แฮ็กเกอร์บุกแชตบอต สร้าง ChatGPT ปลอมทำหน้าที่กระจายมัลแวร์

Loading

  แชตบอต (ChatBot) กลายเป็นกระแสหลักเรียบร้อยแล้ว เมื่อแฮกเกอร์ ผู้ไม่ประสงค์ดีบนโลกอินเทอร์เน็ต เดินหน้าสร้าง ChatGPT ปลอม โดยมีจุดมุ่งหมายหลักสำหรับกระจายมัลแวร์ (Malware)   ChatGPT กลายเป็นแอปพลิเคชันที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก แล้วด้วยกระแสความแรงที่ว่านี้ ส่งผลให้แฮกเกอร์ได้นำแชตบอตมาเป็นอาวุธใหม่สำหรับการหลอกลวงผู้คนบนโลกอินเทอร์เน็ต   ChatGPT ขึ้นแท่นแอปพลิเคชันเติบโตเร็วที่สุดในโลก มีผู้ใช้งานต่อเดือนมากกว่า 100 ล้านคน   โดมินิก อัลวิเอรี นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เปิดเผยว่า ได้ค้นพบการพัฒนา ChatGPT ปลอมบนโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก โดยหน้าที่ของ ChatGPT ปลอมเหล่านี้ มีหน้าที่หลักในการกระจายมัลแวร์ และโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ   พร้อมกันนี้ ยังได้พบการจดโดเมนที่มีความเกี่ยวข้องกับ ChatGPT ไม่ต่ำกว่า 1.4 พันโดเมน แม้ว่าโดเมนเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำไปใช้ในแนวทางที่เลวร้ายทั้งหมด แต่โดเมนบางส่วนก็ถูกจดนำไปใช้ในด้านที่ไม่ดีเรียบร้อยแล้วเช่นกัน   ในช่วงที่ผ่านมา บรรดาแอปพลิเคชัน ChatGPT ปลอม พยายามโน้มน้าวและหลอกลวงผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตว่า มีแอปพลิเคชัน ChatGPT สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows เมื่อเหยื่อหลงกลก็จะติดมัลแวร์…

กห. คุมเข้มคลังแสง เตรียมซ้อมรับเหตุระเบิด-อัคคีภัย

Loading

  กห. สั่งคุมเข้มคลังแสง เตรียมฝึกซ้อมรับเหตุระเบิด-อัคคีภัย “บิ๊กช้าง” ย้ำกำลังพล ทำตามระเบียบ วางตัวไม่ให้เสื่อมเสียชื่อเสียงกองทัพ-พร้อมระวังอุบัติเหตุในการฝึกคอบร้าโกลด์   พันเอก จิตนาถ ปุณโณทก รองโฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมสภากลาโหม ที่มี พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รมช. กลาโหม เป็นประธาน ได้เน้นย้ำให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ กํากับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัยอาวุธ ยุทโธปกรณ์ ตลอดจนเครื่องกระสุนและวัตถุระเบิดที่อยู่ในคลังต่าง ๆ ของหน่วย ให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อกําหนดของทางราชการ ตลอดจนฝึกซ้อมแผนการปฏิบัติในการเผชิญเหตุต่าง ๆ อย่าง ต่อเนื่อง อาทิ แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัย แผนการอพยพเคลื่อนย้ายกรณีเกิดการระเบิด ทั้งนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบสามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อสถานการณ์   นอกจากนั้นยังให้กองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพ ดําเนินการฝึกร่วมผสมคอบร้าโกลด์ 2023 (27 ก.พ. – 10 มี.ค.66) ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการฝึก เพื่อเป็นการพัฒนาขีดความสามารถและเพิ่มพูนประสบการณ์ ให้กับกําลังพลของกองทัพไทยและกองทัพมิตรประเทศในการปฏิบัติการร่วมและผสม ตลอดจนเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกฯ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ…

