ศาลสหรัฐเผย “เอฟบีไอ” สอดแนมการสื่อสารส่วนตัวของคนอเมริกันเป็นประจำ

Loading

    เอกสารจากศาลเเสดงการสอดแนมข่าวกรองต่างประเทศ (ฟีซา) เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) มักละเมิดความเป็นส่วนบุคคลของชาวอเมริกัน ด้วยการลักลอบเข้าถึงฐานข้อมูล เพื่อค้นหาชื่อของเหยื่ออาชญากรรม และผู้เข้าร่วมการประท้วง   สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ว่า ฐานข้อมูลดังกล่าว ซึ่งเอฟบีไอเข้าถึงราว 278,000 ครั้ง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประกอบด้วยอีเมลส่วนตัว, ข้อความ และการสื่อสารอื่น ๆ ที่สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (เอ็นเอสเอ) ใช้ค้นหา เมื่อมีการสอดแนมชาวต่างชาติ   ถึงแม้ว่าเอฟบีไอควรเข้าถึงฐานข้อมูลของเอ็นเอสเอ เฉพาะเมื่อมีการสืบสวนปัญหาข่าวกรองต่างประเทศ แต่ความคิดเห็นของศาล แสดงให้เห็นว่า พวกเขาใช้ฐานข้อมูลนี้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสอบสวนคดีภายในประเทศด้วย ซึ่งในบางกรณี มันไม่มีข่าวกรองต่างประเทศ หรืออาชญากรรมในประเทศ ที่เป็นเหตุผลรองรับ ให้เอฟบีไอใช้สิทธิเข้าถึงฐานข้อมูลได้   อนึ่ง เอกสารข้างต้นถูกเผยแพร่ ขณะที่สภาคองเกรสกำลังอภิปราย เรื่องการต่ออายุมาตรา 702 ซึ่งเป็นกฎหมายที่อนุญาตให้เอ็นเอสเอ สามารถเข้าถึงบัญชีอินเทอร์เน็ตที่มีสหรัฐเป็นเจ้าของ เพื่อสอดแนมเป้าหมายข่าวกรองต่างประเทศ โดยสมาชิกสภาหลายคนกล่าวว่า มาตราข้างต้น…

ปรับเมต้าอ่วม 4.4 หมื่นล้าน ปมข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กยุโรป-หวั่นสหรัฐสอดแนม

Loading

    ปรับเมต้าอ่วม 4.4 หมื่นล้าน – วันที่ 22 พ.ค. รอยเตอร์รายงานว่า คณะกรรมาธิการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่ไอร์แลนด์ มีคำสั่งลงโทษปรับ “เมต้า” ผู้ให้บริการเฟซบุ๊กเป็นเงิน 1.2 พันล้านยูโร หรือกว่า 4.4 หมื่นล้านบาท ถือเป็นโทษปรับมูลค่าสูงสุดเท่าที่เอกชนไอทีเคยเผชิญมา   โทษปรับดังกล่าวของคกก.ไอร์แลนด์ หรือดีพีซี เกิดขึ้นหลังเมต้าล้มเหลวที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปเมื่อปี 2563 ที่ให้ยุติความร่วมมือการส่งข้อมูลระหว่างยุโรปกับสหรัฐอเมริกา โดยดีพีซียังขีดเส้นตายให้เมต้าต้องยุติการโอนถ่ายข้อมูลภายใน 5 เดือน   ค่าปรับของดีพีซีนั้นนับว่าสูงที่สุดเท่าที่ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีเผชิญมา สูงยิ่งกว่าค่าปรับที่แอมะซอนเคยถูกสั่งลงโทษมูลค่า 746 ล้านยูโร หรือกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท เมื่อปี 2564   คดีความการต่อสู้เรื่องความปลอดภัยข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กในทวีปยุโรปเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน มีจุดเริ่มต้นจากนายแม็กซ์ เชร็มส์ นักรณรงค์ชาวออสเตรีย ฟ้องร้องต่อทางการโดยระบุถึงความเสี่ยงที่ชาวยุโรปอาจถูกสำนักงานความมั่นคงสหรัฐฯ หรือเอ็นเอสเอล้วงข้อมูล ตามที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนวเด็น อดีตลูกจ้างเอ็นเอสเอ ออกมาเปิดเผยต่อประชาคมโลก   ด้านเมต้า ระบุว่า…

