อังกฤษเผยรายละเอียดแผนสอดแนมทางออนไลน์

Loading

อังกฤษเผยรายละเอียดแผนสอดแนมทางออนไลน์ เตรียมออกกฎหมายสั่งเก็บข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตของชาวบ้านได้นาน 1 ปี รัฐบาลอังกฤษเผยแพร่แผนยกเครื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอดแนมทางออนไลน์ โดยกำหนดแนวทางให้ตำรวจและหน่วยงานด้านความมั่นคงสามารถเข้าดูรายละเอียดการสื่อสารทางออนไลน์ของประชาชนได้ และบริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องจัดเก็บข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตของลูกค้าไว้เป็นเวลา 1 ปี นางเทเรซา เมย์ รมว.มหาดไทยอังกฤษ เปิดเผยว่าข้อเสนอตามแผนดังกล่าวซึ่งจะบรรจุอยู่ในร่างกฎหมายว่าด้วยอำนาจในทางสืบสวน (Investigatory Powers Bill) ที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและสภาขุนนาง ได้กำหนดให้ตำรวจและเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงสามารถดูรายชื่อเว็บไซต์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเปิดดูได้ โดยไม่จำเป็นต้องคำสั่งจากศาล อย่างไรก็ดี จะมีมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้หน่วยงานความมั่นคงและหน่วยข่าวกรองสอดแนมดูรายละเอียดเนื้อหาการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชนได้ทั้งหมด นางเมย์ กล่าวต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่าเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องมีอำนาจตามที่เสนอดังกล่าวเพื่อป้องกันอาชญากรรมและปราบปรามการก่อการร้าย นอกจากนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวยังกำหนดรายละเอียดที่เป็นข้อเสนออื่น ๆ รวมทั้งวิธีการที่รัฐจะสามารถเจาะเข้าไปยังอุปกรณ์และจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากที่เคลื่อนไหวอยู่บนอินเทอร์เน็ตได้ อันเป็นการให้อำนาจทางกฎหมายแก่ศูนย์บัญชาการการสื่อสารของรัฐบาลอังกฤษ (GCHQ) ซึ่งเคยกระทำดังกล่าวโดยไม่เปิดเผยมาแล้ว เช่นที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน เคยออกมาระบุ ร่างกฎหมายดังกล่าวยังกำหนดด้วยว่าเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่บริษัทของอังกฤษจะต้องให้ความช่วยเหลือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายให้เจาะเข้าไปยังอุปกรณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ หากสามารถทำได้ในทางปฏิบัติ ให้อำนาจคณะผู้พิพากษาในการยับยั้งการสอดแนมข้อมูลโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย กำหนดบทลงโทษทางอาญาโดยมีโทษจำคุกสูงสุด 2 ปีแก่ผู้ที่ได้รับข้อมูลการสื่อสารจากผู้ให้บริการโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยล่วงรู้หรือเลินเล่อ สงวนอำนาจการสืบสวนบางประการให้เทศบาลท้องถิ่น เช่น ตรวจสอบการโกงการรับสวัสดิการ แต่เทศบาลท้องถิ่นจะไม่มีอำนาจเข้าถึงข้อมูลทางออนไลน์ที่บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจัดเก็บไว้ ตำรวจจะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข่าวของสื่อได้โดยปราศจากคำสั่งของผู้พิพากษา เป็นต้น ด้านชามี จักราบาร์ตี ผู้อำนวยการกลุ่มรณรงค์เพื่อสิทธิพลเมือง Liberty กล่าวว่าร่างกฎหมายดังกล่าวถือได้ว่ารุกรานความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตของคนทุกคนในอังกฤษ นับจากนี้คงต้องจับตาดูท่าทีของสภาว่าจะดำเนินการอย่างไรในการสร้างความสมดุลระหว่างความเป็นส่วนตัวและการสอดแนม ขณะที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ได้โพสต์ข้อความทางทวิตเตอร์ ว่า…

