รัฐเท็กซัสออกกฎหมายให้ผู้บริการดิจิทัลขอความยินยอมจากผู้ปกครองก่อนอนุญาตให้ผู้เยาว์สร้างบัญชี

Loading

ภาพประกอบจาก Shutterstock   เมื่อวันพุธ Greg Abbott ผู้ว่าการรัฐเท็กซัสได้ลงนามในร่างกฎหมาย HB 18 ซึ่งกำหนดให้ “ผู้ให้บริการดิจิทัล” (ทั้งโซเชียลมีเดียและบริการออนไลน์อื่น ๆ) จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองก่อนอนุญาตให้ผู้ใช้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปีสร้างบัญชีผู้ใช้ได้ โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กันยายน   กฎหมาย HB18 ยังกำหนดให้แพลตฟอร์มออนไลน์จัดการระบบกรองเนื้อหาเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเข้าถึงเนื้อหาที่เป็นอันตราย เช่น การฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง พฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติ การใช้สารเสพติด การกลั่นแกล้ง การล่วงละเมิดทางเพศ และภายใต้กฎหมายนี้ผู้ปกครองจะมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลของผู้เยาว์ในโซเชียลเน็ตเวิร์คเพื่อตรวจสอบและควบคุมพฤติกรรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของเด็กได้ง่ายมากขึ้น เช่น ป้องกันไม่ให้ซื้อสินค้าทางออนไลน์   อย่างไรก็ตามผู้คนบางส่วนมองว่ากฎหมายดังกล่าวให้สิทธิ์ผู้ปกครองเข้าถึงข้อมูลมากเกินไปจนอาจริดรอนความเป็นส่วนตัวของเด็ก รวมถึงแพลตฟอร์มต่างๆ อาจกลั่นกรองเนื้อหาที่ไม่เป็นอันตรายมากเกินความจำเป็นเพื่อจะหลีกเลี่ยงการละเมิดกฎหมาย   นอกจากรัฐเท็กซัสแล้วตอนนี้รัฐอื่น ๆ ในสหรัฐฯ เช่น รัฐยูทาห์ รัฐลุยเซียน่า ก็กำลังผ่านร่างกฎหมายที่คล้ายกัน และล่าสุดรัฐบาลกลางได้ปรับปรุงกฎหมาย Kids Online Safety Act (KOSA) เพื่อจำกัดกิจกรรมบนโลกออนไลน์ของผู้เยาว์ทั่วประเทศ     ที่มา…

จากยูเครนถึงพม่า! Free Burma Rangers ขอบคุณอีลอน มัสก์ ปล่อยสัญญาณเน็ต “สตาร์ลิงก์” ให้กองกำลังติดอาวุธรัฐกะยา

Loading

การใช้อินเทอร์เน็ตในป่ารัฐกะยาของกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้าน (ภาพจาก Kantarawaddy Times)   ชัดแล้วแสงบนท้องฟ้าที่มองเห็นในภาคเหนือของไทยเมื่อต้นเดือนมิถุนายน เป็นกลุ่มดาวเทียมสตาร์ลิงก์ของสเปซเอ็กซ์ที่เคลื่อนตัวเข้าไปปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้กองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้านที่กำลังรบหนักอยู่กับกองทัพพม่า ผบ. Free Burma Rangers ทวีตขอบคุณอีลอน มัสก์ ที่ช่วยให้การทำงานในรัฐกะยาสะดวกขึ้น   สำนักข่าว Kantarawaddy Times รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 เดวิด ยูแบงก์ ผู้อำนวยการ Free Burma Rangers กลุ่ม NGO จากสหรัฐอเมริกาที่ได้เข้าไปเคลื่อนไหวอยู่ในรัฐกะยา (กะเหรี่ยงแดง) ของพม่า ได้ทวีตข้อความขอบคุณอีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์ และโครงการสตาร์ลิงก์ ที่ช่วยให้ในรัฐกะยามีสัญญาณอินเทอร์เน็ตใช้ ทำให้การทำงานในพื้นที่ของพวกเขาสะดวกขึ้น   สตาร์ลิงก์เป็นโครงข่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมขนาดเล็กจำนวนมากที่โคจรอยู่รอบโลก ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทสเปซเอ็กซ์ เพื่อให้ทุกพื้นที่ทั่วโลกสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ โดยปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมให้พื้นที่ห่างไกลที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตประเภทอื่นไม่สามารถเข้าถึง   รัฐกะยาอยู่ติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชายแดนด้านตะวันตกของประเทศไทย เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งขณะนี้กำลังมีการสู้รบอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้าน (PDF) กับกองทัพพม่า และกลยุทธ์หนึ่งที่กองทัพพม่านำมาใช้ คือการตัดการสื่อสาร โดยไม่ปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่รัฐกะยา รวมถึงอีกหลายรัฐที่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านกองทัพพม่า…

สตช.แก้ไขระเบียบคัดแยกทะเบียนประวัติอาชญากรเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาแล้ว

Loading

กสม. เผย สตช. แก้ไขระเบียบคัดแยกทะเบียนประวัติอาชญากรเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหา ผู้พ้นโทษและเยาวชนตามข้อเสนอแนะ กสม. แล้ว

