เพิ่มขึ้นเท่าตัว Adware ตัวร้าย ฝังมัลแวร์มากับโฆษณา

Loading

  Adware หรือแอดแวร์ เป็นมัลแวร์ที่มักจะมีโฆษณาเป็นตัวสนับสนุน มักจะเปิดหน้าต่างป๊อปอัปใหม่โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะมีโฆษณาในเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ต หรือเปลี่ยนหน้าเริ่มต้นของเบราว์เซอร์ หรือมักลิงก์ไปยังเว็บขายของออนไลน์ . บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ Kaspersky เปิดเผยรายงานใหม่เกี่ยวกับจำนวนการโจมตีของ Adware ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าใจหาย โดยตั้งแต่มกราคม 2563 ถึงมิถุนายน 2565 แคสเปอร์สกี้ได้บันทึกการโจมตีจาก Adware ที่กำหนดเป้าหมายไปยังผู้ใช้งานมากถึง 4.3 ล้านคน . การโจมตีของ Adware จะใช้ลักษณะที่ปลอมแปลงตัวเองเป็นส่วนขยายของเบราว์เซอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น แอปแปลงเอกสาร จาก .DOC เป็น PDF หรือยูทิลิตี้ในการรวมเอกสาร แน่นอนว่าส่วนขยายเหล่านี้ให้โหลดใช้ฟรี เมื่อใครดาวน์โหลดมาติดตั้ง ก็จะแอบส่งโฆษณามาให้ หรือทำการเปลี่ยนหน้าเริ่มต้นของเบราว์เซอร์ หรือมักเด้งป๊อปอัปไปยังเว็บขายของออนไลน์เพื่อเอาค่าคอมมิชชั่นครับ . จริง ๆ แล้วตัว Adware อาจไม่ได้อันตรายขนาดนั้น เพียงแต่จะสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้ เพราะบางคนอาจไม่มีความรู้เรื่องการตั้งค่าเบราว์เซอร์ กด Reset ค่าต่าง ๆ ไม่เป็น ก็เจอโฆษณาอยู่อย่างนั้น และบางครั้งก็กดปิดยากมาก .…

อึ้ง! ศาล รธน.ฟ้องเรียก 10 ล้าน คดีแฮกเว็บเปลี่ยนชื่อ Kangaroo Court ฐานทำชื่อเสียงเสียหาย

Loading

  สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ฟ้องเรียก 10 ล้าน คดีแฮกเว็บเปลี่ยนชื่อ Kangaroo Court ฐานทำชื่อเสียงเสียหาย โดยศาลแพ่งยกคำร้อง เพราะไม่สอดคล้องข้อมูลความผิดอาญา ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องคดีอาญา เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม นรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กเล่าเรื่องคดีแฮกเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Kangaroo Court โดยระบุว่า คดีแฮกเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Kangaroo Court ส่วนคดีอาญา จำเลยให้การรับสภาพ ไม่ได้ต่อสู้คดี แต่ค่าเสียหายในส่วนแพ่งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เรียกค่าเสียหายมาทั้งหมด 10,288,972 บาท แบ่งเป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียง 10,000,000 บาท ค่าเสียหายในส่วนแพ่งเราสู้คดีหลายประเด็น ประเด็นสำคัญ คือ ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 เพราะคดีนี้อัยการโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาเกี่ยวกับการทำให้เสียหาย แก้ไขเปลี่ยนแปลง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม พ.ร.บ.คอมฯ ไม่ได้ฟ้องความผิดเกี่ยวกับชื่อเสียง ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเสื่อมเสียชื่อเสียง สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียง ตามมาตรา 44/1 เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนแพ่งที่ไม่สอดคล้องกับมูลความผิดทางอาญา ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องคดีอาญา ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเพียงแค่ 87,227…

