ครั้งแรกของโลก ยุโรปเสนอกฎกำกับดูแล AI สร้างขอบเขตการใช้งานให้ไม่กระทบสิทธิพลเมือง

Loading

  สหภาพยุโรป เสนอร่างข้อกำหนดควบคุมการใช้ AI โดยจะเป็นนโยบายแรกของโลกในการกำกับดูแลและกำหนดขอบเขตของบริษัทว่าสามารถใช้ AI ได้ถึงระดับไหน เนื่องจาก AI ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งการคุกคามความเป็นส่วนตัว และความโน้มเอียง   ตัวร่างข้อกำหนดความยาว 108 หน้า แบ่งความเสี่ยง AI เป็น 4 ขั้น ความเสี่ยงระดับที่ยอมรับไม่ได้ เช่น AI ที่รัฐบาลใช้กำหนดคะแนนความประพฤติของประชาชน เป็นต้น ซึ่งยุโรปจะแบนการใช้อัลกอริทึมพวกนี้ทั้งหมด ความเสี่ยงสูง เช่น AI ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายและการระบุตัวตนทางชีวภาพ ทางคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่า เทคโนโลยีในกลุ่มนี้ต้องอยู่ภายใต้การกำกับตั้งแต่ขั้นฝึกระบบเลย AI ที่มีความเสี่ยงจำกัด เช่น แชทบอท ตัวร่างระบุให้บริษัทเปิดเผยใช้ชัดว่าผู้ใช้กำลังคุยกับ AI เพื่อให้ผู้ใช้ตัดสินใจเองว่าอยากคุยต่อหรืออยากคุยกับคนมากกว่า AI ความเสี่ยงต่ำ เช่น ระบบกรองสแปม ในเอกสารไม่ได้ระบุวิธีการกำกับดูแล No Description วัตถุประสงค์ของร่างข้อกำหนดคือ ให้แน่ใจว่า AI ที่ใช้ในตลาดมีความปลอดภัย และเคารพหลักสิทธิขั้นพื้นฐาน และให้มีกฎหมายที่แน่นอน เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนพัฒนา AI…

ญี่ปุ่นเผยถูกสายลับ “กองทัพจีน” เจาะระบบคอมพิวเตอร์

Loading

  ตำรวจญี่ปุ่นสืบสวนกรณีการโจมตีทางไซเบอร์ต่อหน่วยงานและบริษัทเกือบ 200 แห่งในญี่ปุ่น โดยสงสัยว่าเป็นฝีมือของแฮกเกอร์ที่เกี่ยวพันกับกองทัพจีน หน่วยงานสำคัญของญี่ปุ่นที่ถูกแฮกเกอร์ที่คาดว่าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเจาะข้อมูล เช่น สำนักงานสำรวจอวกาศแห่งญี่ปุ่น หรือ จั๊กซ่า, บริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ, มหาวิทยาลัยเคโอ รวมทั้งสถาบันวิจัยชั้นสูงหลายแห่งของแดนอาทิตย์อุทัย สำนักงานสำรวจอวกาศแห่งญี่ปุ่นยอมรับว่า ระบบคอมพิวเตอร์ถูกลักลอบเจาะในปี 2559 แต่ไม่เปิดเผยว่ามีข้อมูลรั่วไหลหรือถูกดัดแปลงแก้ไข ปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์นี้ดำเนินการโดยกลุ่มแฮกเกอร์ที่ใช้ชื่อว่า Tick ซึ่งอยู่ใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของกองทัพจีน     ตำรวจญี่ปุ่นระบุตัว วิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวจีนคนหนึ่งที่ใช้รหัสประจำตัวปลอม เพื่อเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรหลายแห่งในญี่ปุ่น ชายในวัย 30 ปีผู้นี้ต้องสงสัยว่าเคยลักลอบเข้าใช้เซิร์ฟเวอร์หลายแห่งโดยใช้ชื่อปลอมต่าง ๆ กัน และส่งข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์เหล่านั้นไปยังกลุ่มแฮกเกอร์ “Tick” นอกจากนี้ ยังพบว่ามีนักศึกษาชาวจีนอีกคนหนึ่งที่เช่าเซิร์ฟเวอร์หลายเซิร์ฟเวอร์ในญี่ปุ่น โดยใช้หนังสือเดินทางปลอมเพื่อแสดงตัวตน และจากการสืบสวนพบว่านักศึกษารายนี้เกี่ยวข้องกับกองทัพจีน ขณะนี้ วิศวกรชายและนักศึกษารายนี้ได้เดินทางออกจากญี่ปุ่นแล้ว     กองทัพจีนมีหน่วยที่ใช้รหัสว่า 61419 มีฐานที่เมืองชิงเต่า มณฑลซานตง คาดว่าเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการโจมตีทางไซเบอร์ต่อประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นายคัตสีโนบุ คาโต เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น พูดถึงเรื่องนี้โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นฝีมือของใครว่า “การโจมตีทางไซเบอร์ต่อหน่วยราชการและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ มีการจัดองค์กรและมีความล้ำหน้ามากขึ้น รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญเพื่อรับมือการโจมตีเหล่านี้”.…