พบไฟล์ ISO เถื่อนของ Windows 10 แอบฝังมัลแวร์ลงพาร์ทิชัน EFI เพื่อขโมยเงินคริปโต

Loading

ตัวอย่างหน้าดาวน์โหลดไฟล์ Windows 10 เถื่อน   บริษัทความปลอดภัย Doctor Web รายงานข่าวการระบาดของไฟล์ ISO เถื่อนของ Windows 10 ที่แจกตามเว็บไซต์ torrent ต่าง ๆ แอบฝังมัลแวร์ในพาร์ทิชัน Extensible Firmware Interface (EFI)   พาร์ทิชัน EPI เป็นพาร์ทิชันขนาดเล็กบนดิสก์ ที่มีไฟล์สำหรับ bootloader ใช้ในการบูท OS ขึ้นมาอีกที พาร์ทิชันนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบบูท UEFI ในภาพรวม ที่นำมาใช้แทนระบบ BIOS เดิม   ไฟล์ ISO เถื่อนอาศัยว่าผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์เพื่อไปติดตั้ง OS ใหม่ ได้สิทธิการเข้าถึงขั้นสูงสุดตั้งแต่แรกอยู่แล้ว จึงแอบฝังมัลแวร์-โทรจันเข้ามาในตัวติดตั้งด้วย เท่าที่ตรวจพบมี 3 ไฟล์ทำงานร่วมกัน •   \Windows\Installer\iscsicli.exe (Trojan.MulDrop22.7578) •   \Windows\Installer\recovery.exe (Trojan.Inject4.57873) • …

เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธ 2 ลูก ตอบโต้ซ้อมรบร่วมสหรัฐฯ-เกาหลีใต้

Loading

  เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธ 2 ลูกตกลงในทะเลตะวันออกเพื่อตอบโต้การซ้อมรบร่วมครั้งใหญ่ด้วยกระสุนจริงของสหรัฐฯ และเกาหลีใต้   สำนักงานคณะเสนาธิการทหารร่วมเกาหลีใต้รายงานว่ากองทัพเกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธนำวิถี 2 ลูก เมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการฝึกซ้อมรบร่วมด้วยกระสุนจริง ระหว่างกองทัพเกาหลีใต้กับสหรัฐ ที่ดำเนินการใกล้กับเขตปลอดทหาร ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมา ขีปนาวุธทั้ง 2 ลูกถูกยิงมาจากภูมิภาคซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเปียงยาง โดยเคลื่อนที่ในอากาศเป็นระยะทาง 780 กิโลเมตร ก่อนตกลงในทะเลตะวันออกบริเวณคาบสมุทรเกาหลีและทะเลญี่ปุ่น   ภาพ AFP   การทดสอบอาวุธครั้งใหม่ของเกาหลีเหนือเกิดขึ้น หลังจากรัฐบาลเกาหลีเหนือ ประกาศว่า จะทำการตอบโต้ต่อแผนการร่วมซ้อมรบด้วยการใช้กระสุนจริงระหว่างกองทัพสหรัฐฯ และเกาหลีใต้   ขณะที่ นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ผู้นำญี่ปุ่น ประณามการยิงขีปนาวุธครั้งล่าสุดของเกาหลีเหนือ ว่าเป็นการละเมิดมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และยกระดับการยั่วยุต่อประชาคมนานาชาติทั้งหมด   กระทรวงกลาโหมของญี่ปุ่นยืนยันว่า นี่เป็นครั้งที่ 13 ที่จรวดที่เกาหลีเหนือยิงมาตกภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ) ของประเทศ โดยขีปนาวุธพิสัยไกลทั้ง 2 ลูก ตกห่างจากเกาะเฮะกุระ ของจังหวัดอิชิกาวะ ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว…

สตาร์ตอัปสวิตเซอร์แลนด์ พัฒนาหุ่นยนต์ดำน้ำ เพื่อช่วยค้นหาและกู้ภัยในสถานที่อันตราย

Loading

  Tethys Robotics บริษัทสตาร์ตอัปในสวิตเซอร์แลนด์ พัฒนาโดรนหุ่นยนต์ใต้น้ำเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทีมประดาน้ำและกู้ภัย ที่ต้องเข้าไปทำงานในสถานที่ที่อาจเป็นอันตรายเกินไปสำหรับมนุษย์   โดยหุ่นยนต์ดำน้ำตัวนี้ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษให้สามารถทำงานได้อย่างอิสระ แม้สภาพแวดล้อมโดยรอบจะไม่เอื้ออำนวย เช่น ในแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวหรือจุดที่มีคลื่นสูง   โจนาส วุสต์ (Jonas Wüst) ซีอีโอของ Tethys Robotics เล่าว่า เพราะบริษัทให้ความสำคัญกับเงื่อนไขที่ท้าทายนี้ จึงเตรียมพัฒนาโดรนใต้น้ำรุ่นต่อไปให้มีความกะทัดรัดมากขึ้น โดยหุ่นยนต์ของ Tethys ยังติดอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น กล้องถ่ายภาพและเซนเซอร์ตรวจจับเสียง เพื่อให้สามารถค้นหาในพื้นที่ใต้น้ำขนาดใหญ่ ด้วยการทำงานอย่างอิสระผ่านการควบคุมด้วยรีโมตคอนโทรล     ตัวหุ่นยนต์ของ Tethys ยังสามารถแบกวัตถุที่หนักถึง 40 กิโลกรัม กลับขึ้นมาบนผิวน้ำได้ด้วย โดยทีมงานได้ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาปรับให้เข้ากับซอฟต์แวร์จดจำ เพื่อการทำงานใต้น้ำ พร้อมด้วยเซนเซอร์ตรวจจับเสียง เพื่อลดปัญหาข้อจำกัดในการมองเห็นใต้น้ำ ซึ่งมีการทดลองใช้จริง โดยหน่วยงานราชการท้องถิ่นในสวิตเซอร์แลนด์ได้ใช้หุ่นยนต์ใต้น้ำในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยหลายครั้งแล้ว   ที่มา : tucson       ————————————————————————————————————————- ที่มา…