แฉแฮกเกอร์จีนล้วงตับอาเซียนมานานนับทศวรรษ

Loading

เว็บไซต์เวียดนามนิวส์รายงานว่า ไฟร์อาย บริษัทด้านความมั่นคงเครือข่ายของสหรัฐอเมริกาค้นพบว่า มีการสอดแนมทางไซเบอร์เพื่อจารกรรมข้อมูลอ่อนไหวจากอินเดียและบางประเทศในอาเซียน ซึ่งรวมถึงเวียดนามมาเป็นเวลานานกว่าทศวรรษแล้ว โดยในการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับรายงานเรื่องนี้ ที่ชื่อว่า “เอพีที30 และกลไกของปฏิบัติการสอดแนมไซเบอร์ที่ดำเนินมาเป็นเวลานาน” จัดขึ้นที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนามเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ไฟร์อายเปิดเผยรายละเอียดว่ากลุ่มแฮกเกอร์ เอพีที30 ที่เชื่อว่าเป็นของรัฐบาลจีน ปฏิบัติการโจมตีคอมพิวเตอร์หลายพันเครื่องในเวลาเดียวกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อขโมยข้อมูลที่อ่อนไหวจากหลายประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวียดนาม ไทย เกาหลีใต้ อินเดีย และมาเลเซียได้อย่างไร รายงานระบุว่า เอพีที30 ใช้ประโยชน์จากพัฒนาการทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเลือกปฏิบัติการในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน การหารือระดับภูมิภาคอื่นๆ อาทิ กรณีพิพาทด้านพรมแดนระหว่างจีน อินเดียและชาติอื่นๆ ในเอเชีย โดยพบมัลแวร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์ มากกว่า 200 ตัวที่ออกแบบโดยเอพีที30 ทำงานอยู่ในคอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่อยู่ในที่ทำการสำคัญทั้งของรัฐบาลและธุรกิจเอกชนในเวียดนามหลายแห่ง นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวที่รายงานข่าวสภาพเศรษฐกิจ เทคโนโลยี สิทธิมนุษยชน การคอร์รัปชั่น กองทัพ และกรณีพิพาทเขตแดนทั้งทางบกและทางทะเลของจีน ก็ตกเป็นเป้าด้วย โดยปฏิบัติการจารกรรมเหล่านี้ สามารถสืบสาวร่องรอยย้อนหลังไปได้ไกลถึงปี 2548   —————————————————– http://www.matichon.co.th วันที่ 28 พฤษภาคม 2558

เผยมีทหารญี่ปุ่น ที่ถูกส่งไปสนับสนุนสงครามอิรัก-อัฟกานิสถาน และในมหาสมุทรอินเดีย ฆ่าตัวตาย 54 นายในช่วง 10 ปี

Loading

เจแปน ทูเดย์ และสำนักข่าวเกียวโด รายงานว่า ในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ขยายบทบาทของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นในต่างแดน นายเกน นาคาทานิ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น ได้เผยตัวเลขทหารที่ฆ่าตัวตายหลังถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ ช่วงปี 2544-2553 ว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 54 นาย จำนวนนี้ 25 นายสังกัดหน่วยนาวิกโยธิน ที่เข้าร่วมภารกิจเติมน้ำมันในมหาสมุทรอินเดีย   ส่วนที่เหลือ ประกอบด้วยกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดิน 21 นาย กับกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ 8 นาย ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับภารกิจมนุษยธรรม กำลังบำรุง และการบูรณะฟื้นฟูในอิรัก แต่ยากจะโยงสาเหตุการฆ่าตัวตายกับภารกิจในต่างแดนอย่างเดียว เนื่องจากการปลิดชีวิตตนเอง มักมีหลายปัจจัยประกอบกัน และทั้งหมดฆ่าตัวตายหลังกลับถึงญี่ปุ่นแล้ว   รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่นเผยตัวเลขนี้ ขณะตอบกระทู้ของนายคาซูโอะ ชิ ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ที่กังวลเกี่ยวกับสภาพอารมณ์และจิตใจของทหารที่ถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจต่างแดน   ทั้งนี้ การประกาศใช้กฎหมายพิเศษว่าด้วยการต่อต้านก่อการร้ายเมื่อตุลาคม 2544 เปิดทางให้กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น เข้าไปมีส่วนร่วมกับภารกิจเติมน้ำมันในมหาสมทุรอินเดีย เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการต่อต้านก่อการร้ายนำโดยสหรัฐ ในและรอบอัฟกานิสถาน โดยมีทหารญี่ปุ่นกว่า 22,000 นายที่มีส่วนร่วมภารกิจเหล่านี้ช่วงปี 2544-2553   —————————————————– http://www.…

