ธนาคารกลางสิงคโปร์ออกเตือนความเสี่ยงในการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลและ ICO

Loading

หน่วยงาน Monetary Authority of Singapore (MAS) ผู้ทำหน้าที่ธนาคารกลางของประเทศสิงคโปร์ได้ออกจดหมายเวียนเตือนนักลงทุนถึงความเสี่ยงในการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลและ ICO (Initial Coin Offering) จดหมายเวียนของ MAS ฉบับดังกล่าวแนะนำให้ประชาชนชาวสิงคโปร์ทำการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะของธุรกิจ (due diligence) และเข้าใจความเสี่ยงที่อาจมากับ ICO ทั้งหลายและแผนการลงทุนที่มีความเกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัล โดยได้เน้นย้ำถึงความเสี่ยง 6 ข้อ ดังนี้ 1. ความเสี่ยงจากการลงทุนกับผู้ดำเนินการในต่างประเทศและผู้ดำเนินการออนไลน์ การตรวจสอบตัวตนและความน่าเชื่อถือของผู้ดำเนินการออนไลน์หรือมีต้นสังกัดอยู่ที่ต่างประเทศนั้นเป็นไปได้ยากเนื่องจากผู้ดำเนินการเหล่านั้นไม่ได้อยู่ภายใต้ความควบคุมดูแลของสิงคโปร์ และกฎเกณฑ์ในการดำเนินการและการลงทุนก็อาจขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้นๆ 2. ความเสี่ยงจากการลงทุนในผู้ขายซึ่งไม่มีประวัติที่น่าเชื่อถือมาก่อน ผู้ขาย token แบบดิจิทัลซึ่งรวมไปถึงบริษัทสตาร์ทอัพต่างๆนั้นอาจไม่มีประวัติในการขายมาก่อนซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการสร้างความเชื่อมั่นได้ 3. ความเสี่ยงจากการไม่มีสภาพคล่องของตลาดทุนรองที่เพียงพอ แม้ตามทฤษฎีผู้ซื้อจะสามารถนำ token มาค้าขายในตลาดรองได้เสมอ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว อาจไม่มีผู้ซื้อขายที่มากเพียงพอและอาจทำให้ผู้ลงทุนใน token ไม่สามารถแปลงการลงทุนเป็นเงินได้อย่างคล่องตัวนัก หรือในกรณีเลวร้ายที่สุด การลงทุนอาจกลายเป็นศูนย์เนื่องจากผู้ลงทุนไม่สามารถหาตลาดรองเพื่อซื้อขายได้ นอกจากนี้ แพลตฟอร์มของตลาดรองเหล่านี้อาจจะไม่ได้ถูกกำกับดูแลโดย MAS 4. ความเสี่ยงจากการลงทุนในสิ่งที่มีการเก็งกำไรสูง สกุลเงินดิจิทัลเป็นสกุลเงินที่ไม่มีทรัพย์สินจริงมาค้ำประกัน ดังนั้นมูลค่าซื้อขายจึงอาจเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงเวลาสั้นและขึ้นอยู่กับการเก็งกำไรของนักลงทุนเป็นส่วนมาก ผู้ลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลจึงมีความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าขึ้นๆลงๆอย่างรวดเร็วนี้ไปด้วย 5. ความเสี่ยงจากการลงทุนในกองทุนที่อ้างผลตอบแทนสูง ผลตอบแทนในการลงทุนที่สูงนั้นมักมาพร้อมความเสี่ยงที่สูงเสมอ ในบางครั้งผลตอบแทนสูงอาจมาในรูปแบบอื่นๆ เช่น การมีรางวัลจูงใจในการหานักลงทุนเพิ่มเติมให้กับกองทุน…