ตาลิบันโวอยู่เบื้องหลัง “คาร์บอมบ์” โรงแรมหรู-พุ่งเป้าโจมตีทูตจีน ดับ-เจ็บอื้อ!

Loading

  ตาลิบันโวอยู่เบื้องหลัง – วันที่ 22 เม.ย. บีบีซี รายงานว่า เกิดเหตุระเบิดที่โรงแรมเซเรนา โรงแรมหรูในเมืองเควตตา รัฐบาลูจิสถาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ ปากีสถาน เมื่อค่ำวันพุธที่ 21 เม.ย.ตามเวลาท้องถิ่น ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 ราย และอีก 11 คนได้รับบาดเจ็บ ขณะที่ กลุ่มเตห์ริก-อี-ตาลิบัน ปากีสถาน (ทีทีพี) อ้างว่าอยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดพลีชีพ ด้านนายชีค ราชิด อาหมัด รมว.กิจการภายในปากีสถาน แถลงว่าเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นในพื้นที่ลานจอดรถของโรงแรม หลังรถยนต์คันหนึ่งที่มีวัตุระเบิดซุกซ่อนจนเต็มคันรถถูกจุดชนวน สื่อหลายแห่งระบุว่าเป้าหมายโจมตีคือนายหนง หรง ทูตจีนประจำปากีสถาน ซึ่งพำนักอยู่ที่โรงแรมเซเรนาระหว่างเดินทางเยือนเมืองเควตตา แต่ขณะเกิดเหตุนายหนงปฏิบัติหน้าที่อยู่ข้างนอกจึงไม่ได้รับบาดเจ็บ ทั้งนี้ กองกำลังทีทีพีก่อเหตุโจมตีในรัฐบาลูจิสถนหลายครั้งเพราะต้องการแยกดินแดนเป็นอิสระจากปากีสถาน และต่อต้านโครงการความร่วมมือที่ทางการทำร่วมกับรัฐบาลจีน โดยเมื่อไม่นานมานี้เพิ่งมีการบรรลุข้อตกลงขยายท่าเรือน้ำลึกในเมืองกวาดาร์ ภายใต้แผนระเบียงเศรษฐกิจจีนตามโครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21     ————————————————————————————————————————————————————– ที่มา : ข่าวสดออนไลน์      / วันที่เผยแพร่  22…

สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯเสนอกฎหมาย ห้ามหน่วยงานรัฐ ซื้อข้อมูลใบหน้าจากบริษัทภายนอก

Loading

    ที่สหรัฐฯ กำลังมีประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวโดยเฉพาะข้อมูลใบหน้าจากระบบจดจำใบหน้า เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา Buzzfeed News รายงานว่า มีหน่วยงานรัฐ ตำรวจ สถาบันการศึกษา ใช้ข้อมูลจากระบบจดจำใบหน้าของ Clearview AI อย่างแพร่หลายโดยไม่มีการกำกับดูแลที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีบุคลากรในหน่วยงานถึง 1,803 แห่งใช้แพลตฟอร์มจดจำใบหน้า โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ล่าสุด สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ เสนอกฎหมาย Fourth Amendment is Not For Sale Act หน่วยงานจะไม่สามารถซื้อข้อมูลประชากรจากนายหน้าหรือหรือจากบริษัทภายนอกได้ หากข้อมูลนั้นได้มาจากบัญชีหรืออุปกรณ์ของผู้ใช้ หรือผ่านการหลอกลวง การละเมิดสัญญานโยบายความเป็นส่วนตัว หากกฎหมายนี้ผ่าน บริษัท Clearview AI จะไม่สามารถขายข้อมูลให้กับหน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาได้อีกต่อไป มีรายงานด้วยว่า Clearview AI ใช้วิธีการหลากหลายเพื่อให้ได้ข้อมูลมา เช่น ดูดข้อมูลใบหน้าจาก Google, Facebook, Twitter และ Venmo ซึ่งบริษัทพยายามปกป้องตัวเองด้วยการบอกว่า Clearview AI รวบรวมเฉพาะภาพถ่ายที่เปิดเผยต่อสาธารณะจากอินเทอร์เน็ต Hoan…

