‘สนามบินหัวหิน’ จะฟื้นหรือไม่? ‘แอร์เอเชีย’ บินตรงจากกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย

Loading

โดย: กิตตินันท์ นาคทอง เมื่อไม่นานมานี้ สายการบินแอร์เอเชียมาเลเซีย ประกาศว่าจะเปิดเส้นทางใหม่ ‘กัวลาลัมเปอร์ – หัวหิน’ ไป-กลับ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป ทุกวันอาทิตย์ จันทร์ พุธ และศุกร์ รวม 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ แต่กว่าจะผ่านจุดนี้ไปได้ ก็ต่อรองกันเยอะพอสมควร เหมือนไปซื้อของที่จีนแล้วต้องต่อราคาให้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ย้อนกลับไปเมื่อ 18 กรกฎาคม 2560 สายการบินแอร์เอเชียมาเลเซีย แจ้งความประสงค์ขอเปิดเส้นทางบิน กัวลาลัมเปอร์ – หัวหิน ในตอนนั้น แอร์เอเชียก็ขอโน่นขอนี่ไปพอสมควร ทั้งขอเพิ่มเคาน์เตอร์ ขออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และยังกล่าวอีกว่า อีก 2 ปีข้างหน้า มีแผนจะเปิดทำการบินภายในประเทศ และระหว่างประเทศมาที่หัวหินเพิ่มเติม เช่น เชียงใหม่ มาเก๊า สิงคโปร์ ปีนัง จาการ์ตา ฯลฯ ต่อมา 13 กันยายน 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน…

เปิดตัว “ชัวร์แล้วแชร์ได้” ให้ชาวเน็ตแจ้งเบาะแส “ข่าวลือ-ข่าวลวง” ผ่านสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

Loading

ร่วมแจ้งเบาะแสข่าวจริง-ข่าวลือ-ข่าวรวม เพื่อให้สมาชิก 18 สำนักข่าวร่วมตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ www.sonp.or.th สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดตั้งโครงการ “ชัวร์แล้วแชร์ได้” ให้สมาชิก 18 สำนักข่าวช่วยตรวจสอบ คัดกรอง ข้อมูลบนโลกออนไลน์ พร้อมเปิดโอกาสให้ชาวเน็ตส่งข้อมูลข่าวจริง ข่าวเท็จ ข่าวลือ มาให้ช่วยตรวจสอบ วันนี้ (5 เม.ย.) นายก้าวโรจน์ สุตาภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เปิดเผยว่า สมาคมฯ ได้จัดตั้งโครงการ “ชัวร์แล้วแชร์ได้” เพื่อช่วยตรวจสอบ คัดกรอง ข้อมูลบนโลกออนไลน์ว่าเป็นข่าวจริง ข่าวลวง ข่าวลือ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องรวมถึงสามารถนำไปเผยแพร่และใช้อ้างอิงต่อไปได้ โดยมี บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้การสนับสนุน ทั้งนี้ ในปัจจุบันที่สื่อออนไลน์มีบทบาทต่อผู้บริโภคข่าวสารอย่างมาก เนื่องจากผู้บริโภคมีช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้จากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ เว็บไซต์ไปจนถึงการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรืออื่นๆ ซึ่งข้อมูลข่าวสารต่างๆที่มีอยู่มีทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถรับข้อมูลที่ถูกต้องทางสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจากองค์สื่อ…

ทอท.ป่วน! เว็บไซต์ 6 สนามบินล่ม เหตุเลิกสัญญาเอกชนแต่ไม่มีมาตรการรองรับ

Loading

  รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ได้เกิดปัญหาระบบอินเทอร์เน็ต www.airportthai.co.th ของบริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ล่ม ทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถเข้าระบบ Log in internet สนามบินทั้ง 6 แห่ง คือ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ เชียงราย ได้ ซึ่งนอกจากจะไม่สามารถตรวจเช็กตารางเที่ยวบินของสนามบินทั้ง 6 แห่งได้แล้ว ผู้โดยสารยังไม่สามารถใช้งาน Wi-Fi ภายในสนามบินได้อีกด้วย ทั้งนี้ รายงานข่าวแจ้งว่า สาเหตุเกิดจาก นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.ได้เห็นชอบในการยกเลิกสัญญาสัมปทานบริษัทที่ดูแลหน้า page การเข้า log in Wi-Fi ของ ทอท.โดยไม่มีการเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ไว้ก่อน จึงส่งผลให้ ระบบอินเทอร์เน็ตของ ทอท.ไม่สามารถ log in เข้าได้ทุกสนามบิน ขณะที่ช่วงค่ำ ทอท.ออกประกาศแจ้งต่อผู้โดยสารว่า ขณะนี้เว็บไซต์ www.airportthai.co.th ของ…

