FSB หน่วยข่าวกรองชั้นนำของรัสเซีย

Loading

  Federal Security Service (FSB) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2538 ปรับมาจากหน่วย KGB (Komitet Gosudarstvennoy Bezopasnosti KGB ชื่ออังกฤษ State Security Committee คณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐ เป็นอดีตหน่วยงานกลางดูแลการข่าว ความมั่นคงและตำรวจสันติบาล) ของสหภาพโซเวียต โดยเป็นหน่วยงานการข่าวกรอง ทำหน้าที่สืบราชการลับที่จัดเป็นภัยคุกคามต่อรัฐ ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายและการจารกรรมของรัสเซีย ทั้งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานร่วมกับกองกำลังตำรวจต่างชาติในการปราบปรามและต่อต้านกลุ่มมุสลิมจีฮัด รวมทั้งอาชญากรรมบางประเภท ตลอดจนการจลาจล ปฏิบัติการต่อต้านหรือการเรียกร้องต่างๆ ต่อรัฐบาล เช่น กรณีกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนจากเชชเนียในสงครามสองครั้ง เมื่อ พ.ศ.2533 และ พ.ศ.2543 การปฏิวัติกุหลาบ (Rose Revolution) ของจอร์เจีย เมื่อ พ.ศ.2547 และการปฏิวัติสีส้มของยูเครน เมื่อ พ.ศ.2548 หรือกรณีเมื่อ พ.ศ.2558 เอสโตเนียได้กล่าวหารัสเซียว่า ลักพาตัวนาย Eston Kohver เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพื่อใช้แลกเปลี่ยนกับสายลับรัสเซียที่ถูกตัดสินจำคุก   กรณีเกี่ยวกับการใช้สารพิษของหน่วย FSB เมื่อ…

รัฐสภาฟลอริดาผ่านกฎหมายเพิ่มอายุขั้นต่ำผู้ซื้อปืน-ให้บุคลากรในโรงเรียน “พกอาวุธ”

Loading

รอยเตอร์ – รัฐสภาแห่งรัฐฟลอริดาผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาวุธปืนเมื่อวานนี้ (7 มี.ค.) โดยกำหนดเพิ่มอายุขั้นต่ำสำหรับบุคคลที่จะซื้อปืนไรเฟิลเป็น 21 ปี การจำหน่ายปืนทุกประเภทต้องมีระยะเวลารอ 3 วัน และอนุญาตให้ลูกจ้างบางคนในโรงเรียนของรัฐสามารถพกอาวุธได้ มาตรการทางกฎหมายล่าสุดมีขึ้นหลังเกิดโศกนาฏกรรมกราดยิงโรงเรียนมัธยม มาร์จอรี สโตนแมน ดักลาส ในเมืองพาร์คแลนด์ เมื่อวันที่ 14 ก.พ. ซึ่งทำให้นักเรียนและครูเสียชีวิตรวม 17 ราย และนำมาซึ่งการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของกลุ่มผู้รอดชีวิตที่ต้องการเห็นรัฐควบคุมปืนมากกว่านี้ แม้ร่างกฎหมายฉบับนี้จะครอบคลุมข้อเสนอส่วนใหญ่ของนักเรียนและผู้ปกครอง แต่ยังไม่ตอบสนองข้อเรียกร้องสำคัญ คือการสั่งแบนปืนไรเฟิลจู่โจมแบบที่ถูกนำมาใช้ก่อเหตุเมื่อวันที่ 14 ก.พ. ฝ่ายที่สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้อ้างว่า เหตุกราดยิงโรงเรียนในสหรัฐฯ ซึ่งเกิดถี่ขึ้นจนน่าตกใจในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คนร้ายมักจะใช้ “ปืนพก” เสียเป็นส่วนใหญ่ มาตรการเหล่านี้จะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยอัตโนมัติภายใน 15 วัน เว้นเสียแต่จะถูก “วีโต” โดย ริค สก็อตต์ ผู้ว่าการรัฐฟลอริดาซึ่งเป็นคนของพรรครีพับลิกัน โฆษกหญิงของ สก็อตต์ ออกมาระบุเมื่อวันอังคาร (6) ว่า เขายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะลงนามรับรองร่างกฎหมายนี้หรือไม่ ร่างกฎหมายยังเปิดทางให้บุคลากรในโรงเรียนสามารถพกปืนขณะปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่งก็มีเสียงวิจารณ์ว่า การอนุญาตเช่นนี้อาจทำให้นักเรียนส่วนน้อยเสี่ยงต่อการถูกยิงเพราะทำผิดวินัย…

