โปแลนด์สั่งปรับโรงเรียนตามกฎหมาย GDPR จากการใช้ไบโอเมตริกตรวจสอบสิทธิ์ในการรับอาหารของนักเรียน

Loading

ภาพโดย MichaelGaida/Pixabay โรงเรียนในประเทศโปแลนด์ถูกทางการสั่งปรับเป็นเงิน 20,000 zloty (หน่วยเงินของโปแลนด์ คิดเป็นเงินไทยราว 166,000 บาท) ตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยุโรปหรือ GDPR หลังจากทางโรงเรียนประมวลผลข้อมูลลายนิ้วมือของนักเรียนเพื่อตรวจสอบการจ่ายเงินค่าอาหารกลางวัน Jan Nowak ประธานของ UODO หน่วยงานด้านการปกป้องข้อมูลส่วนตัวในโปแลนด์ระบุว่าทางโรงเรียนได้ประมวลผลลายนิ้วมือของเด็กนับร้อยคนโดยไม่มีมาตรฐานตามกฎหมาย ซึ่งโรงเรียนมีทางเลือกมากมายในการจัดการอาหารของโรงเรียนที่ไม่จำเป็นต้องใช้ลายนิ้วมือ UODO ระบุว่า โรงเรียนแห่งนี้ใช้เครื่องอ่านไบโอเมตริกตรวจสอบนักเรียนที่ทางเข้าโรงอาหารมาตั้งแต่ปี 2015 เพื่อตรวจสอบสิทธิ์การรับอาหารของนักเรียน โดยถ้านักเรียนปฏิเสธที่จะใช้ไบโอเมตริกจะต้องไปต่อท้ายแถว และต้องรอจนกว่าเด็กที่ใช้ไบโอเมตริกจะเข้าโรงอาหารจนหมดก่อนเด็กที่ไม่ใช้จึงจะเข้าได้ ซึ่งประธาน UODO ให้ความเห็นว่ากฎเหล่านี้สร้างการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมต่อเด็กและสร้างความแตกต่างอย่างไม่มีเหตุผล แม้ว่าโครงการไบโอเมตริกของโรงเรียนแห่งนี้จะมีคำยินยอมจากผู้ปกครองก็ตาม แต่ UODO พบว่าตามวัตถุประสงค์คือการระบุสิทธิ์ในการรับอาหารกลางวันของนักเรียน ก็ไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้ไบโอเมตริก รวมถึง GDPR ระบุไว้ชัดเจนตาม Retical 38 ว่าข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กต้องได้รับการปกป้องเป็นพิเศษเนื่องจากเด็กไม่สามารถตระหนักถึงความเสี่ยงและสิทธิในข้อมูลของตนเอง และไบโอเมตริกก็คือข้อมูลเฉพาะตัวตนที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ หากหลุดออกไปจะถือเป็นความเสี่ยงขั้นรุนแรงต่อเสรีภาพของบุคคลนั้น ๆ ————————————————— ที่มา : Blognone / 7 มีนาคม 2563 Link : https://www.blognone.com/node/115049

Cathay Pacific โดนปรับกว่า 20 ล้านบาทจากเหตุทำข้อมูลลูกค้ารั่ว

Loading

Credit: CathayPacific.com สายการบิน Cathay Pacific ถูกสั่งปรับเป็นเงิน £500,000 (ราว 20 ล้านบาท) จากเหตุความล้มเหลวในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าให้มั่นคงปลอดภัยในช่วงปี 2014 – 2018 ส่งผลให้ข้อมูลเกือบ 10 ล้านรายการรั่วไหลสู่ภายนอก Information Commissioner’s Office (ICO) ระบุว่า ช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2014 ถึงเดือนพฤษภาคม 2018 ที่ผ่านมา ระบบคอมพิวเตอร์ของสายการบิน Cathay Pacific ขาดมาตรการควบคุมด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ส่งผลให้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าซึ่งประกอบด้วย ชื่อ พาสปอร์ต วันเกิด อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลการเดินทาง และอื่นๆ จากลูกค้าในสหราชอาณาจักร 111,578 ราย และประเทศอื่นๆ ทั่วโลกราว 9,400,000 รายถูกเข้าถึงโดยมิชอบจากบุคคลภายนอก ICO ยังระบุอีกว่า การโจมตีเกิดขึ้นเนื่องจากข้อมููลสำรอง (Backups) ไม่มีการใส่รหัสผ่านหรือเข้ารหัสไว้ เซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อมต่อจากอินเทอร์เน็ตก็ไม่มีการแพตช์ช่องโหว่ มีการใช้ระบบปฏิบัติการที่ไม่มีการซัพพอร์ต การใช้แอนตี้ไวรัสไม่เหมาะสม รวมไปถึงการอนุญาตให้เข้าถึงระบบจากภายนอกได้โดยไม่มีการพิสูจน์ตัวตนแบบ…

