ขั้นตอนเพื่อเตรียมข้อมูลสำหรับการวางมาตรการ การรักษาความปลอดภัยสถานที่

Loading

ก่อนการดำเนินการวางมาตรการการรักษาความปลอดภัยสถานที่ภายในแต่ละหน่วยงานของรัฐจำเป็นต้องสำรวจตรวจสอบ เพื่อให้ได้ทราบถึงข้อมูลข่าวสารด้านต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับจุดอ่อน ข้อขัดข้อง หรือความบกพร่องในด้านต่างๆ โดยจะนำมาศึกษาทบทวน เพื่อหาแนวทางวางมาตรการที่เหมาะสม รัดกุม และมีประสิทธิภาพ การสำรวจตรวจสอบสำหรับการวางมาตรการการรักษาความปลอดภัยสถานที่ของหน่วยงานของรัฐนั้น ควรดำเนินการทุกครั้งที่มีการปรับเปลี่ยนที่ทำการ ก่อสร้างขึ้นใหม่ นอกจากนี้ หน่วยงานของรัฐควรกำหนดห้วงเวลา เช่น ทุก ๖ เดือน หรือ ๑ ปี ให้ส่วนงานรักษาความปลอดภัยทำการสำรวจตรวจสอบ เพื่อทบทวนหรือหาข้อบกพร่องของมาตรการที่กำหนดไว้ เพื่อสรุปเป็นรายงานเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณา เพราะโดยพื้นฐานในแต่ละหน่วยงานของรัฐย่อมมีความแตกต่างจากกันอยู่แล้ว ทั้งในด้านระดับความสำคัญ พื้นที่ตั้ง สภาพแวดล้อม และหน้าที่ความรับผิดชอบ ขั้นที่หนึ่ง : รวบรวมและศึกษาข้อมูลข่าวสาร ตรวจสอบความเป็นจริงของข้อมูลข่าวสารจากรายงานที่ได้เคยจัดทำไว้แต่เดิม และข้อมูลเกี่ยวกับความบกพร่องด้านการรักษาความปลอดภัยสถานที่ที่เคยเกิด ทั้งภายในพื้นที่ทำการและพื้นที่บริเวณใกล้เคียงโดยรอบของหน่วยงานของรัฐ เช่น รายงานเกี่ยวกับการโจรกรรม เหตุเพลิงไหม้ หรือเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานไม่ค่อยตระหนักถึงความ สำคัญของการรักษาความปลอดภัย ตลอดจนสภาพสังคมและอุปนิสัยโดยรวมของประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณนี้ เช่น มีย่านชุมชนแออัดอยู่ใกล้เคียง หรือแหล่งลักลอบค้ายาเสพติด บ่อนการพนัน สถานเริงรมย์ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้นับว่ามีความสำคัญสำหรับนำมาใช้ประกอบการวางมาตรการการรักษาความปลอดภัยสถานที่ เพราะจะทำให้สามารถวางแผนการรักษาความปลอดภัยสถานที่ ให้รองรับภัยอันตรายได้อย่างถูกต้องเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ขั้นที่สอง : สำรวจพื้นที่และอาคารสถานที่ที่จะวางมาตรการการรักษาความปลอดภัยโดยละเอียด…

กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่รักษาความปลอดภัย

Loading

เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับกลุ่มบุคคล และหน้าที่ที่แต่ละกลุ่มจะต้องกระทำในการรักษาความปลอดภัยสถานที่ขณะเข้ามาอยู่ในพื้นที่ของหน่วยงาน จึงแบ่งประเภทของบุคลออกเป็นกลุ่มดังนี้ ๑. ผู้ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสถานที่ ๑.๑ เจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัย เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายและมีอำนาจดำเนินการแทนหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสถานที่ภายในหน่วยงาน ๑.๒ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย คือ เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุม ดูแลการรักษาความปลอดภัยตามระเบียบปฏิบัติที่แต่ละหน่วยงานของรัฐกำหนดขึ้น และอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัย ประกอบด้วย ๑) เจ้าหน้าที่ส่วนงานรักษาความปลอดภัยประจำหน่วยงานของรัฐนั้น ๒) เจ้าหน้าที่จากส่วนงานอื่นที่ได้รับมอบหมายภารกิจรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอีกหน้าที่หนึ่ง ซึ่งการมอบหมายนี้ต้องออกเป็นคำสั่งภายใน โดยหัวหน้าหน่วยงานมอบให้เจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัยเป็นผู้ดำเนินการแทน ๑.๓ ยามรักษาการณ์ ได้แก่ ๑) ลูกจ้างประจำภายในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งประจำที่กำหนดให้ทำหน้าที่ยามรักษาการโดยเฉพาะ ๒) พนักงานจากบริษัทรักษาความปลอดภัยเอกชน ซึ่งหน่วยงานของรัฐจัดจ้าง ๓) สำหรับหน่วยงานความมั่นคงของชาติ ควรขอรับการสนับสนุนกำลังจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายสามารถทำการตรวจค้นหรือเข้าควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นมาดำเนินการต่อไป ๒. ผู้ที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบการรักษาความปลอดภัยสถานที่ภายในหน่วยงาน ๒.๑ เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานของรัฐนั้น ๒.๒ ผู้มาปฏิบัติงานภายในพื้นที่หน่วยงานของรัฐ แบ่งออกเป็น ๑) ผู้ปฏิบัติงานประจำ เช่น บุคคลที่ได้รับการว่าจ้างจากหน่วยงานของรัฐให้เข้ามาปฏิบัติงาน พนักงานทำความสะอาดจากบริษัทเอกชน ผู้ประกอบการร้านอาหาร ๒) ผู้เข้ามาปฏิบัติงานชั่วคราว เช่น คนงานก่อสร้าง พนักงานซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์หรือสาธารณูปโภค นักเรียนนักศึกษาที่เข้ามารับการฝึกงาน ๒.๓…