ยาน Mars Express อัพเกรดซอฟต์แวร์อุปกรณ์สำรวจ บนความท้าทายเพราะทำงานอยู่บน Windows 98

Loading

  องค์การอวกาศยุโรป หรือ European Space Agency (ESA) รายงานข้อมูลของโครงการ Mars Express ยานสำรวจดาวอังคาร ที่ส่งออกจากโลกไปตั้งแต่ปี 2003 ซึ่งมีอุปกรณ์ MARSIS ที่ใช้สัญญาณเรดาร์ตรวจสอบหาสิ่งที่อยู่ใต้ผิวดินของดาวอังคาร แต่ปัญหาคือซอฟต์แวร์ของ MARSIS ถูกผลิตขึ้นเมื่อ 19 ปีที่แล้ว ทำงานอยู่บน Windows 98   โดยทีมวิศวกรซอฟต์แวร์ของ Enginium ได้เข้ามาช่วย ESA ในการอัพเกรดซอฟต์แวร์ของ MARSIS เพื่อให้การเก็บข้อมูลภาพและรายละเอียดต่าง ๆ ทำได้ละเอียดมากขึ้น บนความท้าทายสำคัญคือโปรแกรมนี้ต้องทำงานอยู่บน Windows 98 ต่อไป ซึ่งผลลัพธ์นั้น ESA บอกว่าเหมือนได้ MARSIS ตัวใหม่ อย่างไรก็ตาม ESA ไม่ได้ให้รายละเอียดวิธีการอัพเกรดนี้   ผลงานเด่นของ Mars Express คือการค้นพบแหล่งน้ำชั้นใต้ดินบนดาวอังคารเมื่อ 4 ปีที่แล้ว    …

บึ้มต่อเนื่อง! วางระเบิดตั้งเวลา 5 ลูกหวังโจมตี จนท.ตรวจที่เกิดเหตุ

Loading

  คนร้ายลอบวางระเบิดแบบตั้งเวลาต่อเนื่องหลายลูกริมถนนในพื้นที่สายบุรี ปัตตานี หวังบึ้มซ้ำชุดตรวจที่เกิดเหตุ โชคดีเจ้าหน้าที่รอบคอบ ใช้โดรนบิน – รถกระตุ้นสัญญาณเข้าเคลียร์พื้นที่ก่อน จึงทำให้รอดปลอดภัย   เมื่อเวลา 10.00 น .วันศุกร์ที่ 24 มิ.ย.65 พ.ต.อ.เฉลิมชัย เพชรกาศ ผู้กำกับการ สภ.สายบุรี จ.ปัตตานี รับแจ้งมีเหตุระเบิดบริเวณเสาไฟฟ้า ริมทางหลวงหมายเลข 4074 ท้องที่ ต.เตราะบอน เขตติดต่อ ต.กะดุนง อ.สายบุรี และ ต.ปล่องหอย อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี   หลังรับแจ้งจึงนำกำลังรุดไปตรวจสอบ พร้อมประสานให้เร่งปิดกั้นเส้นทางเพื่อป้องกันประชาชนได้รับอันตราย ขณะเดียวกันก็แจ้งชุดเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิดเข้าพื้นที่ตรวจสอบ   แต่ระหว่างทางขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังเดินทางรุดเข้าที่เกิดเหตุ ปรากฏว่าได้มีระเบิดลูกที่ 2 ดังขึ้น โดยจุดที่เกิดระเบิดอยู่ห่างจากจุดแรกเพียง 10 เมตร แต่เวลาที่เกิดระเบิด ห่างจากลูกแรกนานนับชั่วโมง เบื้องต้นไม่มีผู้ใดได้รับอันตราย ทำให้เจ้าหน้าที่ตัดสินใจประวิงเวลาในการเข้าตรวจสอบพื้นที่ เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัย แฃะป้องกันมีระเบิดหลงเหลืออยู่อีก   ปรากฏว่าเหตุการณ์เป็นไปตามคาด เพราะหลังจากเกิดระเบิดลูกที่ 2…

