อังกฤษผลักดันกฎหมายความปลอดภัย IoT: ห้ามใช้รหัสผ่านเริ่มต้นเหมือนกันทุกเครื่อง, แจ้งระยะเวลาซัพพอร์ต

Loading

รัฐบาลสหราชอาณาจักรเตรียมผลักดันกฎหมายควบคุมความมั่นคงปลอดภัยอุปกรณ์ IoT โดยผลักดันมาตรฐานอุตสาหกรรม ETSI TS 103 645 ให้มีสภาพบังคับ แต่ยังอาศัยกระบวนการรับรองตัวเอง (self assess) ETSI TS 103 645 ระบุมาตรการรักษาความปลอดภัย ให้อุปกรณ์ทุกตัวไม่ใช้รหัสผ่านตรงกันแม้จะรีเซ็ตเครื่องแล้ว ส่วนผู้ผลิตเองก็ต้องมีจุดรับแจ้งปัญหาความมั่นคงปลอดภัยอย่างชัดเจน, มีกระบวนการอัพเดตและแก้ไขที่รวดเร็ว, ประกาศระยะเวลาซัพพอร์ตสินค้าอย่างชัดเจน, ห้ามใช้รหัสผ่านแบบฮาร์ดโค้ดไว้ในเครื่อง, เชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์โดยเข้ารหัส, ตรวจสอบความถูกต้องของซอฟต์แวร์, และยังต้องออกแบบให้ระบบทนทานเมื่อเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ ก่อนหน้านี้สหราชอาณาจักรมีแนวปฎิบัติเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยอุปกรณ์ IoT (Code of Practice for Consumer IoT Security) ที่เป็นคำแนะนำผู้ผลิตโดยไม่มีสภาพบังคับ แต่เนื้อหาโดยรวมคล้ายกับมาตรฐาน ETSI TS 103 645 รัฐแคลิฟอร์เนียร์เคยผ่านกฎหมายคล้ายกันในปี 2018 และเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ————————————– ที่มา : Blognone / 28 มกราคม 2563 Link : https://www.blognone.com/node/114356

ญี่ปุ่นจัดตั้ง “หน่วยอวกาศ” รับมือภัยคุกคามจากเทคโนโลยีอวกาศ

Loading

An H-2A rocket carrying an intelligence-gathering satellite successfully takes off from the Tanegashima Space Center in Kagoshima Prefecture, Japan in this photo taken by Kyodo February 27, 2018. นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ ประกาศในวันจันทร์ว่า ญี่ปุ่นจะจัดตั้งหน่วยป้องกันทางอวกาศเพื่อปกป้องประเทศจากภัยคุกคามต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่ประเทศที่เป็นศัตรูกับญี่ปุ่นกำลังพัฒนาขีปนาวุธและเทคโนโลยีด้านอวกาศสมัยใหม่กันอย่างคึกคัก “หน่วยปฏิบัติการด้านอวกาศของญี่ปุ่น” หรือ Space Domain Mission Unit จะอยู่ในสังกัดของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ และจะเริ่มภารกิจตั้งแต่เดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป โดยจะทำงานใกล้ชิดกับกองบัญชาการอวกาศของสหรัฐฯ ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพิ่งเปิดตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้ และสำนักงานสำรวจอวกาศของญี่ปุ่น หรือ JAXA ด้วย รัฐบาลกรุงโตเกียวจะจัดสรรงบประมาณราว 51,000…

‘กม.ปกป้องความเป็นส่วนตัวดิจิทัล’ เข้มที่สุดของอเมริกามีผลบังคับใช้ในแคลิฟอร์เนียแล้ว