ธ.เครดิตสวิสฟ้องคนปล่อยข้อมูลบัญชีฐาน ‘จารกรรม’ พร้อมเอาผิดสื่อ 39 ประเทศที่ร่วม ‘SuisseSecret’

Loading

ภาพปกโดย alex.ch   ธนาคารเครดิตสวิสเตรียมดำเนินคดีข้อหาจารกรรมข้อมูลทางเศรษฐกิจกับผู้ปล่อยข้อมูลบัญชีลูกค้าธนาคารกว่า 30,000 ชื่อ หลังจากรัฐสภาสวิสมีมติไม่ปฏิรูปกฎหมายการธนาคารที่ละเมิดเสรีภาพสื่อ และสื่อมวลชนจาก 39 ประเทศอาจโดนหางเลขจากการเปิดโปงข้อมูลธุรกรรมน่าสงสัยของบุคคลผู้ทรงอิทธิพลทั่วโลกในโครงการ SuisseSecrets   สำนักข่าวของประเทศสวิตเซอร์แลนด์รายงานเมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาว่าธนาคารเครดิตสวิส (Credit Suisse Bank) ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เตรียมฟ้องดำเนินคดีกับบุคคลผู้ให้ข้อมูลบัญชีลูกค้าของธนาคารกว่า 30,000 บัญชีที่นำไปสู่การเผยแพร่รายงานข่าว ‘สวิสซีเคร็ตส์’ (SuisseSecrets) หรือโครงการข่าวสืบสวนสอบสวนข้ามชาติเพื่อเปิดโปงข้อมูลการทำธุรกรรมที่น่าสงสัยในธนาคารเครดิตสวิส ซึ่งธุรกรรมเหล่านั้นอาจเชื่อมโยงกับการทำธุรกิจผิดกฎหมาย การทุจริต หรือการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมีข้อมูลของนักธุรกิจและอดีตข้าราชการชาวไทยบางคนที่เคยมีประวัติทางการเงินหรืออาชญากรรมปรากฏร่วมอยู่ในรายงานดังกล่าว   โครงการรายงานอาชญากรรมและการทุจริต (Organized Crime and Corruption Reporting Project: OCCRP) ผู้เปิดเผยรายงานข่าวสืบสวนสอบสวนดังกล่าวร่วมกับสื่อจาก 39 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประชาไท เปิดเผยว่าอัยการสวิสเริ่มต้นการสืบสวนสอบสวนหาผู้กระทำความผิดฐานเผยแพร่ข้อมูลทางบัญชีของธนาคารเครดิตสวิส รวมถึงเตรียมฟ้องดำเนินคดีกับผู้สื่อข่าวและสำนักข่าวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล แม้ว่าข้อมูลบางส่วนจะสามารถบ่งชี้ได้ว่าบุคคลนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมหรือการกระทำความผิดด้านอื่นๆ เช่น การฟอกเงิน การหลบเลี่ยงภาษี หรือการนำเงินที่อาจเกี่ยวกับการกระทำความผิดไปฝากในดินแดนภาษีต่ำ (Tax Haven) ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและธุรกิจ เป็นต้น  …

กอ.รมน. ประชุมร่วม มิตรอาเซียน ป้องกัน ปัญหาก่อการร้าย-อาชญากรรมข้ามชาติ

Loading

  กอ.รมน. ประชุมร่วม มิตรประเทศอาเซียน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ   24 ก.พ. 66 – ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) นางทศยาพร ดิเรกวุฒิ รองโฆษก (กอ.รมน.) เปิดเผยว่า พล.อ.อุกฤษฎ์ บุญตานนท์ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เป็นประธานเปิดการประชุมความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติกับกลุ่มประเทศอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2566 (ASEAN Counter Terrorism and Transnational Crime Coordination Conference – ACTC 2023) จัดโดยศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 3 กอ.รมน. ซึ่งรับผิดชอบในการอำนวยการ บูรณาการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ   การประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน ประกอบด้วยผู้ช่วยทูตทหารอาเซียนประจำประเทศไทย ผู้แทนจากหน่วยงานความมั่นคง อาทิ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.), ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล (ศตก.), กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บช.ส.),…