เบาะแสจาก แอปเปิลวอทช์ อาจช่วยไขคดีฆาตกรรม

Loading

  ตำรวจออสเตรเลียได้ยื่นข้อมูลจากนาฬิกา แอปเปิลวอทช์ เป็นหลักฐานต่อศาลในการไต่สวนคดีฆาตกรรม เมอร์นา นิลส์สัน วัย 57 ปี สวมใส่นาฬิกาดังกล่าวในขณะที่เธอถูกฆ่าเมื่อปี 2016 ลูกสะใภ้ของเธอ แคโรไลน์ นิลส์สัน ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จัดฉากการบุกเข้าทำร้ายครั้งนั้น หลังจากอ้างว่าตัวเองถูกจับมัดมือเอาไว้โดยชายกลุ่มหนึ่งที่บุกเข้ามาในบ้านของพวกเธอ แต่ข้อมูลจากนาฬิกาสมาร์ทวอทช์ ชี้ให้เห็นว่าเธอถูกลอบทำร้ายขณะที่เธอเพิ่งก้าวเข้าบ้าน และเสียชีวิตเร็วกว่าในคำให้การของลูกสะใภ้ของเธอถึง 1 ชั่วโมง       “การซุ่มทำร้าย” ตามการรายงานของ เอบีซี นิวส์ นิลส์สันบอกกับตำรวจว่า แม่สามีโต้เถียงกับชายกลุ่มหนึ่งอยู่ข้างนอกบ้านประมาณ 20 นาที แต่นิลส์สันไม่ได้ยินเสียงขณะที่เธอถูกทำร้ายเพราะอยู่ในห้องครัวซึ่งประตูปิดอยู่ เพื่อนบ้านโทรแจ้งตำรวจในเวลาต่อมา เมื่อเห็นนิลส์สันเดินออกมาจากบ้านหลังเวลา 22:00 น. โดยถูกปิดปากและมีท่าทางไม่สู้ดี นิลส์สัน บอกว่าผู้ร้ายได้มัดเธอเอาไว้และเธอหนีออกจากบ้านมาได้ทันทีที่พวกเขาจากไปแล้ว แต่ คาร์เมน มัตเตโอ อัยการของคดีนี้ กล่าวว่าหลักฐานจากนาฬิกาของเหยื่อบ่งชี้ว่า นิลส์สัน เป็นผู้จัดฉากการบุกรุกบ้านของเธอเอง ร่างของหญิงวัย 57 ปีถูกพบในห้องซักรีดในบ้านย่านวัลเลย์ วิว ของเธอในบริเวณชานเมืองของแอดิเลด เมืองหลวงของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย    …

เอสโตเนียตรวจสุขภาพถึงระดับดีเอ็นเอให้ประชาชนฟรีแห่งแรกของโลก

Loading

รัฐบาลเอสโตเนียเริ่มดำเนินโครงการดูแลสุขภาพพลเมือง โดยให้บริการตรวจวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมฟรีแล้วในเดือนนี้ ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะทำให้ประชาชนทุกคนได้รับการตรวจดีเอ็นเอโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และจะได้รับคำแนะนำในการดูแลรักษาสุขภาพจากผลวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมของตนเองอย่างละเอียดด้วย โครงการนำร่องในระยะแรกจะให้บริการตรวจดีเอ็นเอฟรีกับประชาชน 1 แสนคน หรือราว 1 ใน 10 ของประชากรทั้งประเทศที่มีอยู่ 1.3 ล้านคน โดยถือเป็นชาติแรกของโลกที่ให้บริการสาธารณสุขในลักษณะนี้กับพลเมืองอย่างถ้วนหน้า ข้อมูลทางพันธุกรรมของชาวเอสโตเนียแต่ละคน จะถูกนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลยีนกลายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคหลายแสนตัว เพื่อให้ทราบว่าแต่ละคนมีความเสี่ยงทางสุขภาพในด้านใดบ้าง จากนั้นข้อมูลนี้จะถูกบันทึกไว้ในแฟ้มรายงานข้อมูลพันธุกรรมส่วนบุคคล ซึ่งจะเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศสุขภาพแห่งชาติเอสโตเนีย (ENHIS) ในอนาคต ชาวเอสโตเนียที่ผ่านการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอแล้ว สามารถนำข้อมูลที่ได้เข้าปรึกษากับแพทย์ประจำครอบครัว เพื่อขอคำแนะนำเรื่องสุขภาพและวิถีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ตนมีความเสี่ยงสูงตามที่ข้อมูลพันธุกรรมได้บ่งชี้เอาไว้ เช่นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคอัลไซเมอร์ ในขณะเดียวกัน แพทย์ผู้ทำการรักษาบุคคลดังกล่าวในอนาคต ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลพันธุกรรมนี้ได้โดยสะดวกจากระบบสารสนเทศกลาง ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก นับแต่ปี 2000 เป็นต้นมา เอสโตเนียได้เริ่มเก็บข้อมูลพันธุกรรมของประชาชนเข้าใน “ธนาคารชีวภาพ” (Biobank) ไปแล้ว 50,000 ราย ทางการหวังว่าโครงการนำร่องตรวจวิเคราะห์ข้อมูลพันธุกรรมของพลเมืองในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มทรัพยากรข้อมูลพันธุกรรมในธนาคารชีวภาพขึ้นอีกอย่างน้อย 3 เท่า และสามารถเก็บข้อมูลพันธุกรรมของประชากรทั้งประเทศได้ในอีกหลายปีข้างหน้า ก่อนหน้านี้เอสโตเนียเป็นประเทศขนาดเล็กในแถบยุโรปเหนือที่ขึ้นชื่อเรื่องความก้าวล้ำนำสมัยของนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมุ่งพัฒนาตนเองให้เป็นสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โครงการล่าสุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการยกเครื่องระบบสาธารณสุขให้มีความทันสมัย และสามารถให้การดูแลรักษาสุขภาพที่เหมาะสมที่สุดกับแต่ละบุคคลได้ มีหลายประเทศที่รัฐให้บริการตรวจดีเอ็นเอฟรีแก่ประชาชนเช่นกัน โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันสุขภาพหรือโครงการธนาคารชีวภาพ เช่นในสหราชอาณาจักร ไอซ์แลนด์…