สภา ม.รามคำแหง ปลด“สืบพงษ์”พ้นอธิบการบดี-ปมใช้วุฒิปริญญาเอกปลอม

Loading

  สภา ม.รามคำแหง ปลด “สืบพงษ์” พ้นอธิบการบดี-ปมใช้วุฒิปริญญาเอกปลอม พบอีกข้อกล่าวหาคัดลอกผลงาน ส่อขัดจรรยาบรรณทางวิชาการ   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เผยเเพร่เอกสารข่าว เรื่อง การเผยแพร่ผลงานซ้ำซ้อนและการมีชื่อในผลงานที่ตนไม่มีส่วนร่วมของอดีตอธิการบดี ใจความว่า ผู้ช่วยศาสตรจารย์ สืบพงษ์ ปราบใหญ่ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ถูกตั้งข้อกล่าวหาเพิ่ม เกิดจากกรณีถูกกล่าวหาฝ่าฝืนจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555 และมีพฤติกรรมในทางวิชาการที่ขัดต่อบทบัญญัติในกฎหมายและระเบียบหรือข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหงหลายกรรมหลายบทด้วยการคัดลอกผลงานตนเองและมีชื่อปรากฏในบทความทางวิชาการที่ตนเองไม่มีส่วนร่วม   ภายหลังจากที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ถูกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงถอดถอนจากตำแหน่งอธิการบดีเมื่อวันที่ 8พฤศจิกายน 2565ด้วยข้อหาการใช้วุฒิการศึกษาปริญญาเอกที่ไม่ได้รับการรับรองจากก.พ. ,การปกปิดหรือไม่รายงานต่อสภามหาวิทยาลัยกรณีการรับโอนทรัพย์สินจากนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติและต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาให้ทรัพย์ดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาด้วยข้อความอันเป็นเท็จ   ปรากฏว่าในการประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง (วันที่ 21พฤศจิกายน 2565) สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้พิจารณารายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบความไม่ชอบด้วยกฏหมายฯ ที่สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อร้องเรียนผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ กรณีเข้าข่ายการคัดลอกผลงานตนเองโดยไม่มีการอ้างอิงผลงานเดิมของตน   โดยคณะกรรมการได้สรุปว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าวมีมูล โดยพิจารณาจากหลักฐานบทความทางวิชาการสองชิ้นของผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ และคณะ ผลงานทางวิชาการทั้งสองชิ้นได้ถูกนำไปเผยแพร่ซ้ำซ้อนกันในวารสารทางวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับโดยไม่มีการอ้างอิง และมีเนื้อหาที่เหมือนกันกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ การเผยแพร่บทความในลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นการขัดต่อจรรยาบรรณทางวิชาการ ทำให้ผู้อื่นอาจเข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่และทำให้เกิดปัญหาการอ้างอิงและส่งผลกระทบต่อคุณภาพทางวิชาการ   คณะกรรมการตรวจสอบความไม่ชอบด้วยกฎหมายฯ ยังรายงานด้วยว่าพฤติการณ์ดังกล่าวยังส่งผลต่อความไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์…

ฮอนดูรัสประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรม

Loading

  รัฐบาลฮอนดูรัส ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ เพื่อยกระดับความมั่นคงภายใน ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ซึ่งมีอัตราสูงเป็นอันดับต้นของภูมิภาค   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเตกูซิกัลปา ประเทศฮอนดูรัส เมื่อวันที่ 26 พ.ย. ว่า ประธานาธิบดีซิโอมารา คาสโตร ลงนามในคำสั่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วฮอนดูรัส เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เพื่อจัดการกับสถานการณ์อาชญากรรมในประเทศที่พุ่งสูง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และแก๊งอันธพาล   ?? #efHonduras | La presidenta Xiomara Castro declaró hoy emergencia nacional y ordenó a la Policía “proponer estados de excepción y suspensión parcial de garantías constitucionales” en áreas controladas por el crimen organizado y…

สหรัฐฯ แบนอุปกรณ์สื่อสาร ‘หัวเว่ย-ZTE’ อ้างกระทบความมั่นคงของชาติ

Loading

  รัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ออกคำสั่งห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารจากบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ และบริษัท ZTE ของจีน โดยอ้างว่ากระทบต่อความมั่นคงของชาติจนถึงขั้นที่ “ไม่อาจยอมรับได้”   คณะกรรมาธิการกำกับดูแลกิจการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Commission : FCC) ประกาศวานนี้ (25 พ.ย.) ว่า ทางหน่วยงานยังได้บังคับใช้กฎห้ามการนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์สอดแนมที่ผลิตโดยบริษัท Dahua Technology รวมไปถึงกล้องวิดีโอวงจรปิดของบริษัท Hangzhou Hikvision Digital Technology และบริษัทโทรคมนาคม Hytera Communications Corp ด้วย   มาตรการนี้ถือเป็นความพยายามล่าสุดของสหรัฐฯ ที่จะกีดกันบริษัทไฮเทคของจีนท่ามกลางความวิตกกังวลว่าปักกิ่งอาจใช้อุปกรณ์ของบริษัทเหล่านี้เป็นเครื่องมือสอดแนมชาวอเมริกัน   “กฎใหม่เหล่านี้เป็นหนึ่งในความพยายามของเราที่จะปกป้องชาวอเมริกันจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติที่เกิดจากระบบโทรคมนาคม” เจสซิกา โรเซนวอร์เซล ประธาน FCC ระบุในถ้อยแถลง   กรรมาธิการทั้ง 4 คนใน FCC ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรครีพับลิกัน 2 คน…

