จีนกร้าว! พร้อมทำสงครามโดยไม่ลังเล หาก ‘ไต้หวัน’ แยกตัวเป็นเอกราช

Loading

                                          เว่ย เฟิ่งเหอ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมจีน เว่ย เฟิ่งเหอ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมจีน เอ่ยเตือนสหรัฐฯ วานนี้ (10 มิ.ย.) ว่าจีนพร้อมที่จะทำสงครามโดย “ไม่ลังเล” หากไต้หวันประกาศแยกตัวเป็นเอกราช คำเตือนดังกล่าวมีขึ้นระหว่างที่ เว่ย และรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ลอยด์ ออสติน ได้พบปะพูดคุยกันในการหารือนอกรอบของการประชุมด้านความมั่นคงประจำปี “แชงกรี-ลา ไดอะล็อก” (Shangri-La Dialogue) ซึ่งจัดขึ้นที่สิงคโปร์ ปักกิ่งถือว่าไต้หวันซึ่งปกครองตนเองด้วยระบอบประชาธิปไตยมาหลายสิบปีเป็นดินแดนในอธิปไตยของตน และไม่ปฏิเสธที่จะใช้กำลังทหารนำเกาะแห่งนี้กลับมาอยู่ภายใต้การปกครอง หากมีความจำเป็น อู๋ เชียน (Wu Qian) โฆษกกระทรวงกลาโหมจีน อ้างถ้อยแถลงที่ เว่ย…

ธนบัตรมรณะ! เตือนห้ามเก็บแบงก์ไร้เจ้าของ เสี่ยงโดนพิษยาบ้า-เฟนทานิล

Loading

  นายอำเภอจากรัฐเทนเนสซี่ออกประกาศเตือนประชาชน ห้ามเก็บธนบัตรที่หล่นอยู่บนพื้นในลักษณะพับครึ่ง เนื่องจากอาจเสี่ยงสัมผัสยาเสพติดที่มีฤทธิ์รุนแรงจนทำให้แก่ชีวิตได้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มิ.ย. 2565 สำนักงานนายอำเภอเพอร์รีเคาน์ตี รัฐเทนเนสซี ได้ออกประกาศแจ้งเตือนประชาชนผ่านโซเชียลมีเดีย ไม่ให้เก็บธนบัตรที่หล่นอยู่บนพื้นในลักษณะถูกพับครึ่ง เนื่องจากธนบัตรลักษณะดังกล่าวอาจปนเปื้อนสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ก่อนหน้านี้ ได้มีกรณีประชาชน 2 ราย เก็บธนบัตรที่หล่นอยู่บนพื้นในบริเวณสถานีเติมน้ำมันในเขตเพอร์รีเคาน์ตี และพบผงสีขาวอยู่ด้านในธนบัตร ซึ่งต่อมาได้รับการพิสูจน์และยืนยันว่าเป็นผงที่มีส่วนผสมของยาบ้าและเฟนทานิล อันเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์ร้ายแรง เฟนทานิลเป็นสารสังเคราะห์จากฝิ่นซึ่งมีฤทธิ์ร้ายแรงกว่ามอร์ฟีนถึง 50-100 เท่า ปกติจะใช้เป็นส่วนผสมของยาแก้ปวด เฟนทานิลเพียง 2 มิลลิกรัม ก็สามารถออกฤทธิ์ต่อร่างกายมนุษย์จนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับขนาดรูปร่างและความทนทานต่อยาเสพติดของแต่ละคน ตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ หรือ CDC ของสหรัฐฯ ในปี 2564 มีประชาชน 71,238 ราย ที่ต้องเสียชีวิตเนื่องจากการใช้เฟนทานิล ยาเสพติดชนิดนี้สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายในระบบทางเดินอาหาร (ผ่านการรับประทาน) การสูดดมและซึมผ่านทางผิวหนัง แหล่งข่าว : miamiherald.com เครดิตภาพ : Getty Images, Facebook/PerryCountySheriffOffice     ที่มา :…

แจงปม “ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ” ปภ.เผยแผนติดตั้งตัวใหม่ได้ในเดือน พ.ย.นี้

Loading

ปภ. เผยแผนติดตั้ง “ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ” ตัวใหม่ในมหาสมุทรอินเดีย คาดเดือนพฤศจิกายน 2565 นี้ ติดตั้งได้ ทดแทนตัวเก่าที่หลุดจากตำแหน่ง วันที่ 10 มิถุนายน 2565 เมื่อเวลา 16.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย เผยถึงกรณี “ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ” ของประเทศไทยหลุดจากตำแหน่งที่ติดตั้ง ระบุว่า ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.ปภ.) ได้ติดตั้ง “ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ” จำนวน 2 ทุ่น ในมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอันดามัน โดย ทุ่นที่ 1 (ทุ่นตัวไกล) เป็นทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย สถานี 23401 ติดตั้งห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางทิศตะวันตก เป็นระยะทาง 965 กิโลเมตร ซึ่งทุ่นตรวจวัดนี้ได้หลุดจากตำแหน่งติดตั้งไปเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564 และได้ติดตามพบ สามารถเก็บกู้ได้ พบความเสียหายจึงได้ประสานฝากไว้ที่ประเทศอินเดีย สำหรับทุ่นตัวใหม่ขณะนี้อยู่ระหว่างการผลิต และมีกำหนดส่งถึงประเทศไทยในเดือนสิงหาคม 2565 นี้ โดยจะนำออกไปติดตั้งทดแทนในมหาสมุทรอินเดียได้ในเดือนพฤศจิกายน…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ข้อมูลผู้ป่วยรพ. ศิริราชกว่า 39 ล้านคน รั่วไหลถูกนำไปประกาศขายในอินเทอร์เน็ต