80% ของคดีฆาตกรรมในสหรัฐฯ เกิดจากแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ

Loading

  องค์กรสิทธิมนุษยชนเผย 80% ของคดีฆาตกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรงในสหรัฐฯ ปี 2022 เกิดจากแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ   ปี 2022 ที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งปีที่เกิดเหตุฆาตกรรมจำนวนมากในสหรัฐฯ โดยเฉพาะความรุนแรงจากอาวุธปืน ซึ่งเกิดบ่อยจนแทบจะกลายเป็นเหตุการณ์ปกติที่ไม่ควรปกติในดินแดนแห่งเสรีภาพไปแล้ว และหนึ่งในรากเหง้าของปัญหานี้ ก็คือรากเหง้าเชิงทัศนคติความเชื่อ   สมาคมต่อต้านการหมิ่นประมาท (ADL) เปิดเผยว่า ในปี 2022 สหรัฐฯ มีเหตุฆาตกรรมที่ถูกจัดประเภทว่า “เกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรง” อยู่ทั้งหมด 25 คดี และมีมีหลายคดีที่ “มีมูลเหตุทั้งหมดหรือบางส่วนมาจากแนวคิดความเชื่อ”   และแนวคิดความเชื่อที่นำไปสู่ความรุนแรงมากที่สุดในสหรัฐฯ คือแนวคิดเหยียดเพศ และแนวคิดเหยียดเชื้อชาติที่เชื่อว่าคนผิวขาวเป็นผู้ที่มีสถานะสูงสุดในสหรัฐฯ หรือ White Supremacy นั่นเอง   ตัวอย่างเช่น เหตุกราดยิงในเดือน พ.ค. 2022 ที่เมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก ซึ่งผู้ที่มีความเชื่อ White Supremacy ก่อเหตุยิงคนผิวสีเสียชีวิต 10 คน และอีกเหตุการณ์ในเดือน พ.ย. 2022 ที่โคโลราโดสปริงส์…

คณะกรรมาธิการยุโรปสั่งแบน “TikTok” บนอุปกรณ์ของหน่วยงาน

Loading

    คณะกรรมาธิการยุโรป สั่งแบนการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok บนอุปกรณ์ของทางการทั้งหมด เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   คำสั่งดังกล่าวกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมธิการยุโรปซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป ต้องทำการลบแอปพลิเคชัน TikTok ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันชื่อดังที่ขึ้นชื่อเรื่องวิดีโอสั้น ๆ ของจีน ออกจากอุปกรณ์ของที่ทำงาน รวมทั้งอุปกรณ์ส่วนตัวที่ใช้ทำงาน ภายในวันที่ 15 มี.ค.นี้ เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   ด้านโฆษกคณะกรรมาธิการยุโรป เปิดเผยว่า มาตรการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องคณะกรรมธิการจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการกระทำใด ๆ ที่อาจเปิดทางให้เกิดการโจมตีทางไซเบอร์ได้ พร้อมทั้งระบุด้วยว่า เป็นเพียงมาตรการชั่วคราว และจะมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและอาจมีการพิจารณาใหม่อีกครั้ง     ขณะที่ทาง TikTok ออกมาเคลื่อนไหวแล้ว โดยแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจดังกล่าว และระบุว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิด แม้ว่าก่อนหน้านี้ TikTok จะออกมาเปิดเผยต่อผู้ใช้งานในยุโรปว่า พนักงานในจีนอาจเข้าถึงข้อมูลได้ก็ตาม   โฆษกของบริษัท เปิดเผยว่า ได้ติดต่อไปชี้แจงข้อเท็จจริงกับคณะกรรมาธิการยุโรปแล้ว พร้อมทั้งอธิบายว่าทางบริษัทปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งาน 125 ล้านคนทั่วสหภาพยุโรปที่เข้ามาใช้ TikTok ทุก ๆ เดือนได้อย่างไร   นอกจากนี้…