ทลายคลังแสง! รวบนักยิงปืนทีมชาติลักลอบขายปืนทางเฟซฯ ยึดปืน-กระสุนอื้อ

Loading

MGR Online – ปคม. บุกรวบนักยิงปืนรณยุทธทีมชาติไทย ลักลอบขายปืนทางเฟซบุ๊ก ผงะพบอาวุธปืน กระสุน และเครื่องผลิตกระสุนจำนวนมาก วันนี้ (6 มี.ค.) พล.ต.ต.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบก.ปคม. พ.ต.อ.ภูมินทร์ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบก.ปคม. สั่งการ พ.ต.อ.มารุต กาญจนขันธกุล ผกก.1 บก.ปคม. พ.ต.ท.พงศ์พัฒน์ บัวรุ่ง สว.กก.1 บก.ปคม. นำกำลังจับกุม นายธำรงศักดิ์ วงศ์รักศักดิ์ นักกีฬายิงปืนรณยุทธทีมชาติไทย พร้อมของกลางอาวุธปืนสั้นและอาวุธปืนยาว รวม 27 กระบอก เครื่องกระสุนปืนขนาดต่างๆ รวมประมาณ 5,000 นัด เครื่องผลิตกระสุนปืน จำนวน 2 เครื่อง และอุปกรณ์การผลิตกระสุนปืน (ปลอกกระสุนปืน, ดินปืน, หัวกระสุน) อีกจำนวนมาก ได้ที่บ้านเลขที่ 150 ซอยพหลโยธิน 1 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท…

ตะลึง ซาอุฯ จับพระอนุชาคิงซัลมาน กับ 2 เจ้าชาย ข้อหากบฏ

Loading

ทางการซาอุดีอาระเบียควบคุมตัวสมาชิกราชวงศ์ 3 พระองค์ รวมทั้งองค์ชายอาวุโส 2 พระองค์ ในข้อหาพยายามก่อกบฏ สำนักข่าว เดอะ การ์เดียน รายงานในวันเสาร์ที่ 7 มี.ค. 2563 ว่า เจ้าชายอาห์เหม็ด บิน อับดุลอาซิซ อัล-ซาอุด พระอนุชาในสมเด็จพระราชาธิบดี ซัลมาน บิน อับดุลอาซิซ อัล-ซาอุด แห่งประเทศซาอุดีอาระเบีย และเจ้าชายโมฮัมหมัด บิน นาเยฟ พระราชนัดดา ถูกราชองครักษ์ควบคุมตัวจากที่ประทับของพระองค์ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (6 มี.ค.) หลังจากทั้งสองพระองค์ถูกกล่าวหาว่าวางแผนก่อกบฏโค่นบัลลังก์ เจ้าชายอาห์เหม็ด บิน อับดุลอาซิซ อัล-ซาอุด ขณะที่สำนักข่าว นิวยอร์กไทม์ส รายงานด้วยว่า เจ้าชาย นาวาฟ บิน นาเยฟ พระอนุชาในเจ้าชายโมฮัมหมัด บิน นาเยฟ ก็ถูกควบคุมตัวด้วยเช่นกัน แต่ยังไม่มีการเปิดเผยสาเหตุที่ทั้ง 3 พระองค์ ถูกจับกุมอย่างเป็นทางการ ข่าวการจับกุมเจ้าชายทั้งสามพระองค์ นับเป็นสัญญาณล่าสุดของมาตรการปราบปรามเพื่อรวมศูนย์อำนาจของมกุฎราชกุมาร เจ้าชาย โมฮัมเหม็ด…

