ยูเครนใช้เทคโนโลยีระบบจดจำใบหน้าช่วยระบุตัวทหารรัสเซีย

Loading

ในภาวะสงคราม การทราบข้อมูล พร้อมทั้งสามารถระบุว่าใครเป็นใครได้นั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นทหารที่เสียชีวิต ผู้ที่ถูกจับกุมตัว ขโมย คนที่เข้า-ออกเขตชายแดน หรือกระทั่งการบันทึกข้อมูลอาชญากรรมสงครามต่าง ๆ รัฐบาลและหน่วยงานของประเทศยูเครนจึงนำเทคโนโลยีใหม่ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์จดจำใบหน้า (facial recognition) สุดล้ำสมัยจากสหรัฐฯ เข้ามาใช้เพื่อตอบโจทย์ข้างต้น โดยเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถระบุตัวทหารรัสเซีย ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิต ลีโอนิด ทิมเชนโก (Leonid Tymchenko) หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการและสนับสนุนข้อมูลของตำรวจแห่งชาติยูเครน บอกกับผู้สื่อข่าว วีโอเอ ว่า เทคโนโลยีจดจำใบหน้าคือเครื่องมือที่มีประโยชน์มากสำหรับยูเครน ซึ่งมีการนำมาใช้ใน 5 หน่วยงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติของยูเครนแล้ว และ ระบบนี้ก็ทำงานได้ตามเป้าประสงค์อย่างไม่มีที่ติ   Clearview.ai – Screenshot Clearview AI บริษัทผู้ผลิตเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจากรัฐนิวยอร์ก ซึ่งเป็นบริษัทที่ตกเป็นเป้าการถกเถียงกันอยู่ในเวลานี้ คือ ผู้ที่อนุมัติให้รัฐบาลยูเครนใช้ฐานข้อมูลใบหน้าผู้คนนับพันล้านคนเพื่อใช้ในการระบุตัวทหารรัสเซียนั้น ทั้งนี้ Clearview AI เพิ่งสิ้นสุดกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีฟ้องร้องในชั้นศาล เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลจากซอฟต์แวร์ที่สามารถระบุและให้ข้อมูลตัวส่วนตัว โดยที่เจ้าตัวไม่ได้ยินยอม ซึ่งทางบริษัทอ้างว่า ตนเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์สาธารณะต่าง ๆ รวมทั้งสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศรัสเซียอย่าง VKontakte (VK) อย่างไรก็ตาม บริษัทดังกล่าวจบคดีโดยการตกลงว่า จะขายซอฟต์แวร์ของตนให้แก่ตำรวจและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเท่านั้น…

สหราชอาณาจักรปรับ Clearview AI เป็นเงิน 320 ล้านบาท ฐานใช้ภาพประชาชนให้บริการค้นหา

Loading

  Information Commissioner’s Office (ICO) หน่วยงานกำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของสหราชอาณาจักร ประกาศปรับบริษัท Clearview AI ฐานใช้ภาพประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยสั่งปรับ 7.5 ล้านปอนด์หรือ 320 ล้านบาท พร้อมกับสั่งให้หยุดดาวน์โหลดข้อมูลส่วนบุคคล และลบข้อมูลที่ดาวน์โหลดไปแล้วออกทั้งหมด Clearview AI ดำเนินธุรกิจเก็บภาพใบหน้าจำนวนมากจากอินเทอร์เน็ตแล้วเปิดให้ลูกค้าค้นหาภาพใบหน้าได้ ลูกค้าของบริษัทมักเป็นหน่วยงานรัฐ ทาง ICO ระบุว่าความผิดของ Clearview AI มีหลายประเด็น ได้แก่ – ไม่แจ้งประชาชนถึงการใช้งานข้อมูลอย่างเปิดเผย ทำให้เจ้าของข้อมูลไม่ตระหนักว่าข้อมูลอาจถูกใช้งานไปค้นหาใบหน้า – ไม่มีเหตุจำเป็นตามกฎหมายในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล – ไม่มีกระบวนการขอให้หยุดเก็บข้อมูล – เมื่อเจ้าของข้อมูลขอตรวจสอบข้อมูลก็ยิ่งขอข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติม ตอนนี้ Clearview AI เก็บภาพบุคคลไปแล้วกว่าสองหมื่นล้านภาพจากทั่วโลก ทาง ICO ระบุว่าข้อมูลเช่นนี้ไม่ใช่แค่การค้นหาตัวตนแต่ยังสามารถตรวจสอบพฤติกรรมบุคคลในภาพด้วย ที่มา – ICO     ที่มา : blognone    /   วันที่เผยแพร่…