Apple แบน ChatGPT และแพลตฟอร์มอื่น ๆ ห้ามพนักงานใช้งาน

Loading

    บริษัท แอปเปิล (Apple) แบน ChatGPT และแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ (AI) อื่น ๆ ห้ามพนักงานใช้งาน   วันที่ 18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่าบริษัท แอปเปิล (Apple) บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกประกาศแบนแชทจีพีที (ChatGPT) และแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ (AI) อื่น ๆ เช่น การสร้างรูปภาพ วิดีโอและการเขียนโปรแกรม Copilot ของ GitHub โดยห้ามพนักงานใช้งานเนื่องจากข้อกังวลเกี่ยวกับการรั่วไหลของความลับบริษัท   ก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายน บริษัท โอเพนเอไอ (OpenAI) ผู้พัฒนาบริการแชทจีพีที (ChatGPT) ได้เพิ่มฟีเจอร์ไม่ระบุตัวตนให้กับผู้ใช้งานสามารถเลือกได้เพื่อไม่ให้ระบบเก็บข้อมูลการใช้งานหรือข้อมูลอื่น ๆ เพื่อนำไปใช้ฝึกสอนปัญญาประดิษฐ์ บริษัท โอเพนเอไอ (OpenAI) ยืนยันว่า ไม่มีนโยบายขโมยข้อมูลจากผู้ใช้งานในองค์กรต่าง ๆ   อย่างไรก็ตามยังมีกระแสข่าวหลายบริษัทแบน นอกจากบริษัท แอปเปิล (Apple)…

กลุ่ม G7 เรียกร้องให้มีมาตรฐานควบคุมความน่าเชื่อถือของ AI

Loading

    ผู้นำกลุ่มประเทศ (G7) เรียกร้องให้มีการจัดทำและประกาศใช้มาตรฐานทางเทคนิคเพื่อควบคุมความน่าเชื่อถือของปัญญาประดิษฐ์ โดยชี้ว่ากติกาที่มีอยู่ตามเทคโนโลยีไม่ทัน   เหล่าผู้นำจากแคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เดินทางไปร่วมประชุมกันที่เมืองฮิโระชิมา ประเทศญี่ปุ่น   ในแถลงการณ์ร่วมของ G7 ชี้ว่ากฎเกณฑ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลต้องสอดคล้องกับคุณค่าประชาธิปไตยที่ทุกประเทศมีร่วมกัน และชี้ว่าต้องมีการทำความเข้าใจโอกาสและความท้าทายของปัญญาประดิษฐ์เชิงสังเคราะห์ (เช่น ChatGPT)   โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันให้มีการจัดการประชุมในระดับรัฐมนตรีในชื่อ Hiroshima AI Process เพื่อหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์เชิงสังเคราะห์ เช่น ประเด็นลิขสิทธิ์ และการเผยแพร่ข่าวปลอม ภายในสิ้นปีนี้   นอกจากนี้ ผู้นำ G7 ยังเรียกร้องให้องค์การระหว่างประเทศอย่าง องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ร่วมวิเคราะห์ผลกระทบของการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องด้วย   เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน (Ursula von der Leyen) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรปชี้ว่าต้องการให้ปัญญาประดิษฐ์มีความแม่นยำ ชื่อถือได้ ปลอดภัย…

ผู้พัฒนา ChatGPT เห็นด้วยกับวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่จะให้มีการกำกับดูแล AI