ทางการ Tokyo เริ่มใช้หุ่นยนต์ลาดตระเวนช่วยงานรักษาความปลอดภัยในอาคาร

Loading

หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย SQ-2 ทางการโตเกียวได้เริ่มใช้หุ่นยนต์ลาดตระเวนในพื้นที่สำนักงานของศาลาว่าการ Tokyo โดยหุ่นยนต์เหล่านี้จะคอยวิ่งตรวจตราพื้นที่ภายในอาคารและยังเป็นตัวแทนเจ้าหน้าที่ให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อพูดคุยกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้ด้วย ก่อนหน้านี้ทางการโตเกียวได้ทดลองใช้งานหุ่นยนต์เพื่อช่วยในการรักษาความปลอดภัยพื้นที่ในอาคารมาตั้งแต่ปี 2018 แต่ครั้งนี้คือการจัดสรรหุ่นยนต์มาใช้งานจริงอย่างเป็นทางการจำนวน 3 ตัว โดยหุ่นเหล่านี้มีชื่อรุ่นว่า SQ-2 ผลิตโดยบริษัท SEQSENSE ผู้ผลิตหุ่นยนต์ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2016 SQ-2 มีขนาดความสูง 1.30 เมตร น้ำหนัก 65 กิโลกรัม ด้านบนของมันติดตั้งเซ็นเซอร์ LIDAR เพื่อใช้สแกนพื้นที่โดยรอบเพื่อสร้างแผนที่ รวมทั้งใช้เพื่อการหลบหลีกสิ่งกีดขวาง ตลอดจนการคำนวณหาตำแหน่งของตนเองเทียบกับข้อมูลแผนที่อาคาร มันสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง 6 ชั่วโมงหลังการชาร์จไฟแต่ละครั้ง โดยเมื่อแบตเตอรี่ใกล้หมดหุ่น SQ-2 จะวิ่งกลับไปสถานีชาร์จไฟได้เอง ตัวหุ่นมีกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูงพร้อมระบบส่งข้อมูลแบบไร้สายเพื่อส่งสัญญาณภาพกลับไปให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่นั่งประจำการอยู่ในห้องควบคุม นอกจากนี้มันยังมีไมโครโฟนและลำโพงสำหรับให้คนที่อยู่ใกล้เคียงสามารถพูดคุยสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ในห้องควบคุมได้ด้วย เจ้าหน้าที่ของทางการ Tokyo อธิบายถึงสาเหตุหลักของการใช้หุ่นยนต์ทำหน้าที่ลาดตระเวนพื้นที่นี้ว่าเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนคนทำงานด้านการรักษาความปลอดภัย และด้วยปัญหาขาดแคลนคนนี้จึงเป็นไปได้มากว่าเราจะเห็นการใช้งานหุ่นยนต์แบบนี้เพิ่มมากขึ้นอีกหลายที่ในอนาคต ที่มา – SoraNews24       ที่มา : blognone    /   วันที่เผยแพร่ 18 ส.ค.65 Link…

รัสเซียเผยโฉมหุ่นยนต์ทหารติดแท่นยิง RPG แต่ดูทรงแล้วคล้ายหุ่นยนต์สุนัขของจีน

Loading

  สื่อรัสเซียตีข่าวการเปิดตัว M-81 หุ่นยนต์ทหารรุ่นใหม่ที่ติดตั้งแท่นยิงจรวด RPG สำหรับโจมตีเป้าหมายในพื้นที่ห่างไกล แต่สงสัยทำไมดูแล้วแอบคล้ายหุ่นยนต์สุนัขเลี้ยงในบ้านของบริษัทสตาร์ทอัพจีน เมื่อวันที่ 16 ส.ค.2565 เว็บไซต์มอสโก ไทม์ส ของรัสเซีย รายงานว่า “แมชีน อินเทลเล็กต์” (Machine Intellect) บริษัทเทคโนโลยีกลาโหมของรัสเซีย เปิดตัว “M-81” หุ่นยนต์ทหาร 4 ขา ที่ติดตั้งแท่นยิงจรวด RPG ที่บริเวณหลัง ในงานนิทรรศการแสดงอาวุธยุทธภัณฑ์ระหว่างประเทศ “Army2022” ในกรุงมอสโก   https://t.co/K8nGEhYma7Russia Unveils New Rocket-Launching Robot Dog – Newsweek Russian engineers have introduced a robotic dog capable of carrying and firing weapons, Russia-based media outlets…