ศาลเยอรมันชี้ Facebook บังคับผู้ใช้ระบุชื่อจริงเป็นการละเมิดกฎการป้องกันข้อมูล

Loading

องค์กรสิทธิผู้บริโภคในเยอรมันเผยว่า ศาลเยอรมันตัดสิน Facebook ละเมิดกฎการป้องกันข้อมูลส่วนตัว ด้วยการตั้งค่าให้ผู้ใช้ระบุชื่อนามสกุลจริงเป็นค่าเริ่มต้น กฎหมายการป้องกันข้อมูลของเยอรมันระบุว่าข้อมูลส่วนบุคคลนั้น บริษัทสามารถบันทึกและนำไปใช้ภายใต้ข้อตกลงที่ชัดเจนจากแต่ละบุคคล แต่ศาลตัดสินว่า การให้ผู้ใช้ต้องให้ชื่อจริงเป็นค่าเริ่มต้นนั้นเป็นความล้มเหลว เพราะไม่ได้เสนอทางเลือกให้ผู้ใช้ได้รู้เลยว่าข้อมูลจะถูกนำไปใช้อย่างไร ผู้พิพากษาตัดสินว่า Facebook มีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่ละเมิดกฎ เช่น การแชร์ข้อมูลตำแหน่งกับคู่สนทนา หรือการสร้างโปรไฟล์ให้ search engine ภายนอกสามารถค้นหาได้ ข้อกำหนดการใช้งานจำนวน 8 ย่อหน้าของ Facebook ก็ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะประเด็นการเรียกร้องให้ผู้ใช้ใช้ชื่อจริง ศาลระบุอีกว่า สโลแกน “Facebook นั้นให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ฟรี และมันจะเป็นเช่นนั้น” (Facebook is free and always will be) ก็เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด เพราะสิ่งที่ผู้ใช้ต้องจ่ายคือข้อมูล ไม่ใช่เงิน Facebook อาจต้องเสียค่าปรับถึง 250,000 ยูโร หรือ 306,000 ดอลลาร์ แต่ Facebook ระบุว่าจะยื่นอุทธรณ์ต่อไป ————————————————————– ที่มา : blognone / 13…

เกิดเหตุระเบิดรถยนต์ปลิดชีพ-กราดยิงสถานทูตฝรั่งเศสและกองบัญชาการใหญ่กองทัพบูร์กินาฟาโซ ยอดดับล่าสุด30ศพ เจ็บ 90ราย

Loading

  วันนี้( 3 มี.ค.61) เกิดเหตุโจมตี 2 แห่งพร้อมกันที่กรุงวากาดูกู เมืองหลวงของประเทศบูร์กินาฟาโซ ในทวีปแอฟริกา คือที่สถานทูตฝรั่งเศส และกองบัญชาการใหญ่กองทัพบูร์กินาฟาโซ ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดอย่างไม่เป็นทางการ เพิ่มขึ้นเป็น 30 ราย บาดเจ็บ 90 คน โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นทหารบูร์กินาฟาโซ ด้านรัฐบาลบูร์กินาฟาโซเปิดเผยรายละเอียดของเหตุร้ายที่เกิดขึ้นว่า สถานทูตฝรั่งเศสถูกโจมตีก่อน โดยเหตุการณ์เริ่มขึ้นจากมือปืน 5 คน เปิดฉากกราดยิงกลางกรุงวากาดูกู จากนั้นกลุ่มมือปืนได้วิ่งไปกราดยิงที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส ทั้งนี้ ในเวลาเดียวกันนั้น เกิดเหตุระเบิดรถยนต์ปลิดชีพตนเอง ที่กองบัญชาการใหญ่กองทัพบูร์กินาฟาโซ ซึ่งอยู่ห่างจากสถานทูตฝรั่งเศสเพียง 1 กิโลเมตร ทำให้มีผู้เสียชีวิต 30 คน คาดว่าเป้าหมายการโจมตี คือการประชุมต่อต้านการก่อการร้ายระดับภูมิภาค ซึ่งมีตัวแทน 5 ชาติแอฟริกาเข้าร่วม คือบูร์กินาฟาโซ ช้าด มาลี มอริตาเนีย และไนเจอร์ ซึ่งกำลังจะเปิดประชุมที่กองบัญชาการใหญ่ดังกล่าว แต่เหตุระเบิดได้เกิดขึ้นก่อนการประชุม ด้านนายคลีเมนท์ ซาวาโดโก รัฐมนตรีความมั่นคงบูร์กินาฟาโซ ระบุว่า กลุ่มคนร้ายมีทั้งหมด 8 คน…