ผบ.ตร.ออกคำสั่งบันทึกภาพเสียง ค้น จับ สอบสวนคดีอาญา แต่ห้ามเผยแพร่ภาพขณะจับกุม

Loading

  ผบ.ตร.ออกคำสั่งให้ บันทึกภาพและเสียงการตรวจค้น จับกุม สอบสวนคดีอาญา พร้อมสั่งห้ามเผยแพร่ ภาพขณะจับกุม เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 ที่สำนักงานคำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร.ได้มี คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 178/2564 ลงวันที่ 9 เมษายน 2564 เรื่องการบันทึกภาพและเสียงการตรวจค้น จับกุม และการสอบส่วนคดีอาญา คำสั่งระบุว่า ด้วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นสมควรกำหนดแนวทางปฏิบัติในการบันทึกภาพและเสียงการตรวจค้น จับกุม และการสอบสวนคดีอาญา เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่งกำหนดให้นำทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ และพนักงานสอบสวน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(4) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 7/2559 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งของข้าราชการตำรวจซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงออกคำสั่ง ดังนี้   คำสั่งดังกล่าวมีสาระสำคัญ เช่น   ส่วนที่ 1 การบันทึกภาพและเสียงการตรวจค้นคดีอาญา…

FBI ใช้ซอฟต์แวร์ตรวจจับใบหน้า ค้นหาและจับกุมผู้ชุมนุมที่ทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐสภาได้ จากรูปบน IG ของแฟนสาว

Loading

Huffington Post เปิดเผยบันทึกการจับกุม จากเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ หรือ FBI กรณีจับกุม Stephen Chase Randolph ผู้ชุมนุมที่ก่อเหตุทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาสหรัฐฯ (USCP) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021 โดยใช้ซอฟต์แวร์ตรวจจับใบหน้า เทียบภาพจากเหตุการณ์กับภาพบนอินเทอร์เน็ต จนพบรูปเขาบน IG ของแฟนสาว ก่อนจะสืบสวนและเข้าจับกุมได้ในที่สุด ในรายงานระบุว่าเจ้าหน้าที่รวบรวมภาพเหตุการณ์จากวิดีโอบน Instagram แสดงเหตุการณ์ชายหนุ่มสวมหมวกสีเทาคนหนึ่ง เข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่โดยการผลักรั้วกั้นไปกระแทกจนเจ้าหน้าที่ล้มหัวฟาดบันได และหมดสติ ในการชุมนุมวันที่ 6 มกราคม 2021 ก่อนนำภาพใบหน้าชายสวมหมวกสีเทาจากแอคเคาท์ @SeditionHunters แอคเคาท์ทวิตเตอร์ที่เผยแพร่ใบหน้าผู้ชุมนุมรัฐสภาสหรัฐฯ มาเทียบ และพบว่าเป็นชายหนุ่มคนเดียวกับในวิดีโอ เจ้าหน้าที่ FBI จึงใช้ซอฟต์แวร์ตรวจจับใบหน้าแบบ open source เพื่อเทียบใบหน้าของเขากับรูปภาพบนอินเทอร์เน็ต ก่อนจะพบภาพ Stephen สวมหมวกสีเทาแบบเดียวกับในวันชุมนุม บนโพสต์ Instagram ที่เปิดเป็นสาธารณะของแฟนสาวเขา และต่อยอดการสืบไปจนพบชื่อจริงของเขาจากบัญชี Facebook คนในครอบครัว และตรวจสอบยืนยันอีกครั้งจากใบขับขี่ของรัฐ      …