สื่อเผยจีนห้ามยักษ์ใหญ่เทคโนฯให้บริการ “ChatGPT” หวั่นถูกสหรัฐใช้เป็นเครื่องมือ

Loading

    หน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบจีนสั่งห้ามบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีนให้บริการแชตจีพีที (ChatGPT) ต่อสาธารณชนท่ามกลางกระแสความวิตกกังวลในจีน เกี่ยวกับกรณีที่ ChatGPT ตอบคำถามผู้ใช้งานแบบไม่มีการเซ็นเซอร์คำตอบ   สำนักข่าวนิกเกอิเอเชีย รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข่าวว่า เทนเซ็นต์ โฮลดิงส์ และแอนท์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทฟินเทคในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิง ถูกทางการจีนสั่งห้ามเสนอบริการ ChatGPT บนแพลตฟอร์มของทางบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงแบบโดยตรงหรือผ่านบุคคลที่สามก็ตาม   ขณะเดียวกันแหล่งข่าวระบุว่า บริษัทเทคโนโลยีในจีนต้องรายงานให้หน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบจีนรับทราบ ก่อนที่จะดำเนินการเปิดตัวบริการแชตบอตสไตล์ ChatGPT ของตนเอง   รายงานระบุว่า ChatGPT ที่พัฒนาโดยโอเพ่นเอไอ (OpenAI) และได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์นั้นไม่ได้มีการเปิดบริการอย่างเป็นทางการในจีน แต่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบางรายสามารถเข้าใช้บริการ ChatGPT ผ่านเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) ขณะเดียวกันยังมี “โปรแกรมขนาดเล็ก” (Mini Program) หลายสิบโปรแกรม ที่บรรดานักพัฒนาบุคคลที่สามเปิดตัวบนแอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์วีแชท (WeChat) ของเทนเซ็นต์ ซึ่งอ้างว่าสามารถให้บริการ ChatGPT ได้   ภายใต้แรงกดดันด้านกฎระเบียบ เทนเซ็นต์จึงแก้ปัญหาด้วยการระงับบริการของบุคคลที่สาม ไม่ว่าบริการเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับ ChatGPT หรือเป็นเพียงโปรแกรมลอกเลียนแบบก็ตาม…

1 ปีที่โลกวุ่น สายสืบออสซี่งานรุม เพราะสายลับต่างประเทศเกลื่อน

Loading

    “ไมค์ เบอร์เกส” อธิบดีองค์กรข่าวกรองความมั่นคงแห่งออสเตรเลีย (เอเอสไอโอ) เผยว่า ภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากการแทรกแซงต่างประเทศ ในรัฐบาลออสเตรเลีย และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทำให้องค์กรสายลับงานล้นมากกว่าเหตุก่อการร้าย 9/11 หรือเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในช่วงสงครามเย็น   สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานถ้อยแถลงการประเมินภัยคุกคามประจำปีของเบอร์เกส ระบุว่า ออสเตรเลียเผชิญกับความท้าทายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จากหน่วยสืบราชการลับและการแทรกแซงของต่างประเทศ     ตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา เอเอสไอโอเข้าสลายรังสายลับที่ทำงานให้กับปฏิบัติการแทรกแซงต่างประเทศ บางคนได้รับหน้าที่ปฏิบัติงานเมื่อหลายปีก่อน   นั่นหมายความว่า เอเอสไอโองานรุมเร้าอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน งานยุ่งกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ 74 ปี งานมากกว่าช่วงสงครามเย็น และเหตุก่อการร้าย 9/11   เอเอสไอโอได้ทำลายแผนรัฐบาลต่างประเทศ ที่สอดแนมนักข่าวออสเตรเลียระดับอาวุโส ผ่านการศึกษาดูงานปลอม ๆ และตรวจสอบแนวทางที่น่าสงสัยให้กับสมาชิกตุลาการ   ทั้งนี้ เบอร์เกสไม่ได้ระบุชื่อประเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานแทรกแซงต่างประเทศ เพียงแต่ทิ้งปมไว้ว่า ความหลากหลายของหน่วยสืบราชการลับในหลายรัฐบาล อาจทำให้ทุกคนต้องเซอร์ไพรส์        …

