สหรัฐฯ สอบเหตุมือดีลอบวางระเบิดแท่งหิน “สโตนเฮนจ์แห่งอเมริกา”

Loading

  สหรัฐฯ เร่งสอบสวนหาเบาะแส เหตุระเบิดบริเวณแท่งหินแกรนิต ฉายา “สโตนเฮนจ์แห่งอเมริกา” ล่าสุด จนท.ตัดสินใจทำลายซากเสาหินที่เหลืออยู่ทิ้ง เพื่อความปลอดภัย ช่วงรุ่งสางของวันพุธ ตามเวลาท้องถิ่น เกิดเหตุระเบิดรุนแรง บริเวณแท่งหิน “จอร์เจีย ไกด์สโตนส์” (Georgia Guidestones) อนุสาวรีย์หินแกรนิต ที่คนในพื้นที่เรียกกันว่า “สโตนเฮนจ์แห่งอเมริกา” ตั้งอยู่กลางทุ่งในชนบท ทางตะวันออกของเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย       แรงระเบิดทำให้แท่งหินต้นหนึ่งพังถล่ม เศษซากแตกกระจัดกระจายเต็มพื้น ขณะที่สำนักงานสอบสวนรัฐจอร์เจีย (GBI) ระบุว่า น่าจะมีคนจุดชนวนระเบิด เนื่องจากหลังตรวจสอบภาพวงจรปิด พบว่ามีคนขับรถออกจากจุดเกิดเหตุในช่วงเวลาดังกล่าว       ล่าสุด เจ้าหน้าที่ตัดสินใจทำลายซากเสาหินที่ยังอยู่เหลือทั้งหมด จากเหตุผลด้านความปลอดภัย สำหรับแท่งหิน “จอร์เจีย ไกด์สโตนส์” ซึ่งมีความสูง 19 เมตร หนัก 119 ตัน ประกอบด้วยเสาหินแกรนิตทั้งหมด 5 ต้น โดย 1 ต้น…

อิสราเอล-ไทย ลงนาม MOU ความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

  อิสราเอล-ไทย ลงนามบันทึกความเข้าใจ เริ่มต้นของความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและอำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างสองประเทศ วันนี้ (6 ก.ค.2565) สำนักงานไซเบอร์แห่งชาติอิสราเอลและคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ณ กรุงเทพมหานคร โดย นางออร์นา ซากิฟ เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ในนามของสำนักงานไซเบอร์แห่งชาติอิสราเอล และ พลเอก ดร.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของประเทศไทย พิธีลงนามในวันนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นของความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและอำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างอิสราเอลและประเทศไทย กิจกรรมความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นจากบันทึกความเข้าใจทางไซเบอร์ฉบับนี้ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ด้านนโยบายและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การอำนวยความสะดวกในกิจกรรมร่วมระหว่างบริษัทในอุตสาหกรรมไซเบอร์และหน่วยงานด้านการศึกษา ฯลฯ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับชาติของทั้งสองประเทศ นางออร์นา ซากิฟ เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศอิสราเอลได้สร้างนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้องค์กรต่างๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนทั่วโลก ในปัจจุบันโลกของเราได้เข้าสู่ระบบดิจิทัลกันมากขึ้น ทั้งในระดับบุคคลและระดับรัฐบาล นั่นหมายความว่าโลกจะเปราะบางยิ่งขึ้นต่อภัยคุกคามแบบใหม่ๆ ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่ไม่ระบุทำเลที่ตั้ง ทั้งยังปราศจากพรมแดน เราจะสามารถรับมือภัยคุกคามดังกล่าวนี้ได้ ก็ต่อเมื่อประเทศต่างๆ ร่วมมือกัน เรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน บันทึกความเข้าใจที่ลงนามในวันนี้ เป็นสิ่งยืนยันถึงมิตรภาพและความไว้วางใจกัน ความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน บ่งบอกว่าเราจะจับมือเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายใหม่ๆไปด้วยกัน นั่นย่อมหมายถึงความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างอิสราเอลและประเทศไทยจะใกล้ชิดและแน่นแฟ้นยิ่งๆ ขึ้นไป”     ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ …

