ESET เผยปฏิบัติการมัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตียูเครน ที่เชื่อว่าเป็นฝีมือหน่วยข่าวกรองรัสเซีย

Loading

  ESET บริษัทด้านไซเบอร์จากสโลวาเกียเผยรายละเอียดของปฏิบัติการแพร่มัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ทางบริษัทเรียกว่า RansomBoggs ที่มุ่งโจมตีองค์กรหลายแห่งของยูเครน โดยตรวจพบครั้งแรกเมื่อ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา   ทางบริษัทชี้ว่ารูปแบบของมัลแวร์ที่ RansomBoggs ใช้มีความคล้ายคลึงกับปฏิบัติการของกลุ่มแฮกเกอร์ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ตระกูล Sandworm จากรัสเซีย   ศูนย์เผชิญเหตุฉุกเฉินทางคอมพิวเตอร์ยูเครน (CERT-UA) องค์กรหลักที่ทำหน้าที่เผชิญการโจมตีทางไซเบอร์ของประเทศ ชี้ว่า RansomBoggs ใช้สคริปต์ PowerShell (โปรแกรมจัดการระบบ) ที่เรียกว่า POWERGAP ในการปล่อยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ และมัลแวร์ลบข้อมูล (data wiper) ตระกูล CaddyWiper   สำหรับ Sandworm เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มแฮกเกอร์ที่มีความเชี่ยวชาญสูงและอยู่ในสังกัดหน่วยข่าวกรองทางทหารของรัสเซีย (GRU) โดยเน้นโจมตีโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของหลายประเทศในช่วงที่ผ่านมา   Sandworm ยังถูกนำไปเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ NotPetya ในปี 2017 ที่เป็นการมุ่งเป้าโจมตีโรงพยาบาลและสถาบันทางการแพทย์ทั่วโลก โดยเฉพาะยูเครน รวมถึงเหตุโจมตีระบบผลิตไฟฟ้าของยูเครนในช่วงปี 2015 – 2016 ด้วย     ที่มา thehackernews  …

สภา ม.รามคำแหง ปลด“สืบพงษ์”พ้นอธิบการบดี-ปมใช้วุฒิปริญญาเอกปลอม

Loading

  สภา ม.รามคำแหง ปลด “สืบพงษ์” พ้นอธิบการบดี-ปมใช้วุฒิปริญญาเอกปลอม พบอีกข้อกล่าวหาคัดลอกผลงาน ส่อขัดจรรยาบรรณทางวิชาการ   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เผยเเพร่เอกสารข่าว เรื่อง การเผยแพร่ผลงานซ้ำซ้อนและการมีชื่อในผลงานที่ตนไม่มีส่วนร่วมของอดีตอธิการบดี ใจความว่า ผู้ช่วยศาสตรจารย์ สืบพงษ์ ปราบใหญ่ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ถูกตั้งข้อกล่าวหาเพิ่ม เกิดจากกรณีถูกกล่าวหาฝ่าฝืนจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555 และมีพฤติกรรมในทางวิชาการที่ขัดต่อบทบัญญัติในกฎหมายและระเบียบหรือข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหงหลายกรรมหลายบทด้วยการคัดลอกผลงานตนเองและมีชื่อปรากฏในบทความทางวิชาการที่ตนเองไม่มีส่วนร่วม   ภายหลังจากที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ถูกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงถอดถอนจากตำแหน่งอธิการบดีเมื่อวันที่ 8พฤศจิกายน 2565ด้วยข้อหาการใช้วุฒิการศึกษาปริญญาเอกที่ไม่ได้รับการรับรองจากก.พ. ,การปกปิดหรือไม่รายงานต่อสภามหาวิทยาลัยกรณีการรับโอนทรัพย์สินจากนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติและต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาให้ทรัพย์ดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาด้วยข้อความอันเป็นเท็จ   ปรากฏว่าในการประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง (วันที่ 21พฤศจิกายน 2565) สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้พิจารณารายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบความไม่ชอบด้วยกฏหมายฯ ที่สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อร้องเรียนผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ กรณีเข้าข่ายการคัดลอกผลงานตนเองโดยไม่มีการอ้างอิงผลงานเดิมของตน   โดยคณะกรรมการได้สรุปว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าวมีมูล โดยพิจารณาจากหลักฐานบทความทางวิชาการสองชิ้นของผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ และคณะ ผลงานทางวิชาการทั้งสองชิ้นได้ถูกนำไปเผยแพร่ซ้ำซ้อนกันในวารสารทางวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับโดยไม่มีการอ้างอิง และมีเนื้อหาที่เหมือนกันกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ การเผยแพร่บทความในลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นการขัดต่อจรรยาบรรณทางวิชาการ ทำให้ผู้อื่นอาจเข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่และทำให้เกิดปัญหาการอ้างอิงและส่งผลกระทบต่อคุณภาพทางวิชาการ   คณะกรรมการตรวจสอบความไม่ชอบด้วยกฎหมายฯ ยังรายงานด้วยว่าพฤติการณ์ดังกล่าวยังส่งผลต่อความไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์…

ฮอนดูรัสประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรม

Loading

  รัฐบาลฮอนดูรัส ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ เพื่อยกระดับความมั่นคงภายใน ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ซึ่งมีอัตราสูงเป็นอันดับต้นของภูมิภาค   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเตกูซิกัลปา ประเทศฮอนดูรัส เมื่อวันที่ 26 พ.ย. ว่า ประธานาธิบดีซิโอมารา คาสโตร ลงนามในคำสั่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วฮอนดูรัส เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เพื่อจัดการกับสถานการณ์อาชญากรรมในประเทศที่พุ่งสูง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และแก๊งอันธพาล   ?? #efHonduras | La presidenta Xiomara Castro declaró hoy emergencia nacional y ordenó a la Policía “proponer estados de excepción y suspensión parcial de garantías constitucionales” en áreas controladas por el crimen organizado y…

