เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสหรัฐฯ กังวลเกี่ยวกับจุดอ่อนการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน

Loading

       วอชิงตัน (ซีเอ็นเอ็น) กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ หรือ ดีเอชเอส (DHS) กำลังเร่งหาทางแก้ไขจุดอ่อนของการรักษาความปลอดภัยการบิน ซึ่งเจ้าหน้าที่กว่า 900,000 นายส่วนใหญ่นั้นสามารถเข้าถึงงานภายในท่าอากาศยานของประเทศได้เป็นอิสระ การพยายามแก้ไขปัญหา “ภัยคุกคามการรักษาความปลอดภัยภายใน” ควรเป็นไปอย่างเร่งด่วนมากขึ้น หากการตกของเครื่องบินสายการบินรัสเซียในคาบสมุทรไซนาย อียิปต์พิสูจน์แล้วว่าเป็นผลมาจากการวางระเบิดโดยผู้ที่สามารถเข้าถึงเครื่องบินได้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแห่งชาติสหรัฐฯ บางคนอ้างข้อมูลข่าวกรอง กล่าวว่ามีโอกาสที่วัตถุระเบิดจะถูกนำมาไว้ในเครื่องบิน และมีแนวโน้มที่ผู้บุกรุกใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน ชาร์ม เอล ชีค โดยซุกซ่อนวัตถุระเบิดมาบนเครื่องบิน แต่กระนั้นสาเหตุอื่นยังไม่ได้ถูกตัดออกไป เจ้าหน้าที่สอบสวนกล่าวว่ายังไม่พบหลักฐานทางกายภาพกลับคืนมาเพื่อยืนยันข้อสงสัยเกี่ยวกับวัตถุระเบิด และสาเหตุอื่น ๆ ก็ยังไม่ได้ถูกตัดออกไปเช่นกัน ขณะที่สหรัฐฯ ต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการคัดกรองผู้โดยสารด้วยเครื่องสแกนเนอร์และตรวจประวัติ แต่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสหรัฐฯ ระดับสูงบางคนก็ยังกังวลเกี่ยวกับข้อบกพร่องในวิธีการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยาน ความกังวลของสหรัฐฯ ส่วนหนึ่งมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า หน่วยงานควบคุมความปลอดภัยด้านการเดินทางสาธารณะ หรือ ทีเอสเอ (TSA) ซึ่งดูแลความปลอดภัยทั้งการเดินทางทางอากาศนั้นเชื่อมั่นในการควบคุมของท่าอากาศยาะและการตรวจสอบเจ้าหน้าที่การบินในแต่ละประเทศ ซึ่งมีมากกว่า 450 แห่ง ท่าอากาศยานบางแห่งทำสัญญาให้ ทีเอสเอทำการตรวจสอบประวัติ รวมทั้งการตรวจสอบฐานข้อมูลการก่อการร้าย สถานะการเข้าเมืองตามกฎหมาย และประวัติอาชญากรรม เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่มีความรู้ด้านการรักษาความปลอดภัยการบินของสหรัฐฯ กล่าวว่า แม้การรักษาความปลอดภัยของสหรัฐฯ ถูกมองว่าเป็นมาตรฐานที่ดีที่สุด แต่ก็ยังเป็นกังวลเกี่ยวกับวิธีกำหนดคัดกรองเจ้าหน้าที่…

ยิงปืนขึ้นฟ้า อายุความกี่ปี ?

Loading

คนส่วนใหญ่ ไม่ทราบว่า อายุความในคดีอาญา มีกี่ปี บางคน จะพูดรวม ๆ ว่า “อายุความอาญา 10 ปี 20 ปี” ซึ่งหากจะดูตามตัวบทกฎหมายแล้ว  การดูอายุความในความผิดอาญา ต้องดูว่า ความผิดอาญานั้นๆ มีโทษจำคุกกี่ปี  ถ้าโทษเยอะ อายุความจะยาว ถ้าโทษน้อย  อายุความสั้น อายุความในคดีอาญา มีบทบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 “มาตรา 95  ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้  นับแต่วันกระทำความผิด อันเป็นขาดอายุความ 1.ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี 2.สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปี แต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี 3.สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปี ถึงเจ็ดปี 4. ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี 5. หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมา หรือต้องระวางโทษอย่างอื่น ……….” สำหรับการยิงปืนขึ้นฟ้า อาจเข้าข่ายความผิดในสองส่วนคือ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 (พาอาวุธไปในเมือง…) และมาตรา…