Marriott ยืนยัน Data Breach ล่าสุด คาดรั่วข้อมูลแขกโรงแรมและพนักงาน

Loading

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมานี้เองที่ทาง Marriott ได้ออกมายืนยันแล้วว่า พบแฮ็กเกอร์ไม่ประสงค์ดีได้บุกรุกเข้ามาในเน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์ และพยายามที่จะเรียกค่าไถ่กับบริษัท ส่งผลให้การโจมตีทางไซเบอร์ครั้งเป็นอีกครั้งหนึ่งที่สามารถโจมตีเครือโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้สำเร็จ เหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกรายงานขึ้นมาครั้งแรกโดยทาง databreaches.net ซึ่งเผยว่า ได้เกิดเหตุขึ้นมาราวเดือนกว่า ๆ แล้ว และยังบอกด้วยว่าเป็นผลงานของกลุ่มข้ามชาติที่ทำงานร่วมกันกว่า 5 ปี โฆษกของทาง Marriott เผยว่า บริษัท “ตระหนักระวังผู้ไม่ประสงค์ดีที่อาจใช้วิธี Social Engineering เพื่อหลอกลวงเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของพนักงาน” แต่การเข้าถึงเครื่องที่เกิดขึ้น “ใช้เวลาสั้น ๆ ไม่ถึงวันเท่านั้น และ Marriott ก็กำลังตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่ ก่อนที่ผู้ไม่ประสงค์ดีนั้นจะได้ติดต่อมาเพื่อเรียกค่าไถ่ ซึ่ง Marriott ไม่ได้จ่ายให้แต่อย่างใด” พร้อมทั้งบริษัทได้เตรียมเดินเรื่องทางกฎหมายแล้ว โดยกลุ่มที่เคลมว่าเป็นผู้กระทำการนั้นได้เผยออกมาว่า สามารถขโมยข้อมูลของ Marriott ได้ราว 20 กิกะไบต์ (Gigabyte : GB) ซึ่งมีทั้งข้อมูลบัตรเครดิตและข้อมูลที่เป็นความลับต่าง ๆ เกี่ยวกับแขกที่เข้าพักโรงแรม หรือว่าคนทำงานจากพนักงานคนหนึ่งที่ BWI Airport Marriott ใน Baltimore ซึ่งผู้โจมตีได้ “ส่งอีเมลไปยังพนักงานจำนวนมาก”…

รัฐสภายุโรปผ่านกฎหมาย Digital Service และ Digital Market ควบคุมแพลตฟอร์มออนไลน์

Loading

รัฐสภายุโรปผ่านกฎหมายดิจิทัลที่สำคัญ 2 ฉบับคือ Digital Services Act (DSA) และ Digital Markets Act (DMA) ด้วยคะแนนท่วมท้น – Digital Services Act (DSA) เป็นกฎหมายที่กำหนดว่าผู้ให้บริการโซเชียลเน็ตเวิร์ค หรืออีคอมเมิร์ซ มีหน้าที่ต้องจัดการกับเนื้อหาผิดกฎหมาย ข่าวปลอม หรือภัยสังคมอื่นๆ โดยแพลตฟอร์มไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบเนื้อหาที่โพสต์โดยผู้ใช้ได้ กฎหมายนี้ยังส่งเสริมความโปร่งใสของแพลตฟอร์ม เช่น ต้องอธิบายวิธีการเซ็นเซอร์เนื้อหา หรืออัลกอริทึมที่ใช้แนะนำเนื้อหาให้ผู้ใช้ และผู้ใช้ยังสามารถอุทธรณ์การตัดสินใจของแพลตฟอร์มได้ (ข่าวเก่า) – Digital Markets Act (DMA) เป็นกฎหมายที่ดูแลการแข่งขันของแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ห้ามให้อิทธิพลของตัวเองกีดกันคู่แข่งหรือคู่ค้ารายย่อย เช่น กำหนดว่าต้องยอมให้คู่แข่งเข้ามาเชื่อมระบบได้ (ตัวอย่างคือ แอพแชทต้องคุยข้ามกันได้) เพื่อสร้างทางเลือกให้ผู้ใช้ , กำหนดให้ลูกค้าธุรกิจต้องเข้าถึงข้อมูลของตัวเองได้ , ห้ามแพลตฟอร์มจัดอันดับบริการของตัวเองเหนือคู่แข่งรายอื่น , แพลตฟอร์มไม่สามารถห้ามการถอนแอพที่พรีโหลดมากับเครื่องได้ (ข่าวเก่า) ขั้นถัดไป ฝ่ายบริหารของประเทศในยุโรปจะยอมรับกฎหมายทั้งสองฉบับ (DMA เดือนกรกฎาคม และ DSA…