กำแพงตรวจจับบุคคลด้วยสัญญาณวายฟาย

Loading

นักวิจัยที่ห้องทดลองวิทยาการคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์คิดค้นระบบที่สามารถตรวจบุคคลขณะกำลังเดินผ่านเข้ามาใกล้กำแพง โดยใช้เพียงสัญญาณวายฟาย ระบบนี้ทำงานโดยการใช้สัญญาณตรวจจับแสงที่สะท้อนกลับจากตัวคนและวิเคราะห์ข้อมูลทางกายภาพที่ได้จากแสงสะท้อนนั้น โดยระบบนี้สามารถจำแนกคน 15 คนได้ถูกต้องแม่นยำราว 90 % ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยมีแผนจะปรับใช้เทคโนโลยีนี้ในการช่วยสอดส่องดูแลผู้สูงอายุภายในบ้าน เพื่อช่วยตรวจจับและป้องกันการหกล้มและการเกิดอุบัติเหตุที่บ้าน ผู้สื่อข่าวบีบีซีมีโอกาสคุยกับศ. ดีน่า คาทาบิถึงรายละเอียดของโครงการนี้ ที่มา เฟสบุคเพจ บีบีซีไทย – BBC Thai

นักเลงคีย์บอร์ดเตรียมซีด “ปอท.” ลุยเข้ม ไลค์ คอมเม้นท์ แชร์ โพสต์ ไม่คิด มีสิทธิ์ติดคุก

Loading

พ.ต.อ.สมพร แดงดี รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (รองผบก.ปอท.) ในฐานะผู้รับผิดชอบและดูแลการกระทำความผิดเกี่ยวเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ ลุยเข้มขจัดการกระทำผิดกฎหมายบนโลกออนไลน์ หลังจำนวนผู้กระทำผิดเพิ่มขึ้น เร่งประชาสัมพันธ์ข้อมูลกฎหมายและพรบ. คอมพิวเตอร์ ย้ำชัดหมดเวลาอ้างวลีฮิต “รู้เท่าไม่ถึงการณ์”  จากนี้หากทำผิด จับแน่ ปรับแน่ คุกแน่ๆ เพื่อเร่งสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(ปอท.) จึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรม “โพสต์ต้องคิด…คลิกเสี่ยงคุก!” ภายใต้ “โครงการออนไลน์ใสสะอาด เรารักในหลวง”  เพื่อรณรงค์ให้ความรู้ใน 2 ประเด็นคือ 1. ให้ประชาชนเข้าใจกฎหมายในการใช้สื่อออนไลน์อย่างปลอดภัยและ 2. เพื่อให้ประชาชนรู้ทันกลอุบายต่างๆเพื่อสามารถป้องกันตนเองและไม่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมทางเทคโนโลยีต่อไป โดยหลังจากนี้เป็นต้นไป จะดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวอย่างจริงจัง หมดเวลาจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย ดังนั้นประชาชนต้องรู้กฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายหมิ่นประมาทซึ่งมีประชาชนเข้ามาแจ้งความเพื่อดำเนินคดีเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ด้วยเหตุนี้กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีจึงได้รวบรวม 10 พฤติกรรมที่ประชาชนมักกระทำผิดพร้อมโทษที่จะได้รับ ชี้ชัดประชาชนต้องหันมาสนใจกฎหมาย และ พรบ.คอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง เนื่องจากการกระทำผิดด้วยการ กดไลค์ คอมเม้นท์ แชร์ โพสต์ เพียงครั้งเดียว ก็สามารถทำให้ท่านติดคุกได้ ต่างจากในอดีตซึ่งประชาชนต้องทำความผิดอาญาร้ายแรงถึงจะติดคุก สำหรับข้อมูล 10 พฤติกรรมเสี่ยงคุก ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้รวบรวมไว้ให้ประชาชนมีดังนี้ 1.Upload รูปลามกอนาจารทั้งหลายทั้งปวงในสากลโลก ไม่ว่าจะรูปตัวเองหรือรูปคนอื่น/…

