CAC ยกร่างกฎควบคุมการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า

Loading

  สำนักงานไซเบอร์สเปซจีน (CAC) เผยว่าได้ยกร่างกฎควบคุมความมั่นคงปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า   CAC ชี้ว่าต้องมีการควบคุมให้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในจุดประสงค์เฉพาะและต้องมีความจำเป็นที่พอเหมาะ ภายใต้มาตรการเชิงป้องกันที่เข้มงวด   นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้ายังต้องได้รับความยินยอมจากปัจเจกบุคคล อีกทั้งยังควรใช้ระบบการยืนยันตัวตนที่ไม่ใช่ข้อมูลไบโอเมตริกซ์หากมีประสิทธิภาพเท่ากัน   ในร่างกฎของ CAC ยังห้ามการใช้อุปกรณ์ยืนยันตัวตนและการจับภาพในห้องพักโรงแรม ห้องน้ำสาธารณะ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และสถานที่อื่น ๆ ที่จะละเมิดความเป็นส่วนตัว   การติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ควรมีเป้าหมายเพื่อความปลอดภัยสาธารณะเท่านั้นและต้องมีป้ายเตือนที่เห็นเด่นชัดวางอยู่ใกล้ ๆ ด้วย     ที่มา   Reuters       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                    แบไต๋                     /…

สิงคโปร์เข้ม ส่ง F-16 ขึ้นสกัด หลังพบเฮลิคอปเตอร์ต่างชาติบินล้ำเข้ามาในน่านฟ้า

Loading

  เครื่องบินขับไล่ F-16 ของสิงคโปร์ถูกส่งขึ้นบินสกัดในทันที หลังพบว่ามีเฮลิคอปเตอร์ต่างชาติล้ำเข้าน่านฟ้า   กองทัพอากาศสิงคโปร์ออกแถลงการณ์ระบุว่าได้ส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 จำนวน 2 ลำ ขึ้นปฏิบัติภารกิจในช่วงเที่ยงของวันที่ 9 ส.ค. 2023 ทันทีที่พบว่ามีเฮลิคอปเตอร์ของต่างชาติบินล้ำเข้าสู่น่านฟ้าสิงคโปร์ ก่อนจะยกเลิกภารกิจหลังพบว่าไม่มีภัยคุกคามความมั่นคง   แถลงการณ์ของกองทัพเผยว่าได้ส่ง F-16 ขึ้นบิน เมื่อช่วง 12.40 น. ตามเวลาท้องถิ่น จากนั้นเมื่อตรวจพบในเบื้องต้นแล้ว พบว่าเฮลิคอปเตอร์ลำดังกล่าวเป็นของพลเรือน ที่จดทะเบียนกับบริษัทเอกชนของมาเลเซีย   ปฏิบัติการนี้ส่งผลทำให้เกิดความล่าช้าของเที่ยวบิน ในสนามบินนานาชาติชางงีราว 40 นาที ตั้งแต่เวลา 12.50 น. จนถึงเวลา 13.28 น.มีเที่ยวบินขาเข้าได้รับผลกระทบ 9 เที่ยวบิน และเที่ยวบินขาออกอีก 11 เที่ยวบิน   บัญชีเฟซบุ๊กของกองทัพอากาศสิงคโปร์ยังได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ทั้งภาคพื้นดินและภาคอากาศ ที่เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา ในการปกป้องน่านฟ้าของสิงคโปร์       ที่มา : https://www.channelnewsasia.com/singapore/f-16-jets-scrambled-helicopter-mindef-changi-airport-operations-3687481  …

