โดรน ตกใส่ สนง. ผู้นำญี่ปุ่นตรวจพบสารกัมมันตรังสี

Loading

ตำรวจญี่ปุ่นรายงานว่า พบอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) แบบ 4 ใบพัด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 ซม. ติดตั้งกล้องขนาดเล็กและภาชนะที่ระบุว่ามีสารกัมมันตรังสี ตกอยู่บนหลังคาสำนักงานนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (คันเทอิ) ในกรุงโตเกียว เมื่อเช้า 22 เม.ย. และตรวจพบสารกัมมันตรังสี “ซีเซียม” ในปริมาณเล็กน้อยไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อมนุษย์ เหตุเกิดขณะนายกฯ ชินโสะ อาเบะ ไปร่วมประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกาที่อินโดนีเซีย ซีเซียมเป็นหนึ่งในสารกัมมันตรังสีที่รั่วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะหลังเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่น เมื่อ 11 มี.ค. 2554 การพบโดรนลำนี้ยังมีขึ้นหลังศาลญี่ปุ่น อนุมัติให้เปิดโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่งได้อีกครั้งแม้ถูกต่อต้าน อนึ่งการใช้โดรนขนาดเล็กกลายเป็นเรื่องปกติและนิยมในญี่ปุ่น เพื่อการสำรวจ ถ่ายภาพ วีดีโอ และอื่นๆ โดยใช้กฎหมายอนุญาตให้โดรนบินในระดับสูงไม่เกิน 250 เมตรได้ อนึ่งเมื่อเดือน ม.ค. นี้มีโดรนลำหนึ่งตกที่สนามหญ้าทำเนียบขาวในสหรัฐทำให้เกิดความตื่นตัวเรื่องความปลอดภัยจากโดรน. ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  ปีที่ 66 ฉบับที่ 20911 วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

สหรัฐตั้งข้อหานักวิชาการจีนขโมยความลับเทคโนฯมือถือ

Loading

วอชิงตัน-อัยการสหรัฐแจ้งข้อหาพลเมืองจีน 6 คน รวมถึงอาจารย์มหาวิทยาลัย 3 คน ขโมยความลับการค้าเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ วันอังคาร (19 พ.ค.) ตามเวลาท้องถิ่นสำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า อัยการสหรัฐส่งฟ้องชาวจีน 6 คน ในข้อหาขโมยความลับการค้าให้กับมหาวิทยาลัยและบริษัทที่อยู่ในความควบคุมของรัฐบาลจีน จำนวนนี้รวมถึง ศ.เฮา จาง มหาวิทยาลัยเทียนจิน สถาบันการศึกษาของรัฐ ที่ถูกจับกุมขณะเดินทางเข้าสนามบินลอสแองเจลิส เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาส่วนอีก 5 คนเชื่อว่าอยู่ในจีน เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐกล่าวว่าคดีนี้เป็นคดีที่ 11 ที่ยื่นฟ้องตามกฏหมายจารกรรมทางเศรษฐกิจปี 2539 ข้อหาเหล่านี้รวมถึงจารกรรมทางเศรษฐกิจ ขโมยความลับการค้าและคบคิดอีกหลายกระทง แต่ละกระทงมีโทษจำคุก 10 – 15 ปี และปรับ นางเมลินดา ฮาก รัฐมนตรียุติธรรมสหรัฐแถลงว่าคดีนี้สะท้อนเทคโนโลยีอ่อนไหวที่บริษัทสหรัฐในซิลลิคอนแวลลีย์และในแคลิฟอร์เนีย คิดค้นพัฒนา ยังล่อแหลมต่อความพยายามอันซับซ้อนที่จะขโมยเทคโนโลยีโดยมีรัฐบาลต่างชาติสนับสนุน รายงานระบุว่าทั้ง 6 คนถูกกล่าวหาว่าร่วมมือกันขโมยเทคโนโลยี FBAR อุปกรณ์สำคัญของโทรศัพท์มือถือที่ช่วยกรองสัญญาณที่ไม่ต้องการออกไป จากบริษัทอวาโก เทคโนโลยี ในแคลิฟอร์เนีย และบริษัทสกายเวิร์กส์ โซลูชันส์ ในแมสซาชูเซตส์ ที่ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เพื่อยื่นจดลิขสิทธิบัตรในจีนและสหรัฐ ทำทีว่าเป็นคนประดิษฐ์เอง…