บึ้ม-เผา 17 จุดคาดกดดันไทยรับเงื่อนไขหยุดปฏิบัติการทางทหาร

Loading

  ขยายความจาก พล.ต.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ รองแม่ทัพน้อยที่ 4 เรื่องที่ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุรุนแรงเกิดขึ้นทั้งหนักและถี่หลังจบโต๊ะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ ซึ่งเป็นการพูดคุยระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับบีอาร์เอ็น เมื่อวันที่ 2 ส.ค.65 ข้อสังเกตนี้ โฆษกกระทรวงกลาโหม พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ก็เคยพูดมาแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 15 ส.ค.ผ่านมา หลังเกิดเหตุระเบิดในสวนยางพารา “ทีมข่าวอิศรา” รวบรวมข้อมูลเหตุรุนแรงตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค.65 พบว่าเหตุร้ายรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้นถี่ยิบจริงๆ 1 ส.ค. เป็นวันทหาร “บีอาร์เอ็น” มีเหตุป่วนก่อนหน้านั้น เผายาง-วางวัตถุต้องสงสัย 6 อำเภอยะลา 3 ส.ค. ยิงชาวบ้านไทยพุทธหาของป่า 2 ศพ ที่ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส 4 ส.ค.วางระเบิดโจมตีชุดตรวจที่เกิดเหตุ โชคดีใช้รถหุ้มเกราะ ไร้เจ็บ 4 ส.ค. กราดยิงรถไฟที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ทำรถหยุดวิ่งหลายวัน 6 ส.ค. “โชเล่ย์บอมบ์” อ.ตากใบ จ.นราธิวาส…

จีนเปิดเอกสารแฉ ‘หน่วยสงครามเคมี’ ของญี่ปุ่น เป็นครั้งแรก

Loading

(แฟ้มภาพซินหัว : เอกสารเกี่ยวกับหน่วยสงครามเคมีของญี่ปุ่น เผยแพร่เป็นครั้งแรกที่หอนิทรรศการหลักฐานการก่ออาชญากรรมโดยหน่วยปฏิบัติการ 731 ของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น วันที่ 13 ส.ค.2022)   วันจันทร์ (15 ส.ค.) จีนเผยแพร่ม้วนเอกสารที่มีรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยสงครามเคมีของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก หอนิทรรศการหลักฐานการก่ออาชญากรรมโดยหน่วยปฏิบัติการ 731 ของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในนครฮาร์บิน เมืองเอกของมณฑลเฮยหลงเจียงทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ระบุว่า เอกสารข้างต้นประกอบด้วยชื่อจริงและข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกประจำหน่วยปฏิบัติการ 516 จำนวน 414 คน ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกองทัพญี่ปุ่น เมื่อเดือนพฤษภาคม 1939 ในเมืองฉีฉีฮาเอ่อร์ของเฮยหลงเจียง หน่วยปฏิบัติการ 516 ซึ่งถือเป็นฐานทัพของการทำสงครามเคมีของญี่ปุ่น ได้พัฒนาสารพิษหลายชนิดและนำไปใช้ในระหว่างสงคราม เดิมทีเอกสารดังกล่าวครอบครองโดยกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น ก่อนจะได้รับการเก็บรวบรวมโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติของญี่ปุ่น โดยทีมวิจัยจากหอนิทรรศการฯ ได้รับสำเนาเอกสารเมื่อเดือนเมษายน 2021 จินเฉิงหมิน ภัณฑารักษ์ของหอนิทรรศการฯ ระบุว่า เอกสารจำนวน 237 หน้านี้จัดทำขึ้นเมื่อราวปี 1945 โดยได้บันทึกรายละเอียดชื่อ วันเดือนปีเกิด ทะเบียนบ้าน และประเภทหน้าที่ของสมาชิก 414 คน รวมถึงที่อยู่อาศัยของญาติ ความสัมพันธ์ ตลอดจนข้อมูลอื่นๆ…