ระวัง เปิดซิมต่างประเทศ แล้วโดนติดคุก

Loading

ระวัง เปิดซิมต่างประเทศ แล้วโดนติดคุก เกิดขึ้นมากที่ไทเป ไต้หวัน โดยเฉพาะคนไทยที่ทำงานที่ไต้หวันโดนเยอะ ถูกหลอกเซ็นเชื่อในแบบฟอร์มยื่นขอเปิดซิมการ์ดมือถือ ส่งผลให้แรงงานไทยไม่ต่ำกว่า 200 คน หลังจากเดินทางเข้าสู่ไต้หวันได้ไม่นาน ก็ตกเป็นผู้ต้องหา ถูกตำรวจออกหมายเรียกไปสอบปากคำ ข้อหาขู่กรรโชกทรัพย์ หรือหลอกลวงต้มตุ๋นชาวไต้หวัน ทั้งๆ ที่พูดภาษาจีนไม่ได้สักคำ บางคนยังไม่ทันจะเดินทางเข้าไต้หวัน ก็ตกเป็นผู้ต้องหาเสียแล้ว จากบริษัทจัดหางานไทยที่ไม่ประสงค์จะเปิดเผยนามกล่าวว่า มีพนักงานบริษัทจัดหางานไทยบางบริษัท นำแบบฟอร์มยื่นขอเปิดซิม ของค่ายมือถือในไต้หวัน ซึ่งมีตัวแทนอยู่ในประเทศไทย ไปหลอกให้คนงานเซ็น โดยนำไปปะปนกับเอกสารการเดินทางไปทำงานที่ไต้หวัน จากนั้นก็ยื่นขอเปิดซิมต่อค่ายโทรศัพท์มือถือ แล้วนำซิมการ์ดเหล่านี้ไปขายต่อให้แก๊งมิจฉาชีพในไต้หวันนำไปก่อคดี ในราคา 3,000 – 5,000 เหรียญ ต่อ 1 เบอร์ เมื่อตำรวจดักจับสัญญาณมือถือของแก๊งมิจฉาชีพได้ พบเจ้าของเบอร์มือถือเป็นคนงานไทย จะออกหมายเรียกให้ไปสอบปากคำ ฐานเป็นผู้ต้องหาต้มตุ๋น คนงานไทยบางคนได้รับหลายใบ ต้องขอให้ล่ามพาไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจหลายท้องที่ ทำให้วิตกกังวล ถึงขั้นกินไม่ได้นอนไม่หลับ แม้ว่าสุดที่ท้ายคนงานไทยที่ตกเป็นเหยื่อเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะไม่ถูกสั่งฟ้อง แต่กว่าคดีจะสิ้นสุด ก็ต้องเสียเวลาทำงาน และเสียสุขภาพจิตเป็นปี ขณะที่บางคนโชคร้าย ให้การกลับไปกลับมา ถูกพิพากษาจำคุก ต้องไปรับโทษในคดีที่ตนไม่ได้ก่อขึ้น จากสถิติของสำนักงานแรงงานไทย ตั้งแต่ปี…

British Airways ถูกสั่งปรับเงินเป็นสถิติกว่า 7 พันล้านบาท จากกรณีข้อมูลลูกค้ารั่วไหลในปี 2018

Loading

สายการบินบริติช แอร์เวย์ส ในเครือบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์ไลน์ส กรุ๊ป (IAG) ถูกสำนักงานคณะกรรมาธิการข้อมูลของสหราชอาณาจักร (ICO) ลงโทษปรับเงินเป็นจำนวน 183.39 ล้านปอนด์ (ประมาณ 7,069,820,000 บาท) สืบเนื่องจากกรณีการรั่วไหลของข้อมูลทางการเงิน และลูกค้าของบริษัทเมื่อปีที่แล้ว บริษัท บริติช แอร์เวย์ส ระบุว่า รู้สึกประหลาดใจ และผิดหวังที่ ICO ลงโทษปรับเงินครั้งนี้ โดยเงินค่าปรับดังกล่าวถือว่ามีจำนวนสูงสุดเท่าที่ ICO เคยสั่งปรับมา หลังกฎหมายปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (GDPR) ของสหภาพยุโรปมีผลบังคับใช้เมื่อปีที่แล้ว บริติช แอร์เวย์ส ถูกแฮกเกอร์ลักลอบเจาะระบบเว็บไซต์ ba.com และแอปพลิเคชันของสายการบิน ก่อนจะจารกรรมข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า รวมถึงข้อมูลทางการเงินในช่วงวันที่ 21 สิงหาคม ถึง 5 กันยายน ปี 2018 ก่อนหน้านี้ เฟซบุ๊กก็เคยถูกปรับเป็นเงินจำนวน 500,000 ปอนด์ จากกรณีอื้อฉาวที่บริษัท เคมบริดจ์ อนาลิติกา นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในแคมเปญหาเสียงในสหรัฐฯ โดยค่าปรับดังกล่าวเป็นเพดานสูงสุดที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลฉบับเก่าอนุญาตให้ปรับได้ ก่อนที่จะมีการประกาศใช้กฎหมาย…