เปิดผลตรวจปืนคนร้ายยิงเก๋งครูพละยะลา

Loading

  ศพฐ.10 เผยผลตรวจอาวุธปืนที่ยึดได้จากผู้ต้องหายิงรถเก๋งครูพละยะลา พบเป็นปืนลูกซองของผู้ก่อเหตุจริง แต่ตรวจเลขทะเบียนปืนไม่ได้ เพราะถูกขูดลบ ยังไม่พบประวัติเคยก่อเหตุอื่นในพื้นที่ ความคืบหน้าเหตุการณ์คนร้ายลอบยิง น.ส.วราพรรณ ไหมเหลือง อายุ 30 ปี ครูสอนพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งประเทศไทย วิทยาเขตยะลา ขณะขับรถยนต์เก๋งอยู่ในพื้นที่บ้านปอเย๊าะ หมู่ 4 ต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา ได้รับบาดเจ็บ เหตุเกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 13 พ.ค.65 ที่ผ่านมา ต่อมาวันศุกร์ที่ 20 พ.ค.65 เจ้าหน้าที่ตำรวจนำกำลังพร้อมหมายจับเข้าจับกุมผู้ก่อเหตุ คือ นายฮัมดี ยีเล๊าะ อายุ 34 ปี ที่บ้านเลขที่ 26/2 หมู่ 4 ต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา พร้อมของกลางอาวุธปืนลูกซองยาว 1 กระบอก โดยพบว่า นายฮัมดี ก่อเหตุเพราะเกิดอาการหวาดระแวงจากการเสพยาเสพติด และเข้าใจว่า รถยนต์ของ น.ส.วราพรรณ เป็นรถของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงใช้อาวุธปืนยิงแล้วหลบหนี…

รายงานเผย องค์กร 60% เคยสูญเสียข้อมูล เหตุเพราะพนักงานทำพลาด

Loading

  จากแบบสำรวจใหม่ล่าสุดของทาง Ponemon Institute เรียกว่าองค์กรที่อยู่ในแบบสำรวจถึง 3 ใน 5 ที่ได้เคยสูญเสียข้อมูลหรือถูกคัดออกไปจากองค์กร อันเนื่องมาจากความผิดพลาดของพนักงานที่จัดการเกี่ยวกับอีเมลในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยแบบสำรวจดำเนินการกับผู้ปฏิบัติงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไอที (IT Security) จำนวน 614 ท่านทั่วโลก ซึ่งเผยให้เห็นว่าอีเมลนั้นเป็นช่องที่มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะทำให้ข้อมูลองค์กรสูญหายไปได้ ด้วยตัวเลขที่ตอบแบบสำรวจกว่า 65% เลยทีเดียว นอกจากนี้ แบบสำรวจยังพบว่า “ความประมาทเลินเล่อของพนักงาน” (เพราะไม่ได้ทำตามนโยบาย Policy ที่วางไว้) นั้นจะเป็นสาเหตุที่นำไปสู่เหตุการณ์ความสูญเสียข้อมูลได้ ซึ่งพบว่า เหตุการณ์กว่า 27% นั้นเกิดจาก Malicious ที่อยู่ภายในองค์กร โดยการขโมยข้อมูลออกไปโดยเจตนานี้ยังสร้างความเครียดให้กับทีมไอทีอย่างต่อเนื่อง เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวต้องใช้เวลาราว 3 วัน สำหรับทีมบริหารจัดการความเสี่ยงและความมั่นคงปลอดภัยในการตรวจจับและแก้ไขปัญหาเหตุการณ์สูญข้อมูลไปอันเนื่องมาจาก Malicious ภายในหรืออีเมลก็ตาม ข้อมูลที่มักจะสูญหาบ่อย ๆ นั้นมักจะเป็นข้อมูลความลับองค์กรที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ข้อมูลลูกค้า (61%) ข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา (56%) ข้อมูลผู้บริโภค (47%) รวมไปถึงข้อมูลที่ผู้ใช้สร้างขึ้น เช่น เนื้อหาในอีเมล…

แคนาดาแบน Huawei และ ZTE จากการให้บริการเครือข่าย 5G

Loading

แฟ้มภาพ โลโก้ Huawei บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและอุปกรณ์โทรคมนาคมสัญชาติจีน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเชินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (Photo by AFP)   แคนาดาออกคำสั่งแบนบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง Huawei และ ZTE จากการให้บริการเครือข่ายไร้สาย 5G เนื่องจากความกังวลด้านปัญหาความมั่นคงของประเทศ เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม 2565 กล่าวว่า หลังสหรัฐอเมริกาออกมาเตือนถึงผลกระทบด้านความปลอดภัยในการให้บริษัทเทคโนโลยีของจีนเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่สำคัญซึ่งสามารถนำมาใช้ในการจารกรรมได้ และจากประเด็นความขัดแย้งด้านการทูตระหว่างแคนาดาและจีนเกี่ยวกับการจับกุมตัวผู้บริหารระดับสูงของ Huawei (หัวเว่ย) ฟรังซัว ฟิลลิป ชามปานเย รัฐมนตรีอุตสาหกรรมของแคนาดา และ มาร์โก เมนดิซิโน รัฐมนตรีกระทรวงความปลอดภัยสาธารณะของแคนาดา ประกาศในการแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ว่า “แคนาดาจะระงับผลิตภัณฑ์และบริการของ Huawei และ ZTE ในระบบโทรคมนาคมทั้งหมดของประเทศ อีกทั้งบริษัทโทรคมนาคมในแคนาดา จะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการเครือข่ายของ Huawei และ ZTE ซึ่งจะทำให้ความมั่นคงของประเทศของเราตกอยู่ในความเสี่ยง ผู้ให้บริการที่ติดตั้งอุปกรณ์ของ Huawei และ ZTE ไว้แล้ว จะต้องหยุดใช้งานและนำอุปกรณ์ออกทันที” เมนดิซิโน…