สถิติใหม่! จนท.อเมริกันยึดปืน 6,542 กระบอกที่สนามบินปีที่แล้ว

Loading

  สำนักงานความปลอดภัยด้านการจราจรทางอากาศของสหรัฐฯ หรือ TSA (Transportation Security Administration) รายงานว่า พบปืนในกระเป๋าเดินทางของผู้โดยสารตามสนามบินต่าง ๆ ทั้งหมด 6,542 กระบอกเมื่อปีที่แล้ว เฉลี่ย 18 กระบอกต่อวัน ซึ่งมากที่สุดเป็นสถิติใหม่ และก่อให้เกิดความกังวลต่อการพกพาปืนของคนอเมริกัน   เดวิด เพโกสเก ผู้บริหารของ TSA กล่าวว่า “สิ่งที่เราพบที่จุดตรวจตามสนามบินต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม และในสังคมนี้คือมีคนพกปืนมากขึ้นในทุกวันนี้”   จำนวนอาวุธปืนที่ยึดได้ที่จุดตรวจตามสนามบินต่าง ๆ เพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 2010 ยกเว้นในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้ที่ถูกยึดปืนไว้มักอ้างว่าลืมว่าเอาปืนมาด้วย     สนามบินที่มีการยึดปืนมากที่สุดเมื่อปีที่ผ่านมา 10 อันดับแรก ได้แก่ 3 สนามบินในรัฐเท็กซัส ได้แก่ ดัลลัส ออสติน และฮูสตัน, 3 สนามบินในรัฐฟลอริดา ที่เหลือคือสนามบินในเมืองแนชวิลล์ นครแอตแลนตา นครฟีนิกซ์ และนครเดนเวอร์   ทั้งนี้…

ชักยังไง! ‘เบลารุส’ ตั้งกองทหารอาสา 100,000-150,000 นาย อ้างฝึกประชาชน ‘จับอาวุธ’ ป้องกันชาติ

Loading

  ประธานาธิบดี อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก แห่งเบลารุส มีคำสั่งจัดตั้งกองทหารอาสาป้องกันดินแดน โดยมุ่งให้ประชาชน “เรียนรู้การใช้อาวุธ” เพื่อพร้อมสำหรับการป้องกันประเทศ และรักษาความสงบเรียบร้อยในยามปลอดศึกสงคราม   “สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่าย ผมเคยพูดไปมากกว่า 1 ครั้งแล้วว่า ผู้ชายทุกคน ไม่ใช่แค่ 1 คน อย่างน้อยๆ ต้องใช้อาวุธเป็น” ลูคาเชนโก กล่าวในที่ประชุมสภาความมั่นคงเมื่อวานนี้ (20 ก.พ.)   “อย่างน้อยก็จะได้ปกป้องครอบครัว บ้านเรือน ที่ดิน หรือแม้กระทั่งประเทศชาติ หากมีความจำเป็น”   ลูคาเชนโก ซึ่งเคยอนุญาตให้รัสเซียส่งทหารผ่านดินแดนเบลารุสเข้าไปยูเครนเมื่อปีที่แล้ว เอ่ยย้ำเสมอว่ากองทัพของเขาจะจับอาวุธสู้ก็ต่อเมื่อเกิดการโจมตีดินแดนของเบลารุสเท่านั้น เขายังระบุด้วยว่า “ประสบการณ์” ในยูเครนทำให้จำเป็นต้องเสริมกำลังป้องกันประเทศ   “หากมีการรุกรานเกิดขึ้น มาตรการตอบสนองจะต้องรวดเร็ว เด็ดขาด และเหมาะสม” ลูคาเชนโก กล่าว   วิกเตอร์ เครนิน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเบลารุส ระบุว่า กองทหารอาสาป้องกันดินแดนจะมีจำนวนระหว่าง 100,000-150,000 นาย หรือมากกว่านั้นหากมีความจำเป็น โดยรัฐบาลตั้งเป้าให้มีกองกำลังเหล่านี้อยู่ในทุกๆ…

