กรมเจ้าท่า ประชุม”ยกระดับการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือ”ประเทศไทย

Loading

    กรมเจ้าท่า ประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับ”นายงานรักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ (PFSO WORKSHOP)” ตามข้อกำหนดและข้อบังคับด้านความปลอดภัยทางทะเลสากล ยกระดับการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศของไทย   วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า (ด้านปลอดภัย) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับนายงานรักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ (PFSO WORKSHOP) โดยมีนายจรินทร์ บุตรวงษ์ รักษาการหัวหน้ากลุ่มตรวจท่า พร้อมด้วยเจ้าพนักงานตรวจท่า กลุ่มตรวจท่า สำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมบุษบง 3 โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพฯ     สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับนายงานรักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ (PFSO WORKSHOP) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2566 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน Department for Transport ประเทศอังกฤษ และกรมเจ้าท่า ประเทศไทย โดย กลุ่มตรวจท่า สำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ…

ผู้นำจีนเตือน “ความเสี่ยงด้านความมั่นคง” จาก “ปัญญาประดิษฐ์”

Loading

  ประธานาธิบดีจีนขอให้หน่วยงานทุกแห่งที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเพิ่มขึ้น เพื่อควบคุมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งถือเป็น “อันตรายต่อความมั่นคง”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ว่าประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน กล่าวระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการด้านความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เรียกร้องการยกระดับ “ธรรมาภิบาลด้านความมั่นคง” เกี่ยวกับเครือข่ายด้านความมั่นคงและปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)   สีกล่าวต่อไปว่า ทุกภาคส่วนต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับ “สถานการณ์เลวร้ายที่สุด” และ “ฉากทัศน์ที่รุนแรง” พร้อมทั้งต้านทาน “ทุกปัญหาซึ่งจะถาโถมเข้ามาใส่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม” ขณะเดียวกัน ผู้นำจีนเตือนเกี่ยวกับ “ความซับซ้อนและความรุนแรงของปัญหาด้ายความมั่นคงแห่งชาติ ที่จีนกำลังเผชิญเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”   China’s ruling Communist Party is calling for beefed-up national security measures, highlighting the risks posed by advances in artificial intelligence…

โตโยต้า พบฐานข้อมูลสำคัญของลูกค้ารั่วไหล อาจถูกบุคคลภายนอกเข้าถึง

Loading

  บริษัทกำลังตรวจสอบปัญหานี้ตามกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศโดยไม่ได้ระบุว่ามีลูกค้ากี่รายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้และอยู่ในประเทศใด   วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประกาศว่า ข้อมูลของลูกค้าในของลูกค้าในบางประเทศในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) อาจถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2559 – เดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งข้อมูลของลูกค้าที่อาจเข้าถึงได้จากภายนอก ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล และหมายเลขประจำรถและหมายเลขทะเบียน     โดยปัญหาล่าสุดถูกพบหลังการตรวจสอบระบบคลาวด์ที่จัดการโดย Toyota Connected Corp หลังจากเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ที่ข้อมูลรถยนต์ของผู้ใช้ 2.15 ล้านรายในญี่ปุ่นหรือฐานลูกค้าเกือบทั้งหมดที่ลงทะเบียนใช้งานแพลตฟอร์มบริการคลาวด์หลักตั้งแต่ปี 2555 ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะจากความผิดพลาดของมนุษย์   ในขณะที่เราเชื่อว่าเหตุการณ์นี้เกิดจากการเผยแพร่และการบังคับใช้กฎการจัดการข้อมูลไม่เพียงพอ … เราได้ติดตั้งระบบเพื่อตรวจสอบการกำหนดค่าคลาวด์   โฆษกของโตโยต้า กล่าวว่า บริษัทกำลังตรวจสอบปัญหานี้ตามกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศโดยไม่ได้ระบุว่ามีลูกค้ากี่รายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้และอยู่ในประเทศใด และลูกค้า Lexus ได้รับผลกระทบด้วยหรือไม่   นอกจากนี้ โตโยต้า ยังได้ตรวจสอบด้วยว่ามีการคัดลอกของบุคคลที่สามหรือใช้ข้อมูลลูกค้าหรือไม่…

หนุ่มศรีลังกาจิตป่วนกระตุกขวัญคนกรุงโทรขู่วางระเบิดสถานทูตอเมริกา ตร.แกะรอยรวบทันควัน