Loading

    แซม อัลต์แมน (Sam Altman) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OpenAI (ผู้พัฒนา ChatGPT) กล่าวกับสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาว่าเขาเห็นด้วยที่จะมีระบบใหม่เพื่อจัดการกับปัญญาประดิษฐ์   คำกล่าวนี้เคยขึ้นระหว่างที่อัลต์แมนเข้าให้การกับคณะอนุกรรมาธิการยุติธรรมด้านความเป็นส่วนตัวและเทคโนโลยีของวุฒิสภา ถือเป็นครั้งแรกที่เขาให้การในลักษณะนี้   เขาชี้ว่าจำเป็นต้องมีกรอบควบคุมเทคโนโลยีใหม่ทุกชนิด รวมทั้งบริษัทของเขาและภาคธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ตัวเองสร้างขึ้น เช่นเดียวกับผู้ที่นำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้   วุฒิสมาชิกจากทั้งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันต่างเน้นย่ำว่าควรต้องมีมาตรการควบคุมปัญญาประดิษฐ์เพื่อป้องกันผลร้ายที่อาจเกิดขึ้นจากการนำไปใช้ในเชิงลบ เห็นตรงกันว่าปัญญาประดิษฐ์มีศักยภาพสูงและพัฒนาเร็วกว่าเทคโนโลยีอื่นมาก   ริชาร์ด บลูเมนทัล (Richard Blumenthal) ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ส.ว. จากพรรคเดโมแครตให้ความเห็นว่าต้องมีการควบคุมปัญญาประดิษฐ์ไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ผิดหรือสร้างข้อมูลเท็จ อย่างกรณีของการปลอมข่าวการยอมแพ้ของยูเครน   ที่ประชุมยอมรับความล้มเหลวในการกำกับดูแลโซเชียลมีเดีย จึงอยากจะแก้ตัวใหม่กับปัญญาประดิษฐ์ในครั้งนี้ก่อนจะสายเกินไป   ด้านจอช ฮาวลีย์ (Josh Hawley) อนุกรรมาธิการ ส.ว. จากพรรครีพับลิกันเชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างประโยชน์ในเชิงบวกได้อย่างการพัฒนาสื่อ ผ่านการส่งเสริมการกระจายข้อมูล ในทางตรงกันข้ามก็สามารถนำไปใช้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งส่งผลร้ายตามมาได้เช่นกัน   บลูเมนทัลชมว่าคำพูดอัลต์แมนฟังดูจริงใจมากกว่าผู้บริหารของบริษัทอื่น ๆ “ราวฟ้ากับเหว” สะท้อนผ่านการพูดจริงทำจริง และการแสดงความพร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลในการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์   ขณะที่ ดิก…

ผวาทั้งวงการ! รัสเซียจับกุม 3 นักวิจัยด้านขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ตั้งข้อหา ‘ทรยศชาติ’

Loading

    นักวิทยาศาสตร์รัสเซีย 3 คน ซึ่งมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกถูกตั้งข้อหาร้ายแรง และกำลังถูกสอบสวนข้อหาเป็นกบฏ (treason) ในความเคลื่อนไหวที่สร้างความตื่นตระหนกต่อประชาคมนักวิทยาศาสตร์แดนหมีขาว   ในจดหมายที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ (15 พ.ค.) บรรดาเพื่อนร่วมงานของ อนาโตลี มัสลอฟ (Anatoly Maslov) อเล็กซานเดอร์ ชิเพิลยุค (Alexander Shiplyuk) และวาเลอรี ซเวกินเซฟ (Zveginstev) ต่างยืนยันในความบริสุทธิ์ของคนทั้งสาม และเตือนว่าการจับกุมพวกเขาอาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อแวดวงวิทยาศาสตร์ของรัสเซีย   “เรารู้จักพวกเขาดีว่าเป็นคนที่รักชาติบ้านเมือง และเป็นคนดีที่ไม่มีทางทำในสิ่งที่ทางการสงสัยพวกเขา” เนื้อความในจดหมายระบุ   ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ออกมาคุยโวว่ารัสเซียเป็นผู้นำโลกในด้านขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ซึ่งสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วเหนือเสียง 10 เท่า หรือ Mach 10 เพื่อหลบหลีกระบบป้องกันของฝ่ายศัตรู ทว่าเมื่อวันอังคาร (16) ยูเครนประกาศว่าพวกเขาสามารถยิงทำลายขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกของรัสเซียได้ถึง 6 ลูกภายในค่ำคืนเดียว แม้ว่าฝ่ายรัสเซียจะปฏิเสธก็ตาม   นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 คนนี้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติเป็นประจำตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยเมื่อปี 2012…