อังกฤษลดระดับเตือนภัยก่อการร้าย

Loading

  สหราชอาณาจักรลดระดับเตือนภัยก่อการร้ายลงมาอยู่ที่ขั้นรุนแรง (severe) จากขั้นวิกฤตซึ่งเป็นระดับสูงสุด หลังเกิดเหตุโจมตีบนรถไฟใต้ดินเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (15 ก.ย.) ระดับเตือนภัยก่อการร้ายขั้น “รุนแรง” หมายความว่าการก่อการร้ายไม่ได้เป็นอันตรายที่ใกล้ตัวมากอีกต่อไป แต่ยังคงมีโอกาสสูงที่จะเกิดขึ้น ตำรวจจับตัวผู้ต้องสงสัยชายรายที่ 2 ซึ่งมีอายุ 21 ปี ได้ที่เมืองฮันส์โลว์ ทางตะวันตกของกรุงลอนดอนเมื่อคืนวันเสาร์ ต่อจากการจับกุมชายวัย 18 ปี ที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดบนรถไฟใต้ดินที่สถานีพาร์สันส์ กรีน หลังจากจับกุมชายวัย 21 ปี ตำรวจได้เข้าตรวจค้นที่พักแห่งหนึ่งในสแตนเวลล์ มณฑลเซอร์รีย์ เพิ่มเติม: จับชายต้องสงสัยคนที่ 2 เอี่ยววางระเบิดรถไฟใต้ดินลอนดอน “ก่อการร้าย” รถไฟใต้ดินลอนดอน เจ็บ ย้อนรอย 5 เหตุร้าย ใน สหราชอาณาจักร นางแอมเบอร์ รัดด์ รัฐมนตรีมหาดไทย ระบุว่า ภายในไม่กี่วันข้างหน้านี้ ทหารจะกลับเข้ากองพัน และงานสืบสวนของตำรวจก้าวหน้าไปมาก แต่ยังขอให้ประชาชนทุกคนช่วยกันสอดส่องระวังภัย แต่อย่าตื่นตระหนก รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลลอนดอน มาร์ก โรว์ลีย์ กล่าวว่า ตำรวจมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับระเบิดที่ถูกเตรียมมา แต่ยังคงมีงานสืบสวนต้องทำอีกมาก…

สิงคโปร์ทดสอบสัญญาณเตือนภัยทั่วทั้งเกาะ

Loading

เสียงสัญญาณดังทั่วเกาะสิงคโปร์เป็นเวลา 1 นาที เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่เกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธครั้งล่าสุด แต่สองเหตุการณ์นี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด สัญญาณไซเรนที่ปลุกชาวญี่ปุ่นจากสันติสุข ขีปนาวุธข้ามฮอกไกโด: ความเห็นของคนในพื้นที่ นี่คือการฝึกซ้อมสัญญาณเตือนภัยที่จัดขึ้นปีละสองครั้งของสิงคโปร์ โดยเสียงสัญญาณเตือนภัยในแต่ละแบบจะเป็นการส่งสัญญาณไปยังประชาชนให้ปฏิบัติตนที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่การเปิดรับข้อมูลจากสื่อมวลชน จนไปถึงการต้องไปที่หลบภัยในทันที ที่มา :BBC Thai ลิงค์ : http://www.bbc.com/thai/international-41294893?ocid=wsthai.chat-apps.in-app-msg.line.trial.link1_.auin?

คนร้ายพยายามใช้มีดทำร้ายทหารบริเวณสถานีรถไฟใต้ดิน

Loading

รายงานจากสำนักข่าวเอพี เมื่อ ๑๕ ก.ย.๖๐ แจ้งว่า คนร้ายพยายามใช้มีดทำร้ายทหาร ซึ่งดูแลความปลอดภัยที่บริเวณสถานีกลาง ซึ่งเป็นจุดสับเปลี่ยนเส้นทางของรถใต้ดินที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ทั้งนี้ หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายสามารถควบคุมเหตุการณ์ โดยไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และจับกุมคนร้ายสำเร็จ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลฝรั่งเศสประกาศปรับแนวทางการดำเนินการของหน่วยทหารรักษาความปลอดภัย โดยให้มุ่งเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดตามแหล่งท่องเที่ยวหลัก สถานที่ ซึ่งเป็นแหล่งแห่งการเคารพศรัทธา สถานีรถไฟและท่าอากาศยาน ที่มา : AP Sept. 15, 2017, at 6:32 a.m. ลิงค์ : https://www.usnews.com/news/world/articles/2017-09-15/paris-police-soldier-attacked-in-subway-no-one-hurt