สหรัฐฯ แบนอุปกรณ์สื่อสาร ‘หัวเว่ย-ZTE’ อ้างกระทบความมั่นคงของชาติ

Loading

  รัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ออกคำสั่งห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารจากบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ และบริษัท ZTE ของจีน โดยอ้างว่ากระทบต่อความมั่นคงของชาติจนถึงขั้นที่ “ไม่อาจยอมรับได้”   คณะกรรมาธิการกำกับดูแลกิจการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Commission : FCC) ประกาศวานนี้ (25 พ.ย.) ว่า ทางหน่วยงานยังได้บังคับใช้กฎห้ามการนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์สอดแนมที่ผลิตโดยบริษัท Dahua Technology รวมไปถึงกล้องวิดีโอวงจรปิดของบริษัท Hangzhou Hikvision Digital Technology และบริษัทโทรคมนาคม Hytera Communications Corp ด้วย   มาตรการนี้ถือเป็นความพยายามล่าสุดของสหรัฐฯ ที่จะกีดกันบริษัทไฮเทคของจีนท่ามกลางความวิตกกังวลว่าปักกิ่งอาจใช้อุปกรณ์ของบริษัทเหล่านี้เป็นเครื่องมือสอดแนมชาวอเมริกัน   “กฎใหม่เหล่านี้เป็นหนึ่งในความพยายามของเราที่จะปกป้องชาวอเมริกันจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติที่เกิดจากระบบโทรคมนาคม” เจสซิกา โรเซนวอร์เซล ประธาน FCC ระบุในถ้อยแถลง   กรรมาธิการทั้ง 4 คนใน FCC ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรครีพับลิกัน 2 คน…

เจ้าหน้าที่ตำรวจ 10 ประเทศ ร่วมกับทลาย iSpoof บริการปลอมแปลงตัวตน

Loading

  @ หน่วยงานรักษากฎหมายจากหลายประเทศได้ร่วมกันทลายบริการสวมรอยเบอร์โทรศัพท์ (number spoofing) ที่เรียกว่า iSpoof และสามารถจับกุมผู้ต้องหา 142 คนที่มีความเชื่อมโยงกับปฏิบัติการในครั้งนี้   องค์การตำรวจยุโรป (Europol) เผยว่า iSpoof ให้บริการในการปลอมตัวตนเป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือหรือบุคคลอื่นเพื่อล้วงข้อมูลส่วนบุคคลจากเหยื่อ   ในขณะที่ตำรวจนครบาลของสหราชอาณาจักรระบุว่า iSpoof สร้างความเสียหายทั่วโลกคิดเป็นเงินกว่า 115 ล้านปอนด์ (ราว 4,975 ล้านบาท) โดยในสหราชอาณาจักรประเทศเดียว น่าจะมีเหยื่อสูงถึง 200,000 ราย   นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า iSpoof ก่อตั้งขึ้นมาในเดือนธันวาคม 2020 มีผู้ใช้งานราว 59,000 คน   จากการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างยูเครนและสหรัฐอเมริกาทำให้สามารถปิดเว็บไซต์ และเข้ายึดเซิร์ฟเวอร์ของ iSpoof ได้สำเร็จ   ตำรวจเนเธอแลนด์เผยวิธีการติดตามจับกุม iSpoof โดยใช้วิธีการเจาะเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์   หน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่มีส่วนร่วมในปฏิบัติการครั้งนี้มาจากออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน ไอร์แลนด์ ลิทัวเนีย เนเธอร์แลนด์…

ตำรวจซานฟรานซิสโกเล็งนำ “หุ่นยนต์ฆ่าคนได้” มาใช้ในราชการ

Loading

  ตำรวจซานฟรานซิสโกยื่นเรื่องขออนุมัตินำ “หุ่นยนต์ไร้คนขับ” ที่ “สามารถฆ่าคนได้” มาใช้ในราชการ ยกระดับการรับมือสถานการณ์ร้ายแรง   มีรายงานว่า กรมตำรวจซานฟรานซิสโก (SFPD) ได้ยื่นเอกสารขออนุมัตินำ “หุ่นยนต์ไร้คนขับควบคุมระยะไกล” ที่มีความอันตราย “ระดับถึงตาย” มาใช้ในราชการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับมือสถานการณ์หรือคดีต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น   โดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์ควบคุมระยะไกลเหล่านี้จะใช้สำหรับการตรวจสอบพื้นที่และการกำจัดระเบิดเท่านั้น แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการเพิ่มบทบาทของพวกมัน     พวกเขาต้องการนำพวกมันมาใช้ในภารกิจที่หลากหลายมากขึ้น ประกอบด้วย การฝึกอบรมและการจำลองสถานการณ์, การจับกุมผู้ก่อคดีอาญา, การรับมือเหตุการณ์รุนแรง, การรับมือสถานการณ์เร่งด่วน และการดำเนินการตามหมายจับหรือการประเมินวัตถุต้องสงสัย   หุ่นยนต์ดังกล่าวนี้มีทั้งหมด 7 รุ่น คือ REMOTEC F5A, REMOTEC F6A, REMOTEC RONS, QinetiQ TALON, QinetiQ DRAGON RUNNER, IRobot FirstLook และ Recon Robotics Recon Scout ThrowBot…