แคนาดาเตรียมยุติมาตรการอารักขา”แฮร์รี-เมแกน”

Loading

รัฐบาลแคนาดาจะไม่ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยระดับสูงให้กับเจ้าชายแฮร์รีและเมแกน เมื่อทั้งคู่สิ้นสุดสถานะ “สมาชิกระดับสูง” ในราชวงศ์วินด์เซอร์อย่างเป็นทางการ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 287 ก.พ. ว่านายบิล แบลร์ รมว.กระทรวงความปลอดภัยสาธารณะของแคนาดา แถลงเมื่อวันพฤหัสบดี ว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับเจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ และพระชายาคือเมแกน ดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ “จะยุติภายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า” เพื่อให้เป็นไปตาม “สถานะที่เปลี่ยนไป” ของเจ้าชายแฮร์รีและพระชายา ซึ่งจะสละฐานันดรและลดบทบาทจากการเป็น “สมาชิกระดับสูง” ในราชวงศ์วินด์เซอร์ ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของแคนาดาจัดมาตรการรักษาความปลอดภัยให้แก่ดยุกและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ เนื่องจากถือเป็นบุคคลซึ่งมีสถานะ “ได้รับการคุ้มครองระหว่างประเทศ” ตามการหารือกับสำนักงานตำรวจนครบาลกรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร โดยเจ้าชายแอร์รีและพระชายาประทับที่แคนาดาบ่อยครั้งและเป็นเวลานานขึ้น นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2562 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม การที่สำนักพระราชวังบักกิงแฮมประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่า “บทบาท” ของดยุกและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ “ในราชวงศ์วินด์เซอร์ จะสิ้นสุดอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มี.ค. นี้ ตามการหารือเป็นการภายในระหว่างสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองกับพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าชายแฮร์รีและเมแกนจะไม่สามารถเข้าถึงงบประมาณสนับสนุนด้านความปลอดภัย จากกองทุนสาธารณะของรัฐบาลกลางแคนาดาได้อีกต่อไป ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของแคนาดาเป็นไปตามความคาดหมายของทุกฝ่าย และสอดคล้องกับผลสำรวจความคิดเห็นชาวแคเนเดียนโดยสื่อมวลชนและสำนักโพลหลายแห่ง โดยผลสำรวจของสำนักข่าวเอเอฟพีพบว่า 77% ของกลุ่มตัวอย่างไม่ประสงค์ให้มีการใช้ภาษีเป็นค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัยให้กับเจ้าชายแฮร์รีและเมแกน เครดิตภาพ : GETTY IMAGES…

