อดีต จนท.เพนตากอน เตือน ‘กูเกิ้ล’ กำลังก้าวเข้าสู่ ‘ภาวะอันตรายด้านศีลธรรม’

Loading

FILE – The logo of Google is pictured during the Viva Tech startup and technology summit in Paris, France, May 25, 2018. อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงกลาโหม หรือ เพนตากอน ตั้งคำถามด้านศีลธรรมกับบริษัทกูเกิ้ล (Google) ในการไม่ต่อสัญญากับโครงการพัฒนาโดรนตรวจจับกับเพนตากอน นายบ็อบ เวิร์ค อดีตรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม บอกว่า พนักงานกูเกิลกำลังเดินหน้าเข้าสู่ภาวะอันตรายด้านศีลธรรมเสียเอง หลังจากกูเกิลประกาศเมื่อต้นเดือนมิถุนายนว่า จะไม่ต่อสัญญากับเพนตากอน ในโครงการ Project Maven ที่ใช้ศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในการตรวจจับและระบุเอกลักษณ์จากภาพที่บันทึกได้จากโดรน พร้อมกันนี้ นายเวิร์ค มองว่า ท่าทีของกูเกิ้ลแฝงเจตนาอื่น เนื่องจากตอนนี้กูเกิ้ลมีโครงการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในประเทศอื่น รวมทั้งจีน ทั้งนี้ การถอนตัวจากโครงการ Project Maven ที่กูเกิ้ลทำสัญญาพัฒนาโครงการกับเพนากอนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014-2017…

กสทช.ยอมรับ WiFi ป่วน! กระทบบีทีเอส ระบบขัดข้อง

Loading

  รถไฟฟ้าบีทีเอสระบบอาณัติสัญญาณขัดข้องต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการในชั่วโมงเร่งด่วน กทสช.ระบุสาเหตุระบบขัดข้องเพราะสัญญาณไวไฟรบกวน แนะสร้างระบบป้องกัน และเปลี่ยนคลื่นความถี่ เพื่อไม่เกิดปัญหานี้ซ้ำซาก วันนี้ (26 มิ.ย.2561) ระบบเดินรถ BTS เกิดปัญหาขัดข้องอีกครั้ง ชวนให้สงสัยว่าความขัดข้องนั้นเกิดจากอะไร จะใช่คลื่นสัญญาณมือถือรบกวนหรือไม่ ? ตรวจสอบข้อมูลกับนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. พบคลื่นรบกวนนั่นคือ สัญญาณไวไฟ ทำไมสัญญาณไวไฟถึงรบกวน BTS ได้ ? เพราะ BTS ใช้คลื่น 2400 MHz ควบคุมระบบเดินรถ และสั่งการระหว่างกัน และ BTS ไม่ได้สร้างระบบป้องกันการโดนรบกวน ไวไฟที่ไหนรบกวน BTS ? ต้องตรวจสอบว่าเป็นไวไฟของใครมาจากแหล่งไหนกันบ้าง เพราะไวไฟ ย่าน 2400 MHz หน่วยงานไหน คนทั่วไปก็ใช้กันได้ กับโดรน (อากาศยานไร้คนขับ) ก็ใช้ เพราะเป็นคลื่นที่ กสทช.อนุญาตและจัดสรรไว้สำหรับให้ใช้แบบสาธารณะได้อยู่แล้ว แต่หน่วยงาน/องค์กรนั้นๆ ต้องขออนุญาตการใช้ ซึ่งแน่นอนว่าในปัจจุบัน…