เอกสารหลุดเผยรัสเซียวางแผนควบคุม – ผนวกดินแดนเบลารุส

Loading

    เว็บไซต์ยาฮู รายงานวันนี้ (21 ก.พ.) ว่า เอกสารกลยุทธ์ภายในที่รั่วไหลออกมาจากสำนักงานบริหารของประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียได้แสดงให้เห็นถึงแผนการอย่างละเอียดของรัสเซียที่จะเข้าควบคุมเบลารุสซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านอย่างเต็มที่ภายในทศวรรษหน้าภายใต้ข้ออ้างด้านการรวมตัวกันระหว่างสองประเทศ   เอกสารดังกล่าวระบุถึงรายละเอียดของการผนวกดินแดนด้วยวิธีการทางการเมือง เศรษฐกิจ และทางทหารโดยรัสเซีย ซึ่งกำลังทำสงครามเพื่อครอบครองยูเครนด้วยกำลังทหารอย่างเต็มที่   นายไมเคิล คาร์เพนเตอร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำองค์การความมั่นคง และความร่วมมือในยุโรป (OSCE) กล่าวว่า “เป้าหมายของรัสเซียในเบลารุสนั้นเหมือนกันกับยูเครน ต่างกันเพียงแค่ว่าจะใช้การบีบบังคับแทนที่การทำสงครามกับเบลารุส โดยเป้าหมายในท้ายที่สุดก็คือ การรวมตัวกันครั้งใหญ่”   ข้อมูลในเอกสารดังกล่าว ซึ่งระบุวันออกเอกสารเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปี 2564 ระบุว่า เป้าหมายสุดท้ายคือ การจัดตั้งรัฐสหภาพรัสเซีย และเบลารุสภายในปี 2573 ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวของทั้งสองชาติได้ผ่านการพิจารณาแล้ว   รวมทั้งการประสานกันของกฎหมายเบลารุสเข้ากับกฎหมายของสหพันธรัฐรัสเซีย ไปจนถึงนโยบายการต่างประเทศ และกลาโหม ที่ร่วมมือกัน และความร่วมมือทางการค้า และเศรษฐกิจบนพื้นฐานของรัสเซีย และผลประโยชน์ของรัสเซียที่ต้องมาก่อน และเน้นย้ำถึงอิทธิพลที่เหนือกว่าของสหพันธรัฐรัสเซียในด้านสังคม และการเมือง การค้า และเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และการศึกษา ตลอดจนวัฒนธรรมสารสนเทศ   ในทางปฏิบัติแล้ว การผนวกรวมดังกล่าว จะเป็นการลบล้างอำนาจอธิปไตยของเบลารุส และทำให้ประเทศนี้กลายเป็นประเทศบริวารของรัสเซีย…

รัสเซียระงับร่วมมือตามกรอบ “ข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับสุดท้าย” กับสหรัฐ

Loading

    ผู้นำรัสเซียประกาศ “พักความร่วมมือ” กับสหรัฐ ตามเงื่อนไขของ “นิว สตาร์ต” สนธิสัญญาที่ถือกันว่า “เป็นข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับสุดท้าย” ระหว่างสองประเทศมหาอำนาจ   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ว่า ในช่วงหนึ่งของการแถลงประจำปี ต่อที่ประชุมสภาแห่งสหพันธรัฐ เมื่อวันอังคาร ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประกาศระงับความร่วมมือกับสหรัฐ ตามกรอบสนธิสัญญาสันติภาพระดับทวิภาคี ว่าด้วยการลดจำนวนอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งมีชื่อเรียกกันในทางการทูตว่า “นิว สตาร์ต”   ทั้งนี้ ผู้นำรัสเซีย เน้นย้ำว่า ท่าทีของรัฐบาลมอสโกเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ “การระงับ” หรือ “พักชั่วคราว” ไม่ใช่ “การถอนตัว” หรือ “การยุติข้อตกลง” ขณะเดียวกัน ปูติน กล่าวถึงการดำเนินงานของ โรซาตอม ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานนิวเคลียร์ของรัสเซีย ต้องมีความพร้อมทุกเมื่อ “ในยามถึงคราวจำเป็น” ที่รัสเซียต้องทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งปูติน ยืนยันว่า รัสเซียจะไม่เป็นฝ่ายดำเนินการก่อน แต่เมื่อใดก็ตามที่สหรัฐทดสอบ รัสเซียจะทำเช่นกัน…