เพนตากอนพลาด! ส่งเชื้อแอนแทรกซ์มีชีวิตไปแล็บสหรัฐฯ-เกาหลีใต้

Loading

ห้องแล็บของกองทัพสหรัฐฯ พลาดส่งตัวอย่างเชื้อแอนแทรกซ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ไปยังแล็บต่างๆในสหรัฐฯ และเกาหลีใต้โดยไม่ได้ตั้งใจ โดยมีผู้ที่อาจสัมผัสกับเชื้อร้ายตัวนี้แล้วหลายสิบคน…   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ‘เพนตากอน’ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ยอมรับเมื่อวันพุธ (27 พ.ค.) ว่า กองทัพทำเรื่องผิดพลาดด้วยการส่งตัวอย่างเชื้อแบคทีเรีย ‘แอนแทรกซ์’ ที่ยังมีชีวิตอยู่จากห้องแล็บของกระทรวงกลาโหมในรัฐยูทาห์ ไปยังแล็บอื่นๆ 9 แห่งทั่วประเทศ และที่ฐานทัพอากาศของสหรัฐฯในประเทศเกาหลีใต้ ตลอดช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา แต่ยืนยันว่ามีความเสี่ยงต่อสาธารณะน้อยมาก   พันเอกสตีฟ วอร์เรน โฆษกเพนตากอน เผยว่า อาจมีเจ้าหน้าที่ของฐานทัพอากาศ โอซาน ในเกาหลีใต้ 22 คนสัมผัสเชื้อตัวนี้ระหว่างการฝึกในห้องทดลอง แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณว่ามีการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ได้มีการใช้มาตรการทางการแพทย์ที่เหมาะสม รวมทั้ง การตรวจร่างกาย, ให้ยาปฏิชีวนะ และวัคซีน เพื่อป้องกันเอาไว้ก่อนแล้ว   ด้านศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี) ของสหรัฐฯ ระบุว่า พวกเขาเริ่มการสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว โดย น.ส.แคธี ฮาร์เดน โฆษกซีดีซี กล่าวว่า ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนจะถูกส่งไปยังแล็บของซีดีซี เพื่อการทดสอบเพิ่มเติม…

เยอรมนีอพยพหนีระเบิด

Loading

เยอรมนีอพยพประชาชนราว 2 หมื่นคนในเมืองโคโลญจ์เพื่อปลดชนวนระเบิดสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา (ตามเวลาท้องถิ่น) เพื่อดำเนินการปลดชนวนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งพบระหว่างการก่อสร้างภายในเมืองโคโลญจน์ สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ทางการเยอรมนีอพยพประชาชนราว 2 หมื่นคนออกจากพื้นที่พักอาศัยในเมืองโคโลญจน์ ทางภาคตะวันตกของประเทศเยอรมนี เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการปลดชนวนลูกระเบิดในช่วงสงคราม 2 ซึ่งถูกค้นพบอยู่ลึกลงไปใต้ดินราว 5 เมตรริมฝั่งแม่น้ำไรน์ ใกล้กับสะพานมูลไฮม์ รายงานระบุว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัศมี 1 กิโลเมตรจากจุดพบลูกระเบิด ได้รับแจ้งเตือนจากทางการให้อพยพออกจากพื้นที่ ส่วนโรงเรียน รวมถึงสวนสัตว์ในพื้นที่ดังกล่าวปิดทำการในวันเดียวกัน โดยมีตำรวจหลายร้อยนาย นักดับเพลิง และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมปฏิบัติการ ซึ่งต่อมารัฐบาลท้องถิ่นเมืองโคลญจน์ประกาศว่า ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและระเบิดถูกปลดชนวนสำเร็จ

