่อใช้ประกอบการสมัครงาน) เพื่อให้ได้งานที่มีค่าตอบแทนระดับสูงในรัฐบาลท้องถิ่นแห่งหนึ่งของออสเตรเลีย ถูกพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 1 ปี เวโรนิกา ฮิลดา เทริโอ ถูกพิพากษาเมื่อวันอังคาร (3 ธ.ค.) ว่ามีความผิดฐานหลอกลวง, ไม่ซื่อสัตย์และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในคดีที่เธอยื่นใบสมัครในตำแหน่งหัวหน้ากองสารสนเทศของรัฐบาลท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ซึ่งมีเงินเดือนปีละ 270,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 5.5 ล้านบาท) ทรูโด ทำงานในตำแหน่งดังกล่าว สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย เป็นเวลากว่า 1 เดือนและรับเงินราวๆ 33,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 6.8แสนบาท) ก่อนถูกไล่ออก ทั้งนี้เธอยอมรับผิดทุกข้อกล่าวหาและต้องชดใช้โทษด้วยการถูกจำคุกเป็นเวลา 25 เดือน โดยจะไม่มีสิทธิ์ได้รับทัณฑ์บนเป็นเวลา 1 ปี ระหว่างการพิจารณาคดี ศาลได้รับฟังว่าเธอยื่นเรซูเมฉบับปั่นแต่งไปยังกระทรวง โดยให้ข้อมูลปลอมๆเกี่ยวกับการศึกษาและประวัติการทำงานที่ผ่านมา และหลังจากถูกเรียกไปสัมภาษณ์แล้ว เธอยังแอบอ้างเป็นอดีตนายจ้างของตนเองระหว่างถูกตรวจสอบประวัติการทำงานจากบุคคลอ้างอิงอีกด้วย (reference check) ซึงเธอให้การรับรองผลงานของตนเองว่า “ยอดเยี่ยม” อย่างไรก็ตามการโกหกไม่จบแค่นั้น ศาลยังได้รับฟังอีกว่า เทริโอ…

แนวทางปฏิบัติการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล

Loading

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2552 หมวด 4 การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล ข้อ 24 – ข้อ 32 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐกำหนดมาตรการสำหรับใช้ปฏิบัติกับผู้ที่อยู่ระหว่างรอว่าจ้าง บรรจุ หรือแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ที่จะได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ หรือให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่สำคัญ หรือทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล (2) รับรองความไว้วางใจบุคคลเพื่อให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ แนวทางปฏิบัติการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2553 โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ 1. หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการเอง ดังต่อไปนี้ 1.1 ให้ผู้ถูกตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคลกรอกรายละเอียดในแบบประวัติบุคคล (รปภ.1) 1.2 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทำหนังสือถึงหัวหน้าสถานีตำรวจนครบาล หรือหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรที่ผู้ถูกตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคลมีภูมิลำเนาอยู่ เพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือส่งให้กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบพิมพ์ลายนิ้วมือและประวัติอาชญากร 1.3…

กฎหมายและระเบียบราชการเกี่ยวกับข้อมูลประวัติการกระทำความผิดหรือเคยได้รับโทษ

Loading

          ความชัดเจนของข้อมูลประวัติส่วนบุคคลนับว่ามีส่วนสำคัญสำหรับการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคม เพราะหากพบข้อมูลประวัติว่าเคยกระทำความผิดหรือเคยได้รับโทษตามกฎหมายแล้ว ข้อมูลดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อผู้เป็นเจ้าของประวัติในแง่ใดแง่หนึ่ง เมื่อต้องนำมาใช้ประกอบการพิจารณา อย่างเช่น การบรรจุ แต่งตั้ง หรือว่าจ้างให้เข้ามาปฏิบัติงาน โดยเฉพาะในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีหลักการใช้ดุลพินิจถึงคุณสมบัติหรือความมีศีลธรรมอันดีตามแต่ที่หน่วยงานของรัฐนั้นกำหนดไว้เป็นการภายใน ถึงแม้จะมีการเอื้อโอกาสในทางกฎหมายและระเบียบราชการสำหรับผู้มีประวัติฯ ก็ตาม        กฎหมายและระเบียบราชการที่สำคัญ ซึ่งเอื้อโอกาสสำหรับผู้มีประวัติการกระทำความผิดตามกฎหมายหรือถูกพิพากษาให้ได้รับโทษ ได้แก่         1. พระราชบัญญัติล้างมลทิน จากขบวนการกระทำความผิดกฎหมาย วินัยทางราชการ จนกระทั่งได้รับการพิจารณา พิพากษาลงโทษนั้น สามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ         ส่วนแรก คือ การกระทำความผิดจนถูกพิจารณาลงโทษ         ส่วนหลัง คือ การได้รับโทษตามกฎหมายหรือพ้นโทษมาแล้ว หรือถูกลงโทษจากความผิดต่าง ๆ…