กระทรวงดีอีตั้งหน่วยงานดูแลความผิดปกติทางอินเทอร์เน็ต

Loading

กระทรวงดีอี พร้อมรับมือภัยโจรกรรมโจมตีไซเบอร์ พร้อมจัดตั้งหน่วยงานดูแลจับความผิดปกติทางอินเทอร์เน็ต นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี กล่าวว่า ได้เตรียมความพร้อม รับมือเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ Cyber Security โดยได้มีมาตราการรับมือกับการโจมตีทางระบบไซเบอร์ไว้ เพราะปัจจุบันการโจมตีผ่านระบบไซเบอร์ เริ่มมีมากขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมได้ เห็นได้จาก คดีการโจรกรรมข้อมูล หรือ มีนักแฮคเกอร์ สามารถเข้ามาล้วงข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงิน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษบกิจ รวมทั้งอาจจะกระทบไปถึงฐานข้อมูลประเทศโดยรวม จึงได้ตั้งคณะกรรมการไซเบอร์ซีเคียวริตี้แห่งชาติ หรือ  National Cyber Security Committee โดยมี นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน  ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวจะกำกับดูแลความปลอดภัยและวางโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงิน ธนาคาร พลังงาน และด้านสาธารณูปโภค ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลการทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกันในปีหน้าจะเป็นปีแห่ง Big Data ซึ่งทุกกระทรวงจะต้องดำเนินการทำ Big Data ของแต่ละกระทรวง เพื่อเตรียมไว้ใช้ สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนการพัฒนาประเทศ ผ่านโครงการต่างๆ โดยรัฐบาลลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ผ่านโครงการเน็ทประชารัฐไว้รองรับการใช้อินเทอร์เน็ตให้กับประชาชน ซึ่งภายในสิ้นปีนี้จะติดตั้งครบทั้ง 24,700 หมู่บ้าน และภายในปีหน้า…

หน่วยงานข่าวร่วมมือสื่อออนไลน์สร้างระบบตรวจสอบคุณภาพข่าวในโครงการ ‘Trust Project’

Loading

โครงการนี้ สร้าง ‘Trust Indicator’ เพื่อให้ผู้รับข่าวสารรับทราบถึงคุณภาพของข้อมูล หน่วยงานข่าว 75 องค์กร ร่วมกับ Facebook, Twitter, Google และบริษัทสื่อสังคมออนไลน์หลายแห่ง ร่วมทำงานเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของข่าวสารบนโซเชียลมีเดีย ภายใต้โครงการ ‘Trust Project’ คณะทำงานของโครงการนี้ประชุมกันที่เมืองซานตา คารา รัฐแคลิฟอร์เนียเพื่อร่วมกันสร้างตัวบ่งชี้ความน่าเชื่อถือหรือ Trust Indicator ที่แทนด้วยสัญลักษณ์ ‘i’ บนโซเชี่ยลมีเดีย เพื่อให้ผู้รับข่าวสารรับทราบถึงคุณภาพของข้อมูล Sally Lehrman จาก Santa Clara University ด้านการใช้หลักการจริยธรรม กล่าวว่า สังคมมีความสงสัยมากขึ้นถึงคุณภาพของข่าวสาร ดังนั้นผู้รับข่าวควรได้ข้อมูลที่ทำให้พวกตนทราบถึงผู้เสนอข่าวเรื่องจรรยาบรรณและคุณภาพด้านวิชาชีพ ตัวบ่งชี้ความน่าเชื่อถือหรือ Trust Indicator ที่แทนด้วยสัญลักษณ์ ‘i’ จะอยู่ข้างข่าวออนไลน์ รวมถึงข้อมูลเนื้อหาที่ผู้ใช้สามารถแชร์ได้บนโซเชียลมีเดีย function นี้ช่วยบ่งชี้ถึงต้นตอและคุณภาพของข่าวสาร Facebook, Twitter และ Google เคยถูกวิจารณ์ว่ามีส่วนทำให้เกิดการแพร่ข้อมูลเท็จออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว โดยหน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯ เชื่อว่า รัสเซียมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแทรกแซงการเมืองอเมริกันช่วงนั้น…