มองกฎหมายไต้หวัน จะต้านทานอิทธิพลข้อมูลข่าวสารจากจีนได้หรือไม่

Loading

ประเทศไต้หวันก็มีปัญหาจากปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร (IO) เช่นกัน จากการที่มีคนมองว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนพยายามใช้ปฏิบัติการสื่อแทรกซึมและชักนำให้มีการสนับสนุนจีนและการรวมประเทศ แม้มีกฎหมายต่อต้านการแทรกซึมเพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศภายนอกใช้ข้อมูลเท็จส่งอิทธิพลต่อการเมืองในไต้หวัน แต่ก็มีข้อถกเถียงว่ากฎหมายนี้จะกลายเป็นลิดรอน “เสรีภาพสื่อ” หรือไม่ 26 ก.พ. 2563 ช่วงปลายปีที่แล้วไต้หวันผ่านร่างกฎหมายใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้ข้อมูลเท็จแทรกแซงการเมืองในไต้หวันที่เรียกว่า “กฎหมายต่อต้านการแทรกซึม” กฎหมายนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามจำกัดการใช้อิทธิพลของจีนต่อไต้หวัน มีการตั้งข้อสังเกตว่าหลังบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว สื่อสนับสนุนจีนที่ชื่อ “มาสเตอร์เชน” ประกาศว่าจะออกจากกตลาดไต้หวัน แม้มีคนแสดงความกังวลว่ากฎหมายฉบับนี้อาจจะนำมาอ้างใช้ลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้ แต่ก็มีคนตีความว่าการที่สื่อสนับสนุนจีนอย่างมาสเตอร์เชนประกาศลาแสดงให้เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้มุ่งเล่นงานอิทธิพลต่อสื่อของค่ายจีนแผ่นดินใหญ่ ในช่วงที่มีการอภิปรายเกี่ยวกับร่างกฎหมายนี้ พรรคพลังใหม่ พรรคสายสนับสนุนให้ไต้หวันเป็นอิสระจากจีนเสนอให้มีบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมในหลายส่วนให้เน้นเป้าหมายไปที่ “สื่อสนับสนุนจีน” หนึ่งในข้อเสนอคือการห้ามไม่ให้ใครก็ตามดำเนินการโดยได้รับคำสั่ง ถูกควบคุม หรือได้รับเงินสนับสนุนจากจีน รวมถึงไม่โฆษณาสร้างภาพลักษณ์ให้กับจีน แต่พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าซึ่งเป็นพรรครัฐบาลปัจจุบันปฏิเสธที่จะแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องนี้ โดยต้องการให้กฎหมายยังคงมีภาษากว้างๆ ที่พูดเรื่องการป้องกันการแทรกแซงรวมถึงการแทรกแซงการเลือกตั้งในประเทศด้วย สภากิจการจีนแผ่นดินใหญ่เสนอว่าควรจะมีการหารือเรื่องการแทรกซึมจากสื่อของจีนแผ่นดินใหญ่ในกฎหมายเกี่ยวกับการแพร่ภาพกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ ในบริบทของไต้หวัน ความกังวลที่มีคือการที่จีนพยายามแทรกซึมการเมืองไต้หวันผ่านภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง การทหาร ศาสนา และสื่อ เพื่อต่อต้านความเป็นอิสระของไต้หวัน หนึ่งในนั้นคือสื่อมาสเตอร์เชนที่มีผู้ก่อตั้งคือจวงลี่ปิง คนเดียวกับที่เคยเขียนหนังสือสนับสนุนแนวคิดจีนเดียว หรือที่เรียกว่า “ฉันทามติ 1992” ซึ่งหมายถึงการรวมเอาไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตเรื่องที่จีนใช้ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารว่า สื่อสนับสนุนจีนมีการจ้างอดีตเจ้าหน้าที่รัฐของไต้หวันเพื่อให้เป็นเครือข่ายข้อมูลข่าวสารข้ามพรมแดน นอกจากนี้ยังมีสื่อบางแห่งที่สนับสนุนจีนแบบเนียนๆ เช่น วอนต์ วอนต์ มีเดียกรุ๊ป ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลจีน พวกเขาไม่ทำข่าวในแบบที่แสดงให้เห็นว่าสนับสนุนจีนโดยตรงแต่พยายามสร้างเรื่องเล่า (narrative) ว่ากฎหมายต่อต้านการแทรกซึมจะเป็นการลิดรอนเสรีภาพสื่อ โดยต้องการให้เกิดความคิดเห็นต่อต้านจากประชาชนและส่งแรงผลักดันให้เกิดการสนับสนุนพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) ที่มีท่าทีต้องการใกล้ชิดกับจีนมากกว่า ในช่วงที่มีการหาเสียงเลือกตั้งก่อนหน้านี้…

พบช่องโหว่ Paypal เตือนผู้ใช้เสี่ยงข้อมูลรั่วไหล

Loading

  ทีมนักวิจัยจาก CyberNews รายงานว่า พบช่องโหว่ร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับระบบ 2FA Authentication และระบบยืนยันตัวตนทั่วไปของเว็บไซต์ Paypal ซึ่งจะอนุญาตให้คนทั่วไปเข้าสู่ระบบได้ นอกจากนั้นทีมนักวิจัยพบบัญชี Paypal ที่ถูกนำไปขายในเว็บตลาดมืดในราคาเพียง 1.50 ดอลลาห์สหรัฐ หากมีผู้ไม่หวังดีซื้อข้อมูลนำไปใช้ ก็สามารถเข้าใช้งานได้ทันทีโดยไม่มีการตรวจสอบ IP ก่อนการเข้าถึง และไม่มีการยืนยันตัวตน โดยทีมนักวิจัยพบช่องโหว่ร้ายแรง 5 ข้อสำคัญ ดังนี้ ข้ามการยืนยันตัวตน 2FA (Authflow) เลี่ยงการตรวจสอบระบบ OTP เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบัญชี อนุญาตให้คนทั่วไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลเจ้าของบัญชีได้ ปล่อยให้คนทั่วไปหลอกขอข้อมูลบัญชีจาก ระบบ Paypal SmartChat Online ได้ รูรั่วด้านความปลอดภัยของระบบ อาจถูกแฮกได้ในอนาคต โดยทางทีมนักวิจัยได้แจ้งไปยังบริษัท Paypal และ ออกมาเปิดเผยสู่สาธารณะ เพื่อเตือนให้ผู้ใช้บัญชีกว่า 305 ล้านคน ระมัดระวังในการใช้งาน เปลี่ยนรหัสผ่านอย่างสม่ำเสมอ ตั้งรหัสผ่านให้ยากต่อการคาดเดา พร้อมทั้งกดดันให้ทาง Paypal เร่งแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าว เพื่อลดการเกิดการฉ้อโกงเพิ่มในอนาคต ทั้งนี้ขอให้ผู้ใช้งานรอการประกาศการแก้ไขอย่างเป็นทางการจากทาง Paypal…