โดรน ตกใส่ สนง. ผู้นำญี่ปุ่นตรวจพบสารกัมมันตรังสี

Loading

ตำรวจญี่ปุ่นรายงานว่า พบอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) แบบ 4 ใบพัด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 ซม. ติดตั้งกล้องขนาดเล็กและภาชนะที่ระบุว่ามีสารกัมมันตรังสี ตกอยู่บนหลังคาสำนักงานนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (คันเทอิ) ในกรุงโตเกียว เมื่อเช้า 22 เม.ย. และตรวจพบสารกัมมันตรังสี “ซีเซียม” ในปริมาณเล็กน้อยไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อมนุษย์ เหตุเกิดขณะนายกฯ ชินโสะ อาเบะ ไปร่วมประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกาที่อินโดนีเซีย ซีเซียมเป็นหนึ่งในสารกัมมันตรังสีที่รั่วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะหลังเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่น เมื่อ 11 มี.ค. 2554 การพบโดรนลำนี้ยังมีขึ้นหลังศาลญี่ปุ่น อนุมัติให้เปิดโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่งได้อีกครั้งแม้ถูกต่อต้าน อนึ่งการใช้โดรนขนาดเล็กกลายเป็นเรื่องปกติและนิยมในญี่ปุ่น เพื่อการสำรวจ ถ่ายภาพ วีดีโอ และอื่นๆ โดยใช้กฎหมายอนุญาตให้โดรนบินในระดับสูงไม่เกิน 250 เมตรได้ อนึ่งเมื่อเดือน ม.ค. นี้มีโดรนลำหนึ่งตกที่สนามหญ้าทำเนียบขาวในสหรัฐทำให้เกิดความตื่นตัวเรื่องความปลอดภัยจากโดรน. ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  ปีที่ 66 ฉบับที่ 20911 วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

สหรัฐตั้งข้อหานักวิชาการจีนขโมยความลับเทคโนฯมือถือ

Loading

วอชิงตัน-อัยการสหรัฐแจ้งข้อหาพลเมืองจีน 6 คน รวมถึงอาจารย์มหาวิทยาลัย 3 คน ขโมยความลับการค้าเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ วันอังคาร (19 พ.ค.) ตามเวลาท้องถิ่นสำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า อัยการสหรัฐส่งฟ้องชาวจีน 6 คน ในข้อหาขโมยความลับการค้าให้กับมหาวิทยาลัยและบริษัทที่อยู่ในความควบคุมของรัฐบาลจีน จำนวนนี้รวมถึง ศ.เฮา จาง มหาวิทยาลัยเทียนจิน สถาบันการศึกษาของรัฐ ที่ถูกจับกุมขณะเดินทางเข้าสนามบินลอสแองเจลิส เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาส่วนอีก 5 คนเชื่อว่าอยู่ในจีน เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐกล่าวว่าคดีนี้เป็นคดีที่ 11 ที่ยื่นฟ้องตามกฏหมายจารกรรมทางเศรษฐกิจปี 2539 ข้อหาเหล่านี้รวมถึงจารกรรมทางเศรษฐกิจ ขโมยความลับการค้าและคบคิดอีกหลายกระทง แต่ละกระทงมีโทษจำคุก 10 – 15 ปี และปรับ นางเมลินดา ฮาก รัฐมนตรียุติธรรมสหรัฐแถลงว่าคดีนี้สะท้อนเทคโนโลยีอ่อนไหวที่บริษัทสหรัฐในซิลลิคอนแวลลีย์และในแคลิฟอร์เนีย คิดค้นพัฒนา ยังล่อแหลมต่อความพยายามอันซับซ้อนที่จะขโมยเทคโนโลยีโดยมีรัฐบาลต่างชาติสนับสนุน รายงานระบุว่าทั้ง 6 คนถูกกล่าวหาว่าร่วมมือกันขโมยเทคโนโลยี FBAR อุปกรณ์สำคัญของโทรศัพท์มือถือที่ช่วยกรองสัญญาณที่ไม่ต้องการออกไป จากบริษัทอวาโก เทคโนโลยี ในแคลิฟอร์เนีย และบริษัทสกายเวิร์กส์ โซลูชันส์ ในแมสซาชูเซตส์ ที่ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เพื่อยื่นจดลิขสิทธิบัตรในจีนและสหรัฐ ทำทีว่าเป็นคนประดิษฐ์เอง…