ตร.เกาหลีใต้จะไม่ลังเลในการใช้ปืน หลังเกิดเหตุไล่แทงคน 3 คดีติด

Loading

  ตำรวจเกาหลีใต้ประกาศ จะไม่ลังเลที่จะใช้ปืนอีกต่อไปแล้ว หากเผชิญกับการก่ออาชญากรรมโดยใช้อาวุธมีดอีก หลังเกิดขึ้น 3 คดีติด   “เกาหลีใต้” ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ปลอดภัย ในปี 2021 มีอัตราการเกิดคดีฆาตกรรมต่ำมาก ที่ 1.3 ต่อประชากร 100,000 คนเท่านั้น น้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึงเกือบ 5 เท่า   แต่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ในเกาหลีใต้กลับเกิดคดีฆาตกรรมและไล่แทงอุกอาจกลางเมืองต่อเนื่องกัน จนประชาชนพากันหวาดกลัว และไม่มั่นใจในความปลอดภัยของตัวเอง ว่าวันคืนดี หากเดิน ๆ อยู่จะถูกใครมาไล่แทงหรือไม่     เหตุไล่แทงครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม เกิดเหตุชายวันประมาณ 30 ปี ใช้อาวุธมีดไล่แทงคนในย่านซิลลิมดงของกรุงโซล บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟใต้ดินซิลลิมดง เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บอีก 3 คน ขณะตำรวจเข้าควบคุมตัวผู้ก่อเหตุได้ตะโกนว่า “ผมไม่ต้องการมีชีวิตอยู่อีกต่อไปแล้ว”   ผ่านไปราว 2 สัปดาห์ ในวันที่ 3 สิงหาคม…

สหรัฐฯ ลั่นยังพร้อมแชร์ข่าวกรองให้ ‘ญี่ปุ่น’ หลังมีข่าวถูก ‘แฮ็กเกอร์จีน’ เจาะเครือข่ายไซเบอร์ทางทหาร

Loading

  กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ยืนยันวานนี้ (8 ส.ค.) ว่ายังคงเชื่อมั่นและพร้อมที่จะแบ่งปันข่าวกรองให้ญี่ปุ่น หลังสื่อดังในอเมริกาออกมาแฉว่าหน่วยแฮ็กเกอร์ทางทหารของจีนได้ทำการเจาะเครือข่ายข้อมูลด้านกลาโหมที่เปราะบางที่สุดของญี่ปุ่นได้แล้ว   หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เผยแพร่รายงานเมื่อวันจันทร์ (7) โดยอ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และญี่ปุ่นทั้งอดีตและปัจจุบันซึ่งระบุว่า แฮ็กเกอร์ของกองทัพจีนได้เจาะเครือข่ายกลาโหมชั้นความลับของญี่ปุ่นเมื่อปี 2020 และสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับแสนยานุภาพทางทหารของกองกำลังญี่ปุ่น ตลอดจนแผนงาน และผลการประเมินข้อบกพร่องต่าง ๆ   ฮิโรคาซุ มัตสึโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระบุในงานแถลงข่าววานนี้ (8 ส.ค.) ว่า ญี่ปุ่นไม่สามารถยืนยันได้มีข้อมูลด้านความมั่นคงใด ๆ รั่วไหลออกไปหรือไม่   อย่างไรก็ตาม วอชิงตันโพสต์อ้างข้อมูลจากอดีตนายทหารสหรัฐฯ คนหนึ่งซึ่งยอมรับว่า ปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งนี้จัดว่า “รุนแรงและเลวร้ายอย่างน่าตกตะลึง” และผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ (NSA) ถึงขั้นต้องบินไปโตเกียวเพื่อหารือกับรัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น ซึ่งขอให้ทางสหรัฐฯ แจ้งเรื่องนี้ให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นทราบ   วอชิงตันโพสต์ระบุด้วยว่า แม้ญี่ปุ่นจะยกระดับป้องกันความปลอดภัยของเครือข่ายข้อมูลกลาโหม แต่เจ้าหน้าที่ผู้ไม่ประสงค์ออกนามหลายคนเชื่อว่ามาตรการเหล่านี้ “ยังไม่เพียงพอ” ที่จะสกัดหน่วยจารกรรมจีน และอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการแชร์ข้อมูลข่าวกรองที่มากยิ่งขึ้นระหว่างเพนตากอนกับกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นในอนาคต   ล่าสุด ซาบรีนา ซิงห์ โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับรายงานของวอชิงตันโพสต์ โดยขอให้โตเกียวเป็นฝ่ายชี้แจงเอง แต่ย้ำว่าสหรัฐฯ…