คุกคดีระเบิดปัตตานี นราฯ – ได้เบาะแสคาร์บอมบ์ปาลัส

Loading

  ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 4 ปี จำเลยคดีระเบิดเสาไฟฟ้าปัตตานี ขณะที่นราธิวาส ศาลสั่งคุก 26 ปี สามมือปาไปป์บอมบ์ถล่มฐานทหารบ้านทุ่งคา ยี่งอ เมื่อปี 64 ส่วนที่ยะลารวบผู้ต้องสงสัย เร่งสอบขยายผลโยงคาร์บอมบ์ปาลัสหรือไม่ คาดฝีมือกลุ่ม “อับดุลฮาดี ดาหาเล็ง”   เมื่อเร็วๆ นี้ ศาลจังหวัดปัตตานีได้อ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำเลขที่ อ.668/64 ที่มี นายมัฮหมูด หาแว เป็นจำเลย ในความผิดฐานก่อการร้าย อั้งยี่ ซ่องโจร ทำให้เสียทรัพย์ และความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนฯ จากเหตุการณ์คนร้ายลอบวางระเบิดเสาไฟฟ้าหลายจุดในพื้นที่ จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 7 เม.ย.60 เหตุการณ์ในครั้งนั้นส่งผลให้ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง ประชาชนได้รับความเดือนร้อน ขณะที่เส้นทางสัญจรไม่สามารถใช้การได้   ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว พิพากษาให้จำคุกจำเลยเป็นเวลา 4 ปี เนื่องจากศาลเห็นว่าแม้วัตถุระเบิดที่เกี่ยวข้องกับจำเลยไม่ทำงาน แต่ก็ตรวจพบสารพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอ ของจำเลย…

นักวิจัยสาธิตการแฮ็กเซิร์ฟเวอร์ Oracle เพื่อแสดงให้เห็นถึงช่องโหว่ที่ร้ายแรง

Loading

  สืบเนื่องมาจากความล่าช้าในการแก้ไขข้อพร่องพกนานถึง 6 เดือน กับช่องโหว่ที่นักวิจัยเรียกว่า “mega 0-day” ช่องโหว่นี้สามารถถูกใช้ได้จากทางไกลโดยไม่ต้องผ่านการพิสูจน์ตัวตน ถูกค้นพบโดย Jang และ Peterjson นักวิจัยด้านความปลอดภัย พวกเขาตั้งชื่อมันว่า The Miracle Exploit โดย Oracle ได้ทำการแก้ไขปัญหานี้ในชุดอัปเดตความปลอดภัย 520 แพตซ์ ที่ถูกเผยแพร่เมื่อเดือนเมษายน 2022   วิดีโอสาธิตการแฮ็กเว็บของ Oracle     เหตุที่นักวิจัยจึงลงมือสาธิตแฮ็กในบางไซต์ของ Oracle เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อ Oracle เอง และให้รู้ว่าช่องโหว่นี้ร้ายแรงมากเพียงใด นั่นเป็นเหตุผลที่นักวิจัยต้องการให้ Oracle เร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุด เพราะถ้าปล่อยไว้อาจจะส่งผลต่อระบบและลูกค้าของ Oracle เอง   นักวิจัยตั้งคำถามถึงระยะเวลา 6 เดือน กับการแก้ไข และมองว่าตัวแก้ไขที่ออกมานั้น ค่อนข้างง่ายดายเกินไป โดย Oracle ใช้การเปลี่ยนแกลงโค้ดเพียงเล็กน้อย และนั้นก็เป็นเหตุผลว่าทำไม นักวิจัยถึงสาธิตการแฮ็กคุณสมบัติเว็บของ Oracle อาทิเช่น…