บันทึกลับระบุ วัยรุ่นนิวซีแลนด์ พยายาม ลอบปลงพระชนม์ ควีนเอลิซาเบธ ในปี 1981

Loading

เอกสารลับที่เพิ่งถูกนำมาเปิดเผยต่อสาธารณะยืนยันว่า เมื่อปี 1981 มีวัยรุ่นชาวนิวซีแลนด์พยายามลอบปลงพระชนม์ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง แห่งสหราชอาณาจักร ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินเยือนนิวซีแลนด์     บันทึกลับที่สำนักงานบริการข่าวกรองความมั่นคงนิวซีแลนด์ หรือ เอสไอเอส นำออกมาเปิดเผย ระบุว่านายคริสโตเฟอร์ ลิวอิส อายุ 17 ปี เป็นผู้ยิงปืน ในขณะที่สมเด็จพระราชินีนาถฯ เสด็จฯ เยือนเมืองดะนีดิน ส่วนรายงานของสื่อท้องถิ่นและอดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจในขณะนั้นระบุว่า มีความพยายามปกปิดกรณีดังกล่าว เนื่องจากรัฐบาลนิวซีแลนด์เกรงว่า หมายกำหนดการเสด็จฯ เยือนในอนาคตอาจถูกยกเลิก เอกสารที่เว็บไซต์สตัฟ (Stuff) ได้มานี้ ระบุว่าในระหว่างขบวนเสด็จฯ ที่เมืองดะนีดิน เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 1981 ตำรวจและประชาชนได้ยิน “เสียงที่คิดว่าน่าจะเป็นเสียงปืน” ดังขึ้น นายลิวอิส ถูกจับกุมได้เพียงไม่นานหลังเหตุการณ์ โดยตำรวจตรวจพบปืนไรเฟิลและซองกระสุนใช้แล้วในอาคารที่มองออกมาเห็นขบวนเสด็จฯ เอกสารดังกล่าว ระบุว่า “เดิมที ลิวอิสมีเจตนาที่จะลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระราชินีนาถฯ” แต่ “จุดซุ่มยิงไม่เหมาะสม และปืนที่ใช้มีพิสัยไม่พอกับระยะที่ต้องการยิง”     นายลิวอิส ถูกตั้งข้อหาเกี่ยวกับการยิงปืน แทนข้อหาพยายามลอบปลงพระชนม์ และบันทึกของเอสไอเอส…

เตือนสคริปต์ Cryptojacking อาจแฝงมากับไฟล์ MS Word

Loading

Amit Dori นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภภัยจาก Votiro ออกมาแจ้งเตือนถึงการซ่อนสคริปต์ Cryptojacking ไว้ในไฟล์วิดีโอที่ฝังมากับไฟล์เอกสาร MS Word เวอร์ชันล่าสุด เสี่ยงถูกลอบขุดเหรียญ Monero โดยไม่รู้ตัว การโจมตีนี้เกิดขึ้นได้จากการที่ Microsoft Word เวอร์ชันล่าสุดนั้นรองรับให้ผู้ใช้สามารถฝังวิดีโอจากอินเทอร์เน็ตเข้าไปในไฟล์เอกสาร แต่เป็นการฝังสคริปต์ ไม่ได้ใช้วิธีการฝังไฟล์วิดีโอเข้าไปในเนื้อเอกสารจริงๆ กล่าวคือ ผู้ใช้สามารถก็อปวางโค้ด iframe ของวิดีโอเข้าไปยังไฟล์ MS Word เมื่อผู้ใช้กดปุ่มเล่นวิดีโอบน iframe วิดีโอจะถูกโหลดและเด้งขึ้นมาเล่นในรูปแบบของ Pop-up ทันที ด้วยวิธีรันสคริปต์บนไฟล์ MS Word แบบนี้ ส่งผลให้แฮ็กเกอร์สามารถลอบฝังสคริปต์ Cryptojacking ไว้ในวิดีโอเพื่อขุดเหรียญดิจิทัลอย่าง Monero ได้ Dori ระบุว่า สาเหตุเกิดจากการที่ MS Word ยินยอมให้ฝังโค้ด iframe จากไหนไม่รู้บนอินเทอร์เน็ตลงบนไฟล์เอกสาร แทนที่จะบังคับให้เป็นโค้ดที่มาจากแหล่งที่มาที่ตัวเอง Whitelist ไว้ เช่น YouTube รวมไปถึง Pop-up ที่ให้เช่นวิดีโอนั้น…