ศาลเบลเยียมสั่งเฟซบุ๊กหยุดติดตามผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต

Loading

ศาลเบลเยียมสั่งให้ “เฟซบุ๊ก” หยุดติดตามผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในเบลเยียม ภายใน 48 ชม. ไม่เช่นนั้นจะต้องชดใช้ค่าเสียหายวันละ 2.5 แสนยูโร ชี้ เป็นการคุ้มครองสิทธิประชาชน เมื่อวันจันทร์ที่ 9 พ.ย. ศาลแพ่งแห่งกรุงบรัสเซลส์ได้พิพากษาตัดสินให้เฟซบุ๊กต้องหยุดจัดการรวบรวม ข้อมูลและติดตามความเคลื่อนไหวประจำของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเบลเยียม โดยมีเวลา 48 ชั่วโมงในการแก้ไข มิฉะนั้น จะต้องชดใช้ค่าเสียหายวันละ 250,000 ยูโร ให้กับคณะกรรมาธิการปกป้องความเป็นส่วนตัวแห่งเบลเยียม (Commission belge de protection de la vie privée – CPVP) กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา เครือข่ายสังคมเฟซบุ๊ก ได้มีการแถลงการณ์ตอบโต้ในทันที โดยระบุว่า จะทำการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแพ่งแห่งกรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา “เราได้ใช้ datr-cookie มาเป็นเวลากว่าห้าปีแล้ว เพื่อให้ความมั่นใจแก่ผู้ใช้ที่มีบัญชีเฟซบุ๊ก จำนวน 1,500 ล้านคนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เราจะอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว และกำลังดำเนินการอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้เกิดการชะงักงันในวงกว้าง สำหรับการเข้าใช้บัญชีของผู้ใช้เฟซบุ๊กในเบลเยียม” นายบาร์ท ทอมเมอไลน์ รัฐมนตรีรับผิดชอบการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวกล่าวว่า…

รู้ทัน ‘แก๊งสกิมเมอร์’!! เปิดวิธีรับมือ ก่อนตกเป็นเหยื่อโจรดูดเงิน ATM

Loading

ขึ้นชื่อว่า “มิจฉาชีพ” เทคโนโลยีก้าวล้ำแค่ไหนก็ตามจนทัน และเล่ห์กลของมิจฉาชีพก็ย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เพราะล่าสุด มีผู้เสียหายหลายราย เดินทางเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภายหลังไปกดเงินจากตู้เอทีเอ็ม จู่ๆ เงินในบัญชีที่ฝากไว้กับธนาคารกลับอันตรธานหายไป โดยไม่ทราบสาเหตุ! … ไม่ได้เผชิญหน้ากับโจร หรือคนแปลกหน้า แต่เจอกับเครื่องสกิมเมอร์ เครื่องมือของเหล่ามิจฉาชีพในปัจจุบัน ซึ่งที่ผ่านมาแม้มีผู้เสียหายตกเป็นเหยื่อ ไม่รู้กี่คนต่อกี่คน ออกข่าวทางสื่อ พร้อมการย้ำเตือนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทางธนาคาร แต่ไม่วาย มีผู้ต้องเป็นเหยื่อซ้ำแล้วซ้ำอีก นายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดการป้องกันอาชญากรรมทางการเงินและความปลอดภัย ธ.ไทยพาณิชย์ แก๊งสกิมเมอร์ ไม่เพียงแต่จะสร้างความเดือดร้อนแก่ลูกค้า ผู้ใช้บริการ สร้างความเดือดร้อนแก่ธนาคารเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางด้านความปลอดภัย เศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย โดย ‘ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์’ ได้พุ่งตรงไปยัง “นายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข” รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดการป้องกันอาชญากรรมทางการเงินและความปลอดภัย ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้มาไขข้อข้องใจ ถึงกระบวนการสกิมเมอร์ อย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางป้องกัน ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพเหล่านี้ !! เร่ิมจากกระบวนการที่คนร้าย ต้องการข้อมูลในแถบแม่เหล็ก ของบัตรเอทีเอ็ม หรือ บัตรเครดิตของลูกค้า รวมทั้งรหัสบัตร โดยคนร้ายจะเอาเครื่องมืออุปกรณ์…