Instagram ใช้ AI ตรวจสอบอายุผู้ใช้งาน ด้วยระบบสแกนใบหน้า

Loading

  อินสตาแกรม (Instagram) ทดสอบระบบตรวจสอบอายุ ด้วยปัญญาประดิษฐ์ เพียงแค่การสแกนใบหน้า โดยได้ทำความร่วมมือกับบริษัทที่มีชื่อว่า Yoti   เป็นที่ทราบดีว่า อินสตาแกรม และบรรดาโซเชียลมีเดียหลายแห่งบนโลก มีข้อจำกัดว่า ผู้ใช้งานจะต้องมีอายุ 13 ปีขึ้นไปจึงเข้าใช้งานได้ อย่างไรก็ดี ในหลายครั้งผู้ใช้งานอายุน้อย เลือกที่จะโกงอายุของตัวเองเพื่อให้มีอายุตรงตามข้อกำหนดการใช้งาน   ดังนั้นแล้ว นั่นจึงเป็นที่มาของการที่อินสตาแกรม ได้พัฒนาระบบตรวจสอบอายุด้วยปัญญาประดิษฐ์ โดยใช้วิธีการสแกนใบหน้าของผู้ใช้งาน   ในการสแกนใบหน้าด้วยระบบของปัญญาประดิษฐ์ อินสตาแกรมได้ทำความร่วมมือกับบริษัทที่มีชื่อว่า Yoti ซึ่งมีชื่อเสียงและความสามารถในด้านการยืนยันตัวตนออนไลน์ ที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง ทั้งรัฐบาลสหราชอาณาจักร และหน่วยงานด้านดิจิทัลของเยอรมนี   ผู้ใช้งานสามารถลองทดสอบอายุของตัวเองได้ที่เว็บไซต์ Yoti   ในส่วนการเก็บข้อมูลใบหน้า ทางเมตา และ Yoti ยืนยันว่าจะไม่มีการเก็บข้อมูลใดๆ หลังการยืนยันตัวตนข้อมูลรูปภาพทั้งหมดจะถูกลบออกจากระบบทันที   สำหรับการยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้าของอินสตาแกรมในเวลานี้ ยังจำกัดวงเฉพาะบัญชีผู้ใช้งานอินสตาแกรมในสหรัฐอเมริกา     ที่มา: Meta       ——————————————————————————————————————————— ที่มา : …

รัฐบาลอิสราเอลพบปัญหาบอตแย่งจองคิวบริการรัฐบาล ขายคิวเกิน 3,500 บาท

Loading

  Akamai รายงานถึงกลุ่มพ่อค้าคนกลางในอิสราเอลที่กวาดจองบริการภาครัฐต่าง ๆ ผ่านแพลตฟอร์ม MyVisit ของรัฐ และนำคิวไปขายต่อในราคาแพง โดยอาศัยช่วงเวลาเริ่มเปิดเมืองหลัง COVID-19 ที่ชาวอิสราเอลเริ่มออกเดินทาง ทำให้ต้องกลับมาทำหนังสือเดินทางกันใหม่     ตอนนี้กระทรวงมหาดไทยอิสราเอลมีคำขอหนังสือเดินทางต้องผลิตเล่มกว่า 700,000 รายการ กระบวนการจองคิวที่ยุ่งยากทำให้นักพัฒนาสร้าง GamkenBot ขึ้นมาจองคิวอัตโนมัติทันทีที่มีสล็อตว่าง แต่หลังจากบ็อตปล่อยออกสู่สาธารณะ เหล่าพ่อค้าหัวใสก็พากันใช้บ็อตนี้ไล่จองคิวบริการต่าง ๆ ของรัฐจนหมด แล้วเอาคิวไปขายให้กับคนที่ต้องการติดต่อรัฐบาลจริง ๆ ข้อมูลที่พบตอนนี้กลุ่มพ่อค้าขายคิวบริการถึง 100 ดอลลาร์ หรือ 3,500 บาท   ทาง MyVisit พยายามใส่ CAPTCHA เพื่อป้องกันการใช้บ็อตไล่กวาดคิวเช่นนี้แต่เพียงวันเดียวกลุ่มพ่อค้าก็กลับมากวาดคิวได้อีก ทาง Akamai ระบุว่า CAPTCHA อาจจะลัดได้ด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การเขียนตัวแก้โจทย์อัตโนมัติ, ใช้แรงงานคนแก้ปัญหา, หรือการกวาดโทเค็น CAPTCHA ไปใช้งาน และการป้องกันบ็อตให้สำเร็จต้องอาศัยเทคนิคที่ซับซ้อนขึ้นเนื่องจากบ็อตเหล่านี้ก็พยายามปลอมตัวให้เหมือนมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ   ที่มา – Akamai  …