Loading

  ตามที่มีการส่งต่อข้อความในประเด็นเรื่องข้อมูลผู้ป่วยรพ. ศิริราชกว่า 39 ล้านคน รั่วไหลถูกนำไปประกาศขายในอินเทอร์เน็ต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ   จากกรณีที่มีการส่งต่อเรื่องราวโดยระบุว่าข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช รั่วและถูกนำไปเสนอขาย โดยรายละเอียดข้อมูลที่รั่วคือ ชื่อ สกุล ที่อยู่ รหัสบัตรประชาชน เบอร์โทร เพศ วันเกิด และอื่นๆ   ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตรวจสอบและชี้แจงว่าขณะนี้ยังไม่พบการรั่วไหลของข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และโรงพยาบาลในสังกัด   ทั้งนี้ โรงพยาบาลศิริราชยังเปิดให้บริการตามปกติ และไม่มีผลกระทบต่อการรักษาและการให้บริการทางการแพทย์แต่อย่างใด โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเรียนให้ผู้รับบริการทุกท่านมั่นใจว่า คณะฯ ให้ความสำคัญในการปกป้องและรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยอย่างสูงสุดตามมาตรฐานสากล โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลไม่มีนโยบายการติดต่อกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลเพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ   ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.si.mahidol.ac.th/th หรือติดตามข้อมูลข่าวสารจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.)   บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ขณะนี้ยังไม่พบการรั่วไหลของข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และโรงพยาบาลในสังกัด ทั้งนี้…

“ไอเออีเอ” ตำหนิอิหร่าน ถอดกล้องวงจรปิดออกจากโรงงานนิวเคลียร์

Loading

  ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศเตือนอิหร่าน ว่าการถอดกล้องวงจรปิด “มากกว่าครึ่ง” ออกจากโรงงานนิวเคลียร์ อาจส่งผลกระทบต่อการเจรจาฟื้นฟูข้อตกลง   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ว่านายราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) แถลงเมื่อวันพฤหัสบดี ว่าได้รับแจ้งเมื่อไม่นานมานี้ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอิหร่าน เกี่ยวกับการถอดกล้องวิดีโอวงจรปิดรวม 27 ตัว ออกจากโรงงานนิวเคลียร์หลายแห่งในประเทศ   IAEA Chief @RafaelMGrossi to brief journalists about developments related to the IAEA’s monitoring and verification work in #Iran.?Media arrangements: https://t.co/bQsRP4z0gH? Today, 13:15pm Vienna timehttps://t.co/NqbTBE1CPo — IAEA – International Atomic Energy Agency…

Tim Cook เผยความกังวล เก็บข้อมูลลูกค้าตลอดเวลา อาจส่งผลเสียระยะยาว

Loading

  เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา ทิม คุก (Tim Cook) ซีอีโอของ Apple กล่าวในงานประชุม TIME100 Summit 2022 ถึงความกังวลของเขาเกี่ยวกับการที่บริษัทต่าง ๆ เก็บข้อมูลของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเรื่องนี้อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมได้ในระยะยาว   เดิมซีอีโอของ Apple เป็นคนที่ไม่เห็นด้วยเรื่องการติดตามข้อมูลของลูกค้าอยู่แล้ว และมักจะวิจารณ์บริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ในเรื่องนี้อยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ Apple จึงให้ความสำคัญด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อย่างมาก เขากล่าวว่าการเก็บข้อมูลลูกค้าตลอดเวลาอาจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนในอนาคต และทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันเปลี่ยนไป   “เมื่อเรารู้สึกว่าโดนจับตาอยู่ตลอดเวลา พฤติกรรมของเราจะเปลี่ยนไป เราจะลงมือทำอะไรน้อยลง คิดน้อยลง ปรับเปลี่ยนวิธีคิด และหักห้ามตัวเองมากขึ้น” ทิม คุก ซีอีโอของแอปเปิล   มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พูดถึงพฤติกรรมผู้คนที่เปลี่ยนไป เมื่อพวกเขารู้ตัวว่ากำลังถูกจับตามอง เช่น งานวิจัยของมหาวิทยาลัยในเนเธอร์แลนด์ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2018 แสดงให้เห็นว่า มีคนโกงข้อสอบน้อยลงอย่างมาก เมื่อรู้ว่ามีกล้องวงจรปิด และผลการสำรวจในปี 2019 พบว่าคนจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในที่ทำงาน ถ้ารู้ตัวว่ากำลังถูกจับตามองอยู่   นอกจากนี้…