APWG เผยสถิติฟิชชิ่งไตรมาสสุดท้ายปี 2019 พบ 74% ใช้ HTTPS ส่วนใหญ่หลอกขโมยรหัสผ่านอีเมล

Loading

Anti-Phishing Working Group หรือ APWG เป็นองค์กรความร่วมมือระดับนานาชาติด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลภัยคุกคามประเภทฟิชชิ่งและอาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยในแต่ละไตรมาสจะมีการเผยแพร่รายงานสรุปสถานการณ์ภัยคุกคามในภาพรวม ในรายงานสถิติฟิชชิ่งไตรมาสที่ 4 ของปี 2019 มีหลายข้อมูลที่น่าสนใจ ประกอบด้วย เว็บฟิชชิ่ง 74% เป็นการเชื่อมต่อผ่าน HTTPS แล้ว โดยส่วนใหญ่ใช้ใบรับรองที่แจกฟรี (ข้อแนะนำให้ตรวจสอบว่าเว็บไซต์ใช้ HTTPS หรือไม่นั้นเป็นสิ่งที่ล้าสมัยแล้ว) ประเภทกลุ่มธุรกิจที่พบว่าถูกสร้างหน้าเว็บไซต์ปลอมมากที่สุดคือ SaaS/Webmail ซึ่งจุดประสงค์เพื่อขโมยบัญชีอีเมลของผู้ใช้บริการเหล่านี้ รองลงมาคือประเภท Payment ซึ่งเป็นบริการชำระเงินแบบออนไลน์ การโจมตีแบบ Business Email Compromise หรือ BEC ซึ่งเป็นการหลอกให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทโอนเงินออกไปให้ผู้ประสงค์ร้ายนั้น 62% เป็นการหลอกให้ซื้อ gift card แล้วส่งรหัสในบัตรเติมเงินไปให้ รองลงมา (22%) คือการหลอกให้โอนเงินไปยังเลขบัญชีของผู้ประสงค์ร้ายโดยตรง การจดโดเมนเพื่อใช้เป็นเว็บฟิชชิ่ง ส่วนใหญ่ยังเป็นการจด .com และ .org แต่ก็เริ่มพบการใช้ .info, .xyz หรือโดเมนที่เป็นโค้ดประเทศ เช่น .br, .uk,…

เยอรมนีบุกทลายแก๊งค้ามนุษย์เวียดนาม

Loading

สำนักงานตำรวจแห่งชาติเยอรมนี ระดมกำลังเจ้าหน้าที่กว่า 700 นาย บุกตรวจค้นบ้านพักและอาคารธุรกิจ กว่า 30 แห่ง ทั่วประเทศ เมื่อวันอังคาร เพื่อกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์จากเวียดนาม สำนักข่าวเอพีรายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ว่า ปฏิบัติการจู่โจมมีเป้าหมายจับกุมผู้ต้องสงสัย 13 คน ซึ่งเป็นชาวเวียดนามทั้งหมด และถูกระบุว่าเป็นตัวการใหญ่แก๊งนำพาชาวเวียดนาม เข้าสู่เยอรมนีโดยผิดกฎหมาย อย่างน้อย 155 คน นายแอ็กเซล แบร์นาร์ด โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเยอรมนี เผยว่า เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องสงสัยได้ 6 คนในกรุงเบอร์ลิน และรัฐซัคเซิน และอีก 4 คนจากรัฐอื่นๆ เจ้าหน้าที่หน่วยสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติเยอรมนี เผยว่า กลุ่มผู้ต้องสงสัยร่วมขบวนการนี้ เก็บเงินจากชาวเวียดนามคนละ 5,000 – 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ (156,820 – 627,290 บาท)เพื่อเป็นค่าบริการลักลอบนำพาเข้าสู่เยอรมนี โดยผู้อพยพผิดกฎหมายเหล่านี้จำนวนมาก ลงเอยด้วยการทำงานในร้านเสริมสวย ภัตตาคาร และกรรมกรในโรงงาน เพื่อหาเงินจ่ายหนี้ค่าหัวเดินทาง…