พ่อลูก ‘ชาวไต้หวัน’ โดนจับข้อหาสอดแนมความลับให้จีน

Loading

  นักธุรกิจไต้หวันพร้อมกับลูกชาย ถูกฟ้องร้องในข้อหาจ้างวานทหาร 2 นาย ช่วยรวบรวมข้อมูลลับการฝึกซ้อมกองทัพไต้หวันครั้งใหญ่ให้กับจีน   สำนักข่าวเอเอฟพีอ้างสำนักอัยการสูงสุดไต้หวันรายงานว่า หลังจากนักธุรกิจไทเปแซ่ฮวงรายนี้ย้ายไปทำการค้าที่มณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ในปี 2558 เขาและลูกชายถูกเกลี่ยกล่อมจากเจ้าหน้าที่จีน ให้จัดหาเอกสารลับด้านความมั่นคงของไต้หวันให้กับจีน   “พ่อลูกคู่นี้ จงใจคุกคามความมั่นคงไต้หวัน และร่วมสร้างเครือข่ายล้วงความลับไต้หวันในเกาะไทเป เพื่อชักจูงใจทหารเกณฑ์ให้ทำงานด้วย” ใจความหนึ่งระบุในแถลงการณ์อัยการสูงสุดไต้หวันที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ (7 ส.ค.)   พ่อลูกแซ่ฮวงสองคนนี้ ถูกตั้งข้อหาละเมิดกฎหมายความมั่นคงและกฎหมายความคุ้มครองความลับของไต้หวัน ส่วนทหารเกณฑ์ถูกตั้งข้อหาละเมิดประมวลกฎหมายอาญาของกองทัพไต้หวัน โทษฐานทุจริต   “ปัจจุบัน ทหารเกณฑ์สองคนนี้ทำงานให้กับหน่วยป้องกันภัยทางอากาศและขีปนาวุธของกองทัพอากาศไต้หวัน ซึ่งนักธุรกิจพ่อในคดีนี้ได้ขอให้พวกเขาลงนามในหนังสือความตกลงเพื่อแสดงความภักดีต่อปักกิ่ง”รายงานระบุ   หลังจากนั้นพวกเขาได้พยายามรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกซ้อมฮั่นกวง ซึ่งเป็นการซ้อมรบประจำปีที่ใหญ่ที่สุดของไต้หวันเมื่อสองสัปดาห์ และเอกสารทางการทหารอื่น ๆ เพื่อแอบส่งมอบให้เจ้าหน้าที่จีนด้วยตัวเองหรือส่งผ่านทางโทรศัพท์มือถือ   อย่างไรก็ตาม สองสามปีที่ผ่านมาจีนกดดันทางทหารและการเมืองเกาะไทเปอย่างหนัก โดยอ้างว่าไต้หวันเป็นเขตปกครองตนเองของจีน ซึ่งได้สร้างความตึงเครียดระหว่างกันมากขึ้น       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                 …

อิรักปิดกั้น Telegram ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูล

Loading

  กระทรวงการสื่อสารอิรักเผยว่าได้ปิดกั้นแอป Telegram ด้วยข้ออ้างด้านความมั่นคงแห่งชาติ และความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล   สำนักข่าว Reuters ชี้ว่า Telegram ได้รับความนิยมในหมู่ชาวอิรักซึ่งใช้ในการสื่อสารและยังเป็นแหล่งข่าวสารและเนื้อหาต่าง ๆ   บางช่องบน Telegram ในอิรักมีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมหาศาล ทั้ง ชื่อ ที่อยู่ และความสัมพันธ์เชิงครอบครัว   กระทรวงการสื่อสารเผยว่าได้เคยขอให้แอปปิดแพลตฟอร์มที่ปล่อยข้อมูลขององค์กรของรัฐและข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมือง แต่ Telegram ไม่ตอบสนองต่อคำขอดังกล่าว     ที่มา Reuters         ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                    แบไต๋                   …