“ไนซ์ ซีเคียวริตี้” ระบบจัดการด้านความปลอดภัย

Loading

สถานการณ์ด้านความปลอดภัยและความมั่นคงที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยเราเมื่อไม่นานมานี้คงให้เห็นชัดเจนว่าการมี “กล้องวงจรปิด” ติดทั่วบ้านทั่วเมืองเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เหตุการณ์อย่างเช่นเหตุลอบวางระเบิดสนั่นโลกในใจกลางกรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ บ่งบอกให้เห็นถึงความสำคัญของ “การนำมาใช้” ว่าสำคัญไม่น้อยกว่า “การมี” ภาพจากกล้องวงจรปิด แน่นอนว่า “การมี” ย่อมดีกว่า “ไม่มี” แต่ถ้ามีโดยไม่คำนึงถึงการนำมาใช้งานก็มักจะ “ยุ่ง” ทีหลังเสมอ ตัวอย่างเช่นเหตุระเบิดพระพรหมที่ว่านั้น สมมุติว่ากล้องวงจรปิดในบริเวณดังกล่าวมีอยู่ 500 ตัว เราต้องการตรวจสอบก่อนหน้าและหลังเวลาเกิดเหตุไปราว 30 นาที รวมแล้วเป็น 1 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องนั่งตรวจสอบหาตัวและพฤติกรรม “ผู้ต้องสงสัย” ในเทปบันทึกภาพที่รวมความยาวเข้าด้วยกันถึง 500 ชั่วโมง เพ่งกันตาเเฉะ 10 วัน ยังไม่ครบถ้วน ทารุณกรรมผู้รับผิดชอบกันชัดๆ! ผมถึงรู้สึกโล่งใจแทนเจ้าหน้าที่อยู่ไม่น้อยที่ได้รับทราบจาก คุณสมหมาย ดำเนินเกียรติ กรรมการผู้จัดการบริษัท วิชั่นแอนด์ซีเคียวริตี้ ซิสเต็ม ในเครือสามารถเทเลคอม ว่าทางบริษัทได้นำเอาระบบซอฟต์แวร์อำนวยการด้านความมั่นคงปลอดภัยในระดับโลกเข้ามาให้บริการในไทยแล้ว “ไนซ์ ซีเคียวริตี้” คือระบบดังกล่าว ซึ่งเป็นของบริษัท ไนซ์ ซิสเต็ม แห่งอิสราเอล ประเทศที่การอำนวยการด้านความมั่นคงปลอดภัยถูกให้ความสำคัญประหนึ่งเป็นลมหายใจเข้าออก และถูกนำไปติดตั้งใช้กันอยู่ทั่วโลก…

เปิดประสิทธิภาพ ‘CCTV เทคโนโลยีใหม่’ ลดภาระตำรวจ-อาชญากรรมบนถนน

Loading

ผมเห็นด้วยที่จะใช้ระบบ TLEC เพื่อลดปัญหาการจราจรและภาระของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลายคนคิดว่า เอากล้องมาจับ เพราะอยากได้ค่าปรับเยอะๆ แต่เรากำลังหาวิธีที่จะควบคุมผู้ขับขี่ให้มีวินัยได้ตลอด 24 ชม. เพื่อลดปัญหาการจราจรลง… ผ่านมากว่า 2 เดือนแล้ว นับจากช่วงค่ำของวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา เสียงระเบิดดังสนั่นขึ้นที่ศาลพระพรหม บริเวณแยกราชประสงค์ ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ เคยมีการชุมนุมนับครั้งไม่ถ้วน จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 20 ราย และบาดเจ็บอีกนับร้อยคน ซึ่งหลักฐานสำคัญในการช่วยคลี่คลายประเด็นสำคัญในคดีดังกล่าว คือ กล้องวงจรปิด หรือ CCTV ที่สามารถบันทึกเหตุการณ์ ภาพเส้นทางการหลบหนีของชายเสื้อเหลือง นับว่าเป็นประโยชน์ในการแกะรอยคนร้าย แต่การจับกุมตัวคนร้ายยังใช้เวลานาน เนื่องจากกล้อง CCTV ที่ติดอยู่บริเวณท้องถนน จับภาพไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ไม่สามารถระบุข้อมูลรวมไปถึงลักษณะรูปพรรณสัณฐานที่ชัดเจน ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงมีแนวคิดที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิดให้ทันสมัย เพิ่มยิ่งขึ้น ทางทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ พล.ต.อ.ประวุฒิ ถาวรศิริ ที่ปรึกษา สบ10 ในฐานะ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถึง ประสิทธิภาพของระบบ “Traffic Laws Enforcement Camera”…