เชื่อมวงจรปิดสแตนอะโลน 3 หมื่นตัว แล้วเสร็จเดือนเมษายน

Loading

เข้า 12 ศูนย์และ กทม.เสร็จ เม.ย.นี้-ขอภาพวงจรปิดวันเดียวได้ นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวถึงการพัฒนาระบบกล้องวงจรปิด (ซีซีทีวี) ในพื้นที่กรุงเทพฯว่า พื้นที่กรุงเทพฯมีกล้องวงจรปิด หรือกล้องซีซีทีวี จำนวน 53,249 ตัว แบ่งเป็นกล้องแบบ stand alone (สแตนอโลน) คือ กล้องที่บันทึกข้อมูลภาพที่ตัวกล้อง ไม่ได้เชื่อมโยงสัญญาณภาพมาที่ศูนย์กล้องวงจรปิด กทม. จำนวน 38,404 ตัว และเป็นกล้องที่เชื่อมโยงสัญญาณภาพไปยังศูนย์ จำนวน 14,845 ตัว ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการศูนย์ และอำนวยความสะดวกในการดูภาพจากกล้องวงจรปิด ของ กทม. รวมถึงการดูแลและบำรุงรักษากล้องซีซีทีวี สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้ขอจัดสรรงบประมาณ 300 กว่าล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงสัญญาณภาพจากกล้องซีซีทีวีแบบ “สแตนอโลน” ทั้ง 38,404 ตัว มายังศูนย์ที่ศาลาว่าการ กทม.และศูนย์ย่อยทั้ง 12 ศูนย์ ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายนนี้ จากนั้นประชาชนหรือหน่วยงานที่มีความประสงค์ขอดูภาพจากกล้องวงจรปิดของ กทม.จะได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น…

รัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มสู้คดีในอังกฤษเพื่อขอส่งตัวผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์กลับมาดำเนินคดี

Loading

Julian Assange รัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มสู้คดีในศาลอังกฤษ เพื่อขอให้ส่งตัวนายจูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ (WikiLeaks) กลับมาดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนรัฐบัญญัติการจารกรรม จากการเผยแพร่เอกสารลับของราชการและกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งอ้างว่าส่งผลให้ชีวิตของคนหลายคนต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย เจมส์ ลูอิส ทนายตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯ ขึ้นเบิกความในศาลกรุงลอนดอน ในวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น เพื่ออธิบายต่อศาลถึงเหตุผลที่ควรส่งตัวนายอัสซานจ์กลับสหรัฐฯ โดยระบุว่า การที่วิกิลีกส์เผยแพร่เอกสารของกองทัพและการทูต เป็นการก่อความเสียหายครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ให้กับการเก็บข้อมูลลับของทางการ รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้สนับสนุนวิกิลีกส์จำนวนหนึ่งรวมตัวกันมาประท้วงหน้าศาลที่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคุ้มกันอย่างแน่นหนา ขณะที่การเบิกความดำเนินอยู่ รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งฟ้องนายอัสซานจ์ใน 18 ข้อหา ต้องการตัวเขากลับมาเพื่อลงโทษด้วยการจำคุกสูงสุดเป็นเวลา 175 ปี สำหรับการเปิดเผยข้อมูลลับหลายแสนชิ้นต่อสาธารณะในปี ค.ศ. 2010 ซึ่งนายอัสซานจ์แก้ต่างว่า เป็นการทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าว ด้วยการทำให้ประชาชนได้รับรู้ถึงการทำความผิดโดยกองทัพสหรัฐฯ และการกระทำดังกล่าวก็ได้รับการปกป้องตามบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 แห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ แต่ นายลูอิสยืนยันว่า สิ่งที่ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ทำไม่ใช่เรื่องของเสรีภาพในการพูด แต่เป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และทางการสหรัฐฯ ต้องการลงโทษนายอัสซานจ์สำหรับการทำให้ชีวิตของคนหลายคนในสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรต้องตกอยู่ในอันตราย เพราะการเปิดเผยข้อมูลลับของเขา เขากล่าวด้วยว่า การกระทำของนายอัสซานจ์ ทำให้สหรัฐฯ ต้องดำเนินการย้ายถิ่นฐานชาวอเมริกันที่ทำให้หน้าที่ป้อนข้อมูลต่างๆ ให้รัฐบาลไปอยู่ที่ๆ ปลอดภัย ขณะที่มีคนหลายคนหายสาบสูญไปแล้ว…