รัฐบาลขอความร่วมมือ ใช้กล้องวงจรปิดเอกชน ดูแลความปลอดภัย-ป้องกันความมั่นคง

Loading

“คงชีพ” เผย “ประวิตร” เล็งขอความร่วมมือกล้องวงจรปิดภาคเอกชน เชื่อมโยงภาครัฐ ดูแลความปลอดภัยประชาชนในพื้นที่สาธารณะ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำชับให้ฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการบริหารการบูรณาการแผนและระบบกล้อง ประสานทุกส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เร่งรัดติดตาม รวบรวมข้อมูลสถานภาพกล้องวงจรปิดทั่วประเทศที่มีอยู่จริงจากการสำรวจที่ผ่านมา พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการเชื่อมโยงระบบกล้องทั่วประเทศ และแผนบริหารจัดการระบบและการใช้ข้อมูลของทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดต่างๆ และภาพรวมของประเทศ ให้แล้วเสร็จ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประชุมภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ พล.ท.คงชีพ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกระทรวงมหาดไทย พิจารณาจัดทำแผนติดตั้งกล้องวงจรปิดเร่งด่วนเพิ่มเติมในพื้นที่จุดเสี่ยงที่จำเป็นของแต่ละจังหวัด พร้อมทั้งประสานขอความร่วมมือภาคเอกชน สนับสนุนการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์กล้องวงจรปิดที่ติดตั้งนอกอาคาร ให้สามารถสานต่อครอบคลุมเป็นเครือข่ายดูแลความปลอดภัยของประชาชนได้ในภาพรวม “การบูรณาการเชื่อมโยงเครือข่ายและใช้ศักยภาพกล้องวงจรปิดภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ รวมทั้งการสนับสนุนติดรถยนต์สาธารณะและรถยนต์ส่วนบุคคล เป็นนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการเพิ่มมาตรการดูแลความปลอดภัยของประชาชนและติดตามการเชื่อมโยงปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้น โดยเชื่อว่าความร่วมมือของภาคเอกชนในงานความมั่นคง จะเป็นกำลังร่วมที่สำคัญในการดูแลความปลอดภัยของประชาชนและสร้างวินัยทางสังคมควบคู่กันไปในภาพรวม” โฆษกกระทรวงกลาโหมกล่าว —————————————————— ที่มา : มติชนออนไลน์ / 16 พฤศจิกายน 2560 Link : https://www.matichon.co.th/news/733440

WikiLeaks แฉ Source Code เครื่องมือสอดแนมของ CIA

Loading

เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา WikiLeaks ได้เปิดเผยถึงเครื่องมือชุดใหม่ของ CIA รวมไปถึง Source Code ของเครื่องมือที่เรียกว่า Hive ที่สามารถใช้เพื่อควบคุมมัลแวร์ที่ถูกติดตั้งอยู่บนอุปกรณ์ต่างๆ ได้ ก่อนหน้านี้ WikiLeaks ได้เคยปล่อยเอกสารที่เป็นของเครื่องมือเหล่านี้ เมื่อเดือนมีนาคมถึงสิงหาคมแต่นี่เป็นครั้งแรกที่ได้ออกมาแสดง Source Code ของชุดเครื่องมือสอดแนมที่ CIA ครอบครองอยู่ Julian Assange ผู้ก่อตั้ง WikiLeaks ได้พูดว่านี่คือซีรี่ย์ใหม่ของเรื่องราวที่เรียกว่า ‘Vault 8’ (เป็นการตั้งชื่อเรื่องราวที่อ้างถึงขึ้นมาเอง) โดย Hive เป็นเพียงแค่ปฐมบทของการเปิดฉากในตอนนี้เท่านั้นและได้รวมรวบ Source Code ของเครื่องมือที่เคยอ้างถึงใน Vault 7  “การเปิดเผยต่อสาธารณชนครั้งนี้เปิดโอกาสให้นักข่าวสายสืบสวน ผู้เขี่ยวชาญด้าน Forensic และสาธาราณชนทั่วไป เพื่อเป็นข้อพิสูจน์และเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบโครงสร้างของ CIA ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังอ้างถึง Hive ว่าได้แก้ปัญหาสำคัญในการทำงานของมัลแวร์ที่ CIA ในเรื่องของมัลแวร์ที่ถูกฝังในเครื่องเหยื่อว่าถ้าหากไม่สามารถติดต่อกับส่วนควบคุมได้อย่างมั่งคงปลอดภัย มันก็ไร้ประโยชน์แม้ว่ามัลแวร์ตัวนั้นจะมีความซับซ้อนแค่ไหนก็ตาม” –WikiLeaks กล่าวในเว็บของตน เมื่อเดือนมีนาคม WikiLeaks ได้รับเอกสารและเครื่องมือเจาะระบบที่ถูกขโมยมาจาก CIA แต่ว่าพวกเขายังไม่เปิดเผยถึง Code เนื่องจากอาจเผยให้เห็นช่องโหว่หรือ Bug ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข…

ทำความรู้จัก “ซิมอัตลักษณ์”