รัฐบาลสิงคโปร์สั่งขึ้นทะเบียนโดรนทุกลำ หลังเหตุป่วนสนามบินนานาชาติชางงี

Loading

รัฐบาลสิงคโปร์เตรียมออกกฎหมายให้โดรนทุกลำในประเทศต้องขึ้นทะเบียนก่อนนำไปใช้งาน พร้อมเล็งเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ที่ละเมิดกฎหมาย โดยรัฐบาลให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดหลังจากเกิดเหตุโดรนบินป่วนท่าอากาศยานนานาชาติสิงคโปร์ชางงี ส่งผลให้เที่ยวบินหลายลำเกิดการล่าช้าจนถึงขั้นต้องปิดรันเวย์เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ด้านนาย Lam Pin Min in รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมสิงคโปร์ เผยถึงเหตุผลการขึ้นทะเบียนโดรนว่าจะสร้างความมั่นใจให้กับสารการบินและผู้ใช้งานสนามบินได้ เพราะจะทำให้นักบินโดรนจะทำการบินอย่างมีความรับผิดชอบ แต่ทางกระทรวงยังไม่สามารถระบุวันเวลาที่จะเริ่มบังคับใช้กฎหมายได้แน่ชัด แต่จะพยายามให้ทันภายในเดือนหน้า อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกฎหมายสิงคโปร์ห้ามการนำโดรนบินภายในรัศมี 5 กิโลเมตร หรือที่ระดับความสูง 61 เมตร ของสนามบินและฐานทัพทหาร โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งผู้กระทำผิดมีระวางโทษจำคุกสูงสุด 1 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ และท่าอากาศยานนานาชาติสิงคโปร์ชางงี นับเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดในโลก ให้บริการผู้โดยสารจำนวนถึง 65.6 ล้านคนในปีที่แล้ว ที่มาข่าวและภาพประกอบ: Channel News Asia, 8/07/2019 Link : https://www.tcijthai.com/news/2019/7/asean/9202

คาดสายชาร์จไฟไหม้ ต้นตอเครื่องบิน “เวอร์จิ้น แอตแลนติก” ลงจอดฉุกเฉิน

Loading

เที่ยวบินสายการบินเวอร์จิ้น แอตแลนติก เส้นทางจากมหานครนิวยอร์ก ต้องลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินนานาชาติโลแกน ในนครบอสตัน หลังเกิดเหตุไฟไหม้ห้องโดยสาร ซึ่งทีมสืบสวนคาดว่าน่าจะมีต้นตอมาจากสายชาร์จโทรศัพท์เกิดลุกไหม้บนเครื่อง ผู้โดยสาร 217 ชีวิตและลูกเรืออพยพจากเที่ยวบิน สายการบินเวอร์จิ้น แอตแลนติก ที่สนามบินในนครบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ได้อย่างปลอดภัย โดยมีรายงานผู้บาดเจ็บที่ปฏิเสธการปฐมพยาบาลเนื่องจากภาวะสำลักควัน หนังสือพิมพ์ Washington Post อ้างข้อมูลจากตำรวจรัฐแมสซาชูเซตส์ รายงานว่า การสืบสวนเบื้องต้นพบว่าสาเหตุของเพลิงไหม้น่าจะมาจากสายชาร์จโทรศัพท์มือถือ ที่พบอยู่ระหว่างที่นั่งโดยสารในเกิดประกายไฟลุกไหม้ ก่อนที่เจ้าหน้าที่บนเครื่องบินจะเข้าควบคุมเพลิงไว้ได้ ทั้งนี้ ตามข้อมูลจากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ หรือ FAA ห้ามไม่ให้นำแบตเตอรี่ลิเธียมพกพาโหลดลงในกระเป๋าสัมภาระใต้เครื่อง รวมทั้งมีรายงานว่าสายการบินหลายแห่ง สั่งห้ามนำกระเป๋า Smart Bag ที่บรรจุแบตเตอรี่ลิเธียมสำหรับชาร์จสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์โหลดลงในกระเป๋าสัมภาระใต้เครื่อง เพราะมีความเสี่ยงที่อุปกรณ์ดังกล่าวอาจเกิดประกายไฟหรือระเบิดได้ แต่ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้มีผลบังคับใช้กับการนำแบตเตอรี่พกพาเหล่านี้ขึ้นไปบนห้องโดยสารบนเครื่องบิน หรือใส่ไว้ในกระเป๋าเดินทางติดตัวขึ้นเครื่อง หรือ carry-on ปัจจุบัน สายการบินหลายแห่ง เริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายการบิน หลังเหตุไฟไหม้บนเครื่องบินที่มาต้นตอมาจากแบตเตอรี่พกพา ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์เมื่อปี ค.ศ. 2016 กับสายการบินเซาท์เวสต์แอร์ไลน์สด้วย และผู้โดยสารจะต้องแจ้งกับพนักงานบนเครื่องทันทีหากพบว่าแบตเตอรี่พกพาที่ตนนำมาเกิดความร้อนผิดปกติ ตกหล่นลงไปด้านใต้เบาะที่นั่งโดยสาร หรือเริ่มมีควันออกมาจากอุปกรณ์ดังกล่าว ————————————————————— ที่มา : VOA Thai /…