ตำรวจประกาศเหตุระเบิดบนรถไฟใต้ดินลอนดอน เป็นเหตุก่อการร้าย

Loading

ตำรวจนครบาลลอนดอนยืนยันว่า เหตุระเบิดบนรถไฟใต้ดินสายดิสทริก ที่สถานีพาร์สันส์ กรีน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงลอนดอน เป็น “เหตุก่อการร้าย” เหตุระเบิดเกิดขึ้นในช่วงเวลาเร่งด่วนที่ผู้คนจำนวนมากกำลังเดินทางไปทำงาน ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย ภาพที่ถูกโพสต์ทางโซเชียลมีเดียเผยให้เห็นไฟไหม้กระป๋องสีขาวที่อยู่ในถุงพลาสติกซึ่งถูกวางอยู่ในรถไฟใต้ดิน แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง สหราชอาณาจักรยังต้องเผชิญภัยมุสลิมสุดโต่งอีกหลายทศวรรษ ย้อนรอย 5 เหตุร้าย ใน สหราชอาณาจักร เผยโฉมหน้านักรบจีฮัดในอังกฤษ     แดเนียล แซนด์ฟอร์ด ผู้สื่อข่าวสายมหาดไทยของบีบีซี รายงานว่า แหล่งข่าวด้านต่อต้านการก่อการร้ายหลายรายระบุว่า ขณะนี้กำลังสอบสวนเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นในฐานะ “เหตุก่อการร้าย” ขณะที่สำนักนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ระบุว่า นายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ ได้รับ รายงานความคืบหน้าเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ทางการอังกฤษ ระบุว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะระบุว่าเหตุระเบิดเกิดขึ้นได้อย่างไร และเป็นฝีมือของผู้ใด ผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่า เห็นผู้ได้รับบาดเจ็บที่ใบหน้าจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางส่วนเล่าว่าผู้โดยสารพากัน “แตกตื่น” และพยายามหนีออกจากรถไฟที่สถานีพาร์สัน กรีน ในย่านฟูแลม ของกรุงลอนดอน     หน่วยรถพยาบาลลอนดอน ระบุว่า ได้ส่งทีมปฏิบัติการในพื้นที่อันตรายไปยังจุดเกิดเหตุ หลังได้รับแจ้งเหตุเมื่อเวลา 8.20 น.วันนี้ (15 ก.ย.)…

ญี่ปุ่นพบอาชญากรรมไซเบอร์เพิ่มสูง “บิทคอยน์” ตกเป็นเป้าหมายหลัก

Loading

ตำรวจญี่ปุ่นพบปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์เพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ เฉพาะใน 6 เดือนแรกของปี 2017 มีมากถึง 69,977 คดี เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 4.9 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหลัก ๆ เป็นคดีเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิตอลที่ถูกอาชญากรเจาะระบบแล้วขโมยไปนั่นเองโดยในกรณีของการขโมยบิทคอยน์และสกุลเงินดิจิตอลอื่น ๆ นั้น พบว่ามีมูลค่าของความเสียหายรวมกัน 59.2 ล้านเยน หรือประมาณ 18 ล้านบาท โดยเป็นคดีเกี่ยวกับการแฮคบิทคอยน์ 13 คดี คดีเกี่ยวกับ Ripple 11 คดี และคดีเกี่ยวกับ Ethereum อีก 2 คดี และยังมีหลักฐานว่า มีสกุลเงินดิจิตอลอื่น ๆ ถูกโจมตีด้วยในเวลาพร้อม ๆ กัน โดยการโจมตีผู้ถือครองสกุลเงินดิจิตอลนี้เกิดขึ้นใน 13 เมืองของญี่ปุ่นหันมามองในส่วนของการฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ตและการสแคม (Scam) กันบ้าง ในประเทศญี่ปุ่นที่ได้ชื่อว่าสงบเรียบร้อยนั้น มีคดีฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ต 36,729 คดีในช่วง 6 เดือนแรกของปี และมีการแฮคระบบคอมพิวเตอร์ – การโจมตีด้วยไวรัสมากถึง 6,848…