Loading

ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.2560 เป็นต้นไป ผู้ซื้อซิมโทรศัพท์มือถือใหม่ทุกคนจะต้องถูกจัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีอัตลักษณ์ นั่นคือการถ่ายภาพตรวจสอบใบหน้าและสแกนลายนิ้วมือ (Finger Print) เพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่แท้จริง ตามคำสั่งของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขั้นตอนดังกล่าวถูกบังคับใช้ทั้งการซื้อซิมผ่านศูนย์บริการ ร้านค้าที่จำหน่ายซิม หรือซื้อผ่านระบบออนไลน์ หากไม่มีการลงทะเบียนซิมมือถือใหม่ด้วยวิธีอัตลักษณ์จะไม่สามารถใช้งานได้ การลงทะเบียนซิมมือถือด้วยวิธีอัตลักษณ์ ซึ่งจะสามารถตรวจสอบใบหน้าและสแกนลายนิ้วมือของผู้ซื้อซิมนั้น จะช่วยพิสูจน์ตัวตนว่าผู้ซื้อซิมเป็นเจ้าของบัตรประชาชนตัวจริง ช่วยลดการปลอมแปลง เนื่องจากปัจจุบันแม้จะต้องใช้บัตรประชาชนในการซื้อซิมมือถืออยู่แล้ว แต่ยังคงมีการปลอมแปลงบัตรประจำตัวประชาชนอยู่เนืองๆ ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.เป็นต้นไป ผู้ที่มีความประสงค์จะซื้อซิมมือถือเบอร์ใหม่ ต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนสมาร์ทการ์ดหรือพาสปอร์ตตัวจริงกรณีเป็นชาวต่างชาติ หรือบัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าวตัวจริง ไปซื้อซิม ณ จุดขาย ไม่ว่าจะเป็นศูนย์บริการลูกค้าของ ค่ายมือถือ ตัวแทนจำหน่ายซิมมือถือที่มีอยู่ราว 55,000 แห่งทั่วประเทศ ระบบการลงทะเบียนด้วยวิธีอัตลักษณ์ ณ จุดซื้อซิม จะมีทั้งสแกนลายนิ้วมือและถ่ายภาพตรวจสอบใบหน้าผ่านเครื่องอ่านบัตรหรือSmart Card Reader ปัจจุบันค่ายมือถือได้นำระบบสแกนลายนิ้วมือ มาให้บริการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และอำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา รวม 25 จุด และในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อีก…

‘Big Data’ หลอมรวมกับ ‘Big Brother’: ระบบให้คะแนนประชาชนโดยรัฐบาลจีน

Loading

     จากข่าวเรื่องที่ทางการจีนกำลังวางแผนระบบ ‘ให้คะแนน’ ประชาชนของตัวเอง ฟังดูเหมือนฝันร้ายจากนิยายวิทยาศาสตร์ดิสโทเปีย แต่ในยุคสมัยที่ข้อมูลของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถูกเก็บอย่างกว้างขวางบวกกับรัฐบาลอำนาจนิยมที่มองประชาชนเป็น ‘เด็กๆ’ แบบจีนแล้ว ก็น่าประเมินว่าแผนการนี้จะสร้างหายนะต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวหรือแม้กระทั่งหายนะต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปหรือไม่      11 พ.ย. 2560 ทางการจีนมีแผนออกระบบที่เรียกว่า ‘ระบบเครดิตทางสังคม’ ภายในปี 2563 ซึ่งเป็นระบบการให้คะแนนประชาชนกว่า 1,300 ล้านคนในประเทศ      คะแนนดังกล่าวคือคะแนนที่จะระบุว่ารัฐบาลเชื่อถือประชาชนคนนั้นมากขนาดไหน มีการวัดคะแนนพวกนี้ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในโลกออนไลน์ของแต่ละบุคคล นั่นหมายความว่าถ้าหาก         คุณซื้อของบางอย่างที่รัฐบาลไม่ชอบ หรือเล่นเกมมากเกินไปหน่อย รัฐบาลก็อาจจะหาเรื่องลดคะแนนคุณได้ ระบบการตรวจสอบเรื่องพวกนี้ง่ายขึ้นในยุคสมัย ‘บิ๊กเดตา’ ที่บรรษัทไอทีใหญ่ๆ มักจะเก็บข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ของผู้คนบนโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อหาเหตุทางการค้า แต่ในคราวนี้รัฐบาลจีนกำลังจะนำมาใช้กับการให้คะแนนตัวบุคคลซึ่งอาจจะส่งผลต่อชีวิตส่วนตัวของพวกเขา อย่างการพิจารณาเข้าเรียนที่ใด หรือการจะได้ทำงานที่ใดด้วย หรือแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างจะมีคนยอมเป็นแฟนด้วยหรือไม่ถ้าหากพวกเขามีคะแนนเท่านี้      แผนการนี้มีระบุอยู่ในเอกสารของคณะรัฐมนตรีเผยแพร่ออกมาในปี 2557 ทางการจีนอ้างว่าพวกเขาต้องการสร้างวัฒนธรรมแห่ง ‘ความจริงใจ’ แต่หลายคนไม่มองเช่นนั้น    …