รัสเซียตอกสหรัฐ กล่าวหาตั้งบัญชีปลอมปั่นข่าวโควิด-19

Loading

แฟ้มภาพ ตำรวจรัสเซียเดินตรวจตราที่จัตุรัสแดงในกรุงมอสโก กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียตอกกลับสหรัฐจงใจให้ข้อมูลเท็จ ด้วยการกล่าวหาว่ารัสเซียอยู่เบื้องหลังขบวนการปล่อยข่าวปลอม รวมถึงกระพือทฤษฎีสมคบคิดว่าไวรัสโควิด-19 เป็นอาวุธชีวภาพของสหรัฐเพื่อโจมตีจีนและทำลายภาพลักษณ์ของสหรัฐในสายตาชาวโลก รายงานเอเอฟพีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 กล่าวว่า การตอบโต้ของกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียมีออกมาภายหลังเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐกล่าวโทษรัสเซียว่าเกี่ยวโยงกับบัญชีโซเชียลมีเดียปลอมหลายพันบัญชี ทั้งทวิตเตอร์, เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม ในภาษาต่างๆ ที่พยายามเผยแพร่คำเตือนเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ข้อมูลที่สื่อออกมาต้องการทำลายภาพลักษณ์ของสหรัฐ แต่กำลังส่งผลกระทบต่อความพยายามต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสนี้ทั่วโลก ฟิลิป รีกเกอร์ รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐด้านยุโรปและยูเรเซีย กล่าวว่า เจตนาของรัสเซียคือการหว่านความบาดหมางและบ่อนทำลายสถาบันและพันธมิตรของสหรัฐจากภายใน รวมถึงผ่านการรณรงค์โน้มน้าวใส่ร้ายแบบซ่อนเร้นและบีบบังคับ ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับไวรัสโคโรนา รายงานของสหรัฐกล่าวว่า คำกล่าวหาที่แพร่สะพัดทางออนไลน์เมื่อไม่สัปดาห์ที่แล้วมา รวมถึงคำกล่าวหาที่ว่า ไวรัสโคโรนาเป็นแผนการของสหรัฐเพื่อทำสงครามเศรษฐกิจกับจีน, ไวรัสนี้เป็นอาวุธชีวภาพที่ผลิตโดยซีไอเอ หรือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่โลกตะวันตกเป็นผู้นำในการผลักดันสารต่อต้านจีน แม้แต่ปัจเจกชนที่เป็นอเมริกัน อาทิ บิล เกตส์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ที่บริจาคเงินหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อโครงการสุขภาพทั่วโลก ก็ยังถูกกล่าวหาผิดๆ ว่าเกี่ยวข้องกับไวรัสนี้ด้วย เมื่อวันเสาร์ สำนักข่าวทาสส์ของทางการรัสเซีย อ้างคำกล่าวมาเรีย ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ปฏิเสธคำกล่าวหาของสหรัฐ โดยระบุว่า เป็นการให้ข่าวเท็จโดยเจตนา เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐที่เฝ้าสังเกตความเคลื่อนไหวทางออนไลน์ตรวจพบการรณรงค์ให้ข้อมูลเท็จตั้งแต่กลางเดือนมกราคม ภายหลังทางการจีนประกาศว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยไวรัสโคโรนาที่อู่ฮั่นเป็นรายที่ 3 เอเอฟพีอ้างรายงานฉบับหนึ่งที่จัดเตรียมสำหรับศูนย์ความเกี่ยวพันทั่วโลกของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐว่า บัญชีออนไลน์หลายพันบัญชี ที่ก่อนหน้านี้เคยเผยแพร่ข้อความสนับสนุนรัสเซียในเหตุการณ์ใหญ่ๆ เช่นสงครามในซีเรีย,…