ปะทะเดือด “เขาสาวอ” ดับ 1 ที่รือเสาะ – บึ้ม 4 จุดบันนังสตา คาดโต้วิสามัญฯ

Loading

เจ้าหน้าที่นำกำลังไล่ล่ากลุ่มติดอาวุธในป่า บนเขาสาวอ รือเสาะ นราธิวาส ยิงปะทะคนร้ายดับ 1 ส่วนที่ยะลา มือมืดลอบวางระเบิดชุดเคลื่อนที่เร็ว อ.บันนังสตา ทหารพรานเจ็บ 1 นาย สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้กลับมาร้อนแรง และมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นรายวัน พร้อมๆ กับปฏิบัติการเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ ทั้งปิดล้อม ตรวจค้น และยิงปะทะ โดยเมื่อเวลาประมาณ 10.40 น.วันพุธที่ 6 ก.ค. 65 พ.อ.อิศรา จันทะกระยอม ผบ.กองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วย พ.อ.สิทธิชัย บำรุงเขต ผู้บังคับหน่วยปฏิบัติการพิเศษร่วม จังหวัดนราธิวาส (ผบ.นปพ.ร่วม จ.นราธิวาส) และเจ้าหน้าที่ชุดการข่าวความมั่นคง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส ได้สนธิกำลังจำนวน 4 ชุดปฏิบัติการ ออกแผนปฏิบัติการไล่ล่ากดดันกองกำลังติดอาวุธ กลุ่ม นายอัมดัน แมเร๊าะ ที่เคลื่อนไหวกบดานอยู่บนเทือกเขารอยต่อระหว่างบ้านสาวอฮีเล หมู่ 6 ต.สาวอ กับ บ้านบือเล็ง หมู่…

NIST เลือกกระบวนการเข้ารหัสทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัมชุดแรก

Loading

                                           นักวิจัยไมโครซอฟท์กำลังทำงานก้บคอมพิวเตอร์ควอนตัม NIST ประกาศผลการคัดเลือกอัลกอริทึมเข้ารหัสที่ทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัม โดยชุดแรกมี 4 อัลกอริทึมที่จะเข้าสู่กระบวนการจัดทำมาตรฐานต่อไป แบ่งเป็นกระบวนการเข้ารหัสแบบกุญแจลับ/กุญแจสาธารณะ 1 รายการ และกระบวนการสร้างลายเซ็นดิจิทัล 3 รายการ กระบวนการคัดเลือกอัลกอรึทึมเข้ารหัสที่ทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัมนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2016 ก่อนหน้ากูเกิลจะประกาศว่าผ่านเส้นชัย Quantum Supremacy ไปเมื่อปี 2019 และทีมวิจัยจีนประกาศผ่านหลักชัยเดียวกันในปี 2020 แม้ว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ควอนตัมจะก้าวหน้าไปเร็วมาก แต่ทุกวันนี้เราก็ยังไม่เห็นคอมพิวเตอร์ควอนตัมใหญ่กว่า 100 คิวบิต ขณะที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมระดับที่เป็นภัยต่อกระบวนการเข้ารหัสนั้นต้องใช้เครื่องระดับหลายพันคิวบิต ซึ่งน่าจะพัฒนาสำเร็จหลังจากปี 2030 ไปแล้ว กระบวนการเข้ารหัสที่ได้รับเลือก ทั้ง 4 รายได้แก่ CRYSTALS-KYBER…