เจ้าหน้าที่ตำรวจ 10 ประเทศ ร่วมกับทลาย iSpoof บริการปลอมแปลงตัวตน

Loading

  @ หน่วยงานรักษากฎหมายจากหลายประเทศได้ร่วมกันทลายบริการสวมรอยเบอร์โทรศัพท์ (number spoofing) ที่เรียกว่า iSpoof และสามารถจับกุมผู้ต้องหา 142 คนที่มีความเชื่อมโยงกับปฏิบัติการในครั้งนี้   องค์การตำรวจยุโรป (Europol) เผยว่า iSpoof ให้บริการในการปลอมตัวตนเป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือหรือบุคคลอื่นเพื่อล้วงข้อมูลส่วนบุคคลจากเหยื่อ   ในขณะที่ตำรวจนครบาลของสหราชอาณาจักรระบุว่า iSpoof สร้างความเสียหายทั่วโลกคิดเป็นเงินกว่า 115 ล้านปอนด์ (ราว 4,975 ล้านบาท) โดยในสหราชอาณาจักรประเทศเดียว น่าจะมีเหยื่อสูงถึง 200,000 ราย   นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า iSpoof ก่อตั้งขึ้นมาในเดือนธันวาคม 2020 มีผู้ใช้งานราว 59,000 คน   จากการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างยูเครนและสหรัฐอเมริกาทำให้สามารถปิดเว็บไซต์ และเข้ายึดเซิร์ฟเวอร์ของ iSpoof ได้สำเร็จ   ตำรวจเนเธอแลนด์เผยวิธีการติดตามจับกุม iSpoof โดยใช้วิธีการเจาะเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์   หน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่มีส่วนร่วมในปฏิบัติการครั้งนี้มาจากออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน ไอร์แลนด์ ลิทัวเนีย เนเธอร์แลนด์…

ตำรวจซานฟรานซิสโกเล็งนำ “หุ่นยนต์ฆ่าคนได้” มาใช้ในราชการ

Loading

  ตำรวจซานฟรานซิสโกยื่นเรื่องขออนุมัตินำ “หุ่นยนต์ไร้คนขับ” ที่ “สามารถฆ่าคนได้” มาใช้ในราชการ ยกระดับการรับมือสถานการณ์ร้ายแรง   มีรายงานว่า กรมตำรวจซานฟรานซิสโก (SFPD) ได้ยื่นเอกสารขออนุมัตินำ “หุ่นยนต์ไร้คนขับควบคุมระยะไกล” ที่มีความอันตราย “ระดับถึงตาย” มาใช้ในราชการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับมือสถานการณ์หรือคดีต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น   โดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์ควบคุมระยะไกลเหล่านี้จะใช้สำหรับการตรวจสอบพื้นที่และการกำจัดระเบิดเท่านั้น แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการเพิ่มบทบาทของพวกมัน     พวกเขาต้องการนำพวกมันมาใช้ในภารกิจที่หลากหลายมากขึ้น ประกอบด้วย การฝึกอบรมและการจำลองสถานการณ์, การจับกุมผู้ก่อคดีอาญา, การรับมือเหตุการณ์รุนแรง, การรับมือสถานการณ์เร่งด่วน และการดำเนินการตามหมายจับหรือการประเมินวัตถุต้องสงสัย   หุ่นยนต์ดังกล่าวนี้มีทั้งหมด 7 รุ่น คือ REMOTEC F5A, REMOTEC F6A, REMOTEC RONS, QinetiQ TALON, QinetiQ DRAGON RUNNER, IRobot FirstLook และ Recon Robotics Recon Scout ThrowBot…

กลาโหมสหรัฐฯ วางแผนอิมพลีเมนต์ Zero Trust ทั้งองค์กรภายในปี 2027

Loading

  กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศแผนอิมพลีเมนต์ระบบความปลอดภัยแบบ Zero Trust ทั้งระบบ โดยวางแผนว่าจะสามารถอิมพลีเมนต์ได้สำเร็จทั้งองค์กรภายในปี 2027   การวางระบบความปลอดภัยแบบ Zero Trust จำกัดการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ในองค์กร โดยตรวจสอบความปลอดภัยทุกอย่าง กระบวนการเข้าถึงแต่ละครั้งต้องตรวจสอบทั้งยืนยันตัวตนผู้ใช้, รูปแบบการเข้าถึงว่าผิดปกติหรือไม่, อุปกรณ์ที่ใช้มีความปลอดภัย โดยการอนุญาตให้เข้าถึงทรัพยากรต่างๆ เป็นรูปแบบที่จำกัดการอนุญาตเท่าที่จำเป็นเท่านั้น   แผนการนี้ยอมรับว่ามีระบบเก่า (legacy) จำนวนมาก ที่ไม่สามารถปรับให้เข้ากับรูปแบบ zero trust ได้เต็มรูปแบบ แต่ก็ต้องออกแบบการควบคุมป้องกับภัยไซเบอร์ให้เพียงพอ หรือไม่ก็ปรับปรุงระบบเหล่านี้ให้เข้ากับแนวทางสมัยใหม่     ที่มา – U.S. Department of Defence   —————————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา :                         …