จับนักข่าวอียิปต์ข้อหา “เผยแพร่ข้อมูลเท็จอันเป็นภัยต่อประเทศ”

Loading

นายฮอสซัม บาห์กัต (Hossam Bahgat) นักข่าวอิสระและนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน วัย 37 ปี ถูกทางการจับกุม และอาจถูกแจ้งข้อหาว่าเผยแพร่ข้อมูลเท็จ           รายละเอียดเรื่องการควบคุมตัวและสอบสวนนี้ถูกเปิดเผยผ่านเว็บไซต์ Mada Masr ที่ นาย นายฮอสซัม บาห์กัต ทำงานให้โดยรายงานว่านายบาห์กัต ได้รับหมายเรียกจากหน่วยข่าวกรองของทหารเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (5 พ.ย. 2558) และเขาได้ไปที่หน่วยบัญชาการใหญ่เมื่อเช้าวันอาทิตย์ โดยที่เขาไม่ได้รับอนุญาตให้นำโทรศัพท์มือถือ และทนายความเข้าไปด้วย           นายบาห์กัตถูกซักถามอยู่นานถึง 9 ชั่วโมง ขณะนี้ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาใด แต่นายบาห์กัตบอกว่าเขาอาจถูกแจ้งข้อหา “เผยแพร่ข้อมูลคลาดเคลื่อนที่เป็นภัยกับผลประโยชน์ของชาติ”           ทางเว็บไซต์ Mada Masr รายงานว่า นายบาห์กัตยังถูกกักตัวอยู่ในสำนักงานอัยการทหาร           ขณะที่องค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล  ระบุว่า การจับกุมผู้สื่อข่าวอิสระรายนี้ เป็น “การตอกฝาโลง”  อีกครั้งต่อปัญหาเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในอียิปต์           ประชาชนนับหมื่นคนถูกจับกุมคุมขังนับตั้งแต่กองทัพโค่นอำนาจและขับไล่นายโมฮัมเหม็ด มอร์ซี อดีตประธานาธิบดีอียิปต์ เมื่อปี 2556        …

อินเดียเตรียมแต่งตั้งตำรวจข้ามเพศคนแรกของประเทศ

Loading

รัฐทมิฬนาฑูเตรียมแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจข้ามเพศคนแรกของประเทศ หลังจากศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ เค ปริธิกา ยาชินี ซึ่งเกิดมาเป็นเพศชายและต่อมาได้ผ่าตัดแปลงเพศเป็นหญิง สมัครเข้ารับราชการเป็นตำรวจในรัฐทมิฬนาฑู อย่างไรก็ตามคณะกรรรมการข้าราชการตำรวจในรัฐแห่งนี้ไม่มีกฎระเบียบรองรับตำรวจที่เป็นเพศที่สาม ปริธิกาจึงยื่นฟ้องให้ศาลวินิจฉัย โดยล่าสุดนี้ศาลในเมืองเจนไนวินิจฉัยว่าเธอสามารถรับราชการเป็นตำรวจได้ สถานีโทรทัศน์เอ็นดีทีวีในอินเดียรายงานว่า เธอตื่นเต้นมากกับคำพิพากษานี้ และนี่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับชุมชนคนข้ามเพศ ทั้งนี้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ศาลฎีกาอินเดียได้มีคำพิพากษาให้ยอมรับกลุ่มคนข้ามเพศเป็นเพศที่สาม ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลจะต้องสงวนตำแหน่งงานและที่นั่งในสถาบันการศึกษาไว้ให้กลุ่มคนข้ามเพศ ให้สอดคล้องกับแนวทางที่ปฏิบัติกับชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ คาดว่าในอินเดียมีคนข้ามเพศอยู่ราว 2,000,000 คน ภาพประกอบ เค ปริธิกา ยาชินี ที่มา เฟสบุคเพจ บีบีซีไทย – BBC Thai