Loading

  วันที่ 31 พ.ค.66 พล.ต.ต.ธวัชเกียรติ จินดาควรสนอง ผบก.น.5 ได้สั่งการให้ พ.ต.อ.นิมิตร นูโพนทอง ผกก.สน.ลุมพินี และ พ.ต.ท.ภราดร สุวรรณรัตน์ สว.สส.สน.ลุมพินี นำกำลังจับกุมตัว ชายชาวศรีลังกา อายุ 42 ปี หลังโทรข่มขู่วางระเบิดหน้าสถานทูตอเมริกา   สืบเนื่องจากตำรวจ สน.ลุมพินี ได้รับการประสานจากสถานทูตอเมริกา ว่าเมื่อกลางดึกที่ผ่านมา ได้มีชายรายหนึ่ง โทรศัพท์มาข่มขู่ว่าจะมีการวางระเบิดสถานทูต ในช่วงเวลา 10.00 น.ของวันนี้ (31 พ.ค.) โดยบอกว่าอาศัยอยู่ย่านพระโขนง จากนั้นทางตำรวจได้จัดกำลังเฝ้าระวังเหตุ พร้อมทั้งลงพื้นที่สืบสวนเบาะแสคนร้ายทันที     กระทั่งเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา มีชายท่าทีมีพิรุธมาปรากฎตัวที่บริเวณหน้าสถานทูต จึงเข้าตรวจค้น พบเพียงโน้ตบุ๊ก 1 เครื่อง และหนังสือเดินทางเท่านั้น ก่อนนำตัวทำการสอบสวนที่ สน.ลุมพินี โดยมี พล.ต.ต.ธวัชเกียรติ เดินทางมาสอบปากคำด้วยตัวเอง   สอบสวนเบื้องต้น เจ้าตัวให้การรับสารภาพว่า เป็นผู้ที่โทรศัพท์ข่มขู่ทางสถานทูตจริง โดยได้เดินทางมาจากประเทศศรีลังกา…

ผู้พิพากษารัฐเท็กซัสออกกฎให้ทนายตรวจสอบเนื้อหาที่สร้างจาก AI หลังมีกรณีใช้คดีปลอมในชั้นศาล

Loading

  หลังจากที่ ทนาย Steven Schwartz ถูกลงโทษหลังใช้คดีปลอมจาก ChatGPT มาใช้ในชั้นศาล มาคราวนี้ผู้พิพากษา Brantley Starr ในรัฐเท็กซัสได้กำหนดเกณฑ์ใหม่   ด้วย “ใบรับรองว่าด้วย Generative AI” ซึ่งระบุว่า ทนายที่ว่าความในศาลของเขาจะต้องยืนยันว่า “ไม่มีการใช้ Generative AI (เช่น ChatGPT, Harvey.AI หรือ Google Bard) เพื่อสร้างสำนวนในเอกสารที่ใช้ในชั้นศาล ซึ่งรวมถึง “การอ้างคำพูด การอ้างอิง การถอดความยืนยัน และการวิเคราะห์ทางกฎหมาย” หรือหากมีก็จะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องโดยสื่อสิ่งพิมพ์หรือฐานข้อมูลทางกฎหมายแบบดั้งเดิมซึ่งจัดทำโดยมนุษย์เท่านั้น”   แม้ว่า Brantley Starr จะเป็นผู้พิพากษาเพียงคนเดียวที่เริ่มใช้หลักการนี้ แต่ก็มีแนวโน้มว่าผู้อื่นจะหันมายึดถือกฎนี้เช่นกัน โดยผู้พิพากษา Starr ระบุด้วยว่า AI อาจเป็นเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ แต่การใช้งานจะต้องมีการระบุอย่างชัดเจนและถูกตรวจสอบความถูกต้อง     ที่มา : TechCrunch     ——————————————————————————————————————————————————–…

ดีอีเอส-ไปรษณีย์ไทยดัน Digital Post ID ปี 67 มีรหัสแยกของทุกคน

Loading

  ดีอีเอส-ไปรษณีย์ไทย เดินหน้าขับเคลื่อน ดิจิทัลโพสต์ไอดี (Digital Post ID) การจ่าหน้าชื่อ ที่อยู่ทั้งผู้รับและผู้ส่งให้เป็นรูปแบบดิจิทัล ช่วยปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล คาดปี 2567 ประชาชนได้รหัสดิจิทัลโพสต์ไอดีเป็นทางเลือกใช้งานการจ่าหน้าทั่วประเทศ   ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) มอบหมายให้ไปรษณีย์ไทย พัฒนาระบบ Digital Post ID จากรหัสไปรษณีย์รูปแบบตัวเลข 5 หลัก ซึ่งเป็นระบบการขนส่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของคนไทยให้มีความสะดวก ปลอดภัย และแม่นยำมากยิ่งขึ้น   เนื่องจากระบบ Digital Post ID เป็นการระบุข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ที่เจาะจงมากกว่าการใช้รหัสไปรษณีย์แบบเดิม และสามารถระบุพิกัดในแนวตั้งได้ เพื่อรองรับการส่งในอาคารสูง หรือคอนโดมิเนียม ทำให้สิ่งของทางไปรษณีย์ถึงมือผู้รับถูกต้องและรวดเร็วขึ้น   นอกจากนี้ “ดิจิทัลโพสต์ไอดี” ยังสามารถรักษาความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลของภาคประชาชน ตามหลักการของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 และเมื่อข้อมูลส่วนบุคคลในกระบวนการจัดส่งพัสดุไปรษณีย์ได้รับการปกป้องอย่างเหมาะสม จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนและภาคธุรกิจทั่วไปมีความมั่นใจและสะดวกสบายมากขึ้นในการทำธุรกรรมต่างๆ   ทั้งนี้…