แนวทางปฏิบัติการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล

Loading

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2552 หมวด 4 การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล ข้อ 24 – ข้อ 32 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐกำหนดมาตรการสำหรับใช้ปฏิบัติกับผู้ที่อยู่ระหว่างรอว่าจ้าง บรรจุ หรือแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ที่จะได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ หรือให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่สำคัญ หรือทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล (2) รับรองความไว้วางใจบุคคลเพื่อให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ แนวทางปฏิบัติการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2553 โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ 1. หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการเอง ดังต่อไปนี้ 1.1 ให้ผู้ถูกตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคลกรอกรายละเอียดในแบบประวัติบุคคล (รปภ.1) 1.2 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทำหนังสือถึงหัวหน้าสถานีตำรวจนครบาล หรือหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรที่ผู้ถูกตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคลมีภูมิลำเนาอยู่ เพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือส่งให้กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบพิมพ์ลายนิ้วมือและประวัติอาชญากร 1.3…

กฎหมายและระเบียบราชการเกี่ยวกับข้อมูลประวัติการกระทำความผิดหรือเคยได้รับโทษ

Loading

          ความชัดเจนของข้อมูลประวัติส่วนบุคคลนับว่ามีส่วนสำคัญสำหรับการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคม เพราะหากพบข้อมูลประวัติว่าเคยกระทำความผิดหรือเคยได้รับโทษตามกฎหมายแล้ว ข้อมูลดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อผู้เป็นเจ้าของประวัติในแง่ใดแง่หนึ่ง เมื่อต้องนำมาใช้ประกอบการพิจารณา อย่างเช่น การบรรจุ แต่งตั้ง หรือว่าจ้างให้เข้ามาปฏิบัติงาน โดยเฉพาะในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีหลักการใช้ดุลพินิจถึงคุณสมบัติหรือความมีศีลธรรมอันดีตามแต่ที่หน่วยงานของรัฐนั้นกำหนดไว้เป็นการภายใน ถึงแม้จะมีการเอื้อโอกาสในทางกฎหมายและระเบียบราชการสำหรับผู้มีประวัติฯ ก็ตาม        กฎหมายและระเบียบราชการที่สำคัญ ซึ่งเอื้อโอกาสสำหรับผู้มีประวัติการกระทำความผิดตามกฎหมายหรือถูกพิพากษาให้ได้รับโทษ ได้แก่         1. พระราชบัญญัติล้างมลทิน จากขบวนการกระทำความผิดกฎหมาย วินัยทางราชการ จนกระทั่งได้รับการพิจารณา พิพากษาลงโทษนั้น สามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ         ส่วนแรก คือ การกระทำความผิดจนถูกพิจารณาลงโทษ         ส่วนหลัง คือ การได้รับโทษตามกฎหมายหรือพ้นโทษมาแล้ว หรือถูกลงโทษจากความผิดต่าง ๆ…

แบบประวัติบุคคล สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (รปภ.สขช.1) และหลักฐานที่ยื่นในวันสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

Loading

สำหรับผู้ที่มีสิทธิเข้าสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งประเภทวิชาการและตำแหน่งประเภททั่วไป ตามประกาศสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ลงวันที่ 5 ต.ค.2561 ดาวน์โหลดแบบประวัติบุคคล สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (รปภ.สขช.1)       คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด พิมพ์ รปภ.สขช.1 ออกมากรอกรายละเอียดด้วยลายมือให้ครบถ้วน (ยังไม่ต้องลงลายมือชื่อใน รปภ.สขช.1) โดยให้เขียนตำแหน่งที่สอบพร้อมเลขประจำตัวสอบไว้ที่มุมขวาบนของ รปภ.สขช.1 (เฉพาะหน้าแรก) และนำ รปภ.สขช.1 ที่กรอกรายละเอียดแล้วมายื่นในวันสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (วันเข้ารับการสอบสัมภาษณ์)     ผู้เข้าสอบจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้มายื่นในวันสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (วันเข้ารับการสอบสัมภาษณ์) 1.ใบสมัครที่พิมพ์จากอินเทอร์เน็ต ให้ติดรูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก และไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไม่เกิน 1 ปี ขนาด 1×1.5 นิ้ว จำนวน 1 รูป (เขียนชื่อ-สกุล และเลขประจำตัวสอบหลังรูป) ลงลายมือชื่อในใบสมัครให้ครบถ้วน 2.สำเนาปริญญาบัตร/สำเนาประกาศนียบัตร คุณวุฒิตามตำแหน่งที่สมัครสอบ และ/หรือ สำเนาระเบียนแสดงผลการศึกษา (Transcript of Records) ที่แสดงว่าเป็นผู้มีคุณวุฒิทางการศึกษาตรงตามประกาศรับสมัครโดยต้องสำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติภายในวันปิดรับสมัคร (วันปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ 8…