อเมริกาจะส่งผู้เชี่ยวชาญของเอฟบีไอไปสืบเหตุระเบิดในเอธิโอเปีย

Loading

  เอเจนซีส์ – สื่อของทางการเอธิโอเปีย ระบุในวันจันทร์ (25 มิ.ย.) ว่าสหรัฐอเมริกาจะส่งทีมผู้เชี่ยวชาญของเอฟบีไอไปเอธิโอเปีย เพื่อช่วยสืบเหตุระเบิดระหว่างการชุมนุมของผู้สนับสนุน อาบี อาเหม็ด นายกรัฐมนตรีคนใหม่ เหตุระเบิดเกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ ตอนที่อาบีเสร็จสิ้นการกล่าวปราศรัยกับฝูงชนที่มาให้การสนับสนุน เหตุการณ์นี้ทำให้มีการจับกุมผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง 30 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตจากการระเบิดมี 2 ราย บาดเจ็บ 156 ราย นอกจากนี้ยังมีตำรวจถูกควบคุมตัว 9 ราย เนื่องจากหละหลวมในการรักษาความปลอดภัย “รัฐบาลสหรัฐฯ แจ้งว่า กำลังส่งผู้เชี่ยวชาญของเอฟบีไอมาที่นี่” สำนักข่าว FBC ของทางการเอธิโอเปียระบุ สื่อเอธิโอเปียยังบอกด้วยว่า รัฐมนตรีช่วยกระทรวงพาณิชย์ กิลเบิร์ต แคปแลน ได้ยื่นข้อเสนอนี้ระหว่างการพูดคุยกับ เวิร์คเนห์ เกเบเยฮู รัฐมนตรีต่างประเทศของเอธิโอเปีย เบื้องต้นยังไม่มีการยืนยันเรื่องนี้จากสถานทูตสหรัฐฯ ในเอธิโอเปีย รวมถึงจากทางวอชิงตัน อย่างไรก็ตาม เอธิโอเปียเป็นหนึ่งในพันธมิตรหลักของสหรัฐฯ ในภูมิภาคแอฟริกา โดยเฉพาะในการต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธที่โซมาเลีย นอกจากนี้ ทางเจ้าหน้าที่ของเอธิโอเปียยังไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะว่าใครเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดในครั้งนี้ อาบีขึ้นมาครองอำนาจในเดือนเมษายน พร้อมกับรับปากจะนำความโปร่งใสมาสู่รัฐบาลของเขา รวมทั้งการประนีประนอมกันภายในชาติ หลังจากที่เผชิญความไม่สงบทางการเมืองมาตั้งแต่ปี 2015…

Adobe พัฒนา AI ที่บอกได้ว่ารูปไหนผ่านการตัดต่อมา

Loading

  นอกจาก Facebook,Twitter และ Google จะพยายามต่อสู้กับการเสนอข่าวที่ไม่มีมูลความจริง และการให้ข้อมูลที่ผิดๆ ในโซเชียลมีเดีย จากการที่ผู้ใช้งานแชร์เนื้อหาที่น่าตกใจ และกลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์โดยที่ไม่มีการยืนยันข้อเท็จจริงใดๆ แล้ว ล่าสุด Adobe เป็นอีกบริษัทที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เช่นกัน โดยเผยว่าทีมวิจัยของบริษัทกำลังอยู่ระหว่างพัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถระบุได้ว่ารูปใดผ่านการแต่งภาพมา โดยเมื่อใดก็ตามที่ภาพมีการแก้ไข หรือตัดต่อภาพ โปรแกรมจะมีการทิ้ง “ร่องรอย” บางอย่างเอาไว้ในภาพที่ถูกตัดต่อเสมอ     ทีมวิจัยของ Adobe ได้พัฒนาให้ระบบ AI จดจำรูปภาพต่างๆ ที่ผ่านการตัดต่อหรือแต่งภาพมา โดยมุ่งเน้นไปที่วิธีการตัดต่อภาพ 3 แบบหลักๆ ที่มักถูกนำมาใช้เพื่อทำขึ้นมา ซึ่งเทคนิคการปลอมแปลงภาพเหล่านี้ ได้แก่ Splicing, Copy Move และ Removal โดย Splicing คือ วิธีการนำวัตถุ (คนหรือสิ่งของ) จากภาพหนึ่งมาใส่ไว้ในอีกภาพหนึ่ง, Copy Move คือ การโคลนนิ่งหรือก๊อปปี้วัตถุนั้นๆ มาใส่ไว้ในภาพเดียวกัน ส่วน Removal…