Loading

California Consumer Privacy Privacy Act (CCPA) หรือกฎหมายที่ส่งเสริมสิทธิความเป็นส่วนตัวและคุ้มครองผู้บริโภค สำหรับผู้อยู่อาศัยในรัฐแคลิฟอร์เนีย กำหนดให้บริษัทธุรกิจต่าง ๆ แจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงวิธีการเก็บและเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายดังกล่าวให้สิทธิแก่ผู้บริโภคในการแจ้งความประสงค์ห้ามบริษัทต่าง ๆ ขายหรือเผยแพร่ข้อมูลของตน นอกจากนี้ยังกำหนดให้ภาคธุรกิจทำลายข้อมูลที่มีอยู่หากลูกค้าขอให้ลบข้อมูลดังกล่าว กฎหมายนี้ยังครอบคลุมการขายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลเกือบทุกประเภทที่จะเป็นประโยชน์แก่ธุรกิจได้ ซึ่งรวมไปถึงการแบ่งปันข้อมูลระหว่างบริษัท และการขายข้อมูลของบุคคลที่สาม ธุรกิจออนไลน์ขนาดใหญ่ เช่น Facebook และ Google ได้รับผลกระทบจากกฎหมายนี้ เช่นเดียวกับบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ต่าง ๆ ด้วย ภายใต้กฎหมายนี้ ห้างค้าปลีกอย่าง Walmart, Home Depot และบริษัทอื่น ๆ ได้เพิ่มลิงก์ “Do Not Sell My Info” หรือ “ห้ามขายข้อมูลส่วนตัว” ในเว็บไซต์ของตนเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิของตนได้ง่ายขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลกล่าวว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่ากฎหมาย CCPA จะส่งผลกระทบต่อโฆษณาประเภทระบุเป้าหมายที่ใช้โดยบริษัทต่าง ๆ เช่น Facebook และ Google อย่างไรบ้าง Facebook เก็บข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากและใช้ข้อมูลดังกล่าวในการนำทางบรรดาโฆษณาไปไปยังบุคคลกลุ่มต่าง…

ตุ๊กตุ๊กเขมรเตรียมเป็นสายลับพิเศษช่วยรัฐสอดส่องรายงานเหตุค้ามนุษย์

Loading

รอยเตอร์ – คนขับรถตุ๊กตุ๊กในกัมพูชาหลายพันคนจะเข้าร่วมในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์ ตามโครงการของแอปพลิเคชันแกร็บ (Grab) ที่จะฝึกอบรมคนขับรถรับจ้างเหล่านี้ให้สังเกตและรายงานสัญญาณของการเอารัดเอาเปรียบในพื้นที่ แกร็บ ระบุว่า บริษัทจะให้การฝึกอบรมแก่คนขับรถ 10,000 คน ในกรุงพนมเปญในเดือนนี้ หลังจากบริษัทเปิดตัวโครงการ และมีแผนที่จะค่อยๆ ขยายไปยังคนขับของบริษัทอีกหลายล้านคนในภูมิภาคเอเชีย “เราทราบดีว่าคนขับรถแท็กซี่และตุ๊กตุ๊กอาจเป็นจุดแรกที่ได้ติดต่อกับผู้ค้ามนุษย์และเหยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สนามบิน สถานีขนส่ง หรือสถานีรถไฟ และด้วยเครือข่ายที่ครอบคลุมอย่างกว้างขวางของคนขับที่เป็นพาร์ตเนอร์กับแกร็บภายในกรุงพนมเปญ เราต้องการที่จะเพิ่มขีดความสามารถให้แก่คนขับรถของเราในการทำหน้าที่ช่วยเป็นหูเป็นตาเพิ่มขึ้นในพื้นที่” กรรมการผู้จัดการใหญ่แกร็บกัมพูชา กล่าวกับรอยเตอร์ ชาวเขมรมากกว่า 260,000 คน จากประชากรทั้งหมด 16 ล้านคน ตกเป็นทาสยุคใหม่ ตามรายงานดัชนีแรงงานทาสโลกของมูลนิธิวอล์คฟรี องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ที่ส่วนใหญ่มักอยู่ตามไร่สวน ทำประมง และก่อสร้าง และหลายคนในนั้นเป็นเด็ก นอกจากนั้น ยังคาดว่ามีอีกหลายพันคนที่ถูกค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงหญิงกัมพูชาที่ถูกบังคับให้แต่งงานกับชายชาวจีน เมื่อปีที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ปรับลดระดับกัมพูชาในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ที่หมายความว่า กัมพูชาต้องปรับปรุงสถานการณ์ให้ดีขึ้น หรือมิฉะนั้นอาจเผชิญต่อมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจ จัว บุน เอง หัวหน้าหน่วยงานปราบปรามการค้ามนุษย์ของกัมพูชาที่ทำงานร่วมกันกับแกร็บในโครงการริเริ่มนี้ กล่าวว่า การค้ามนุษย์เพิ่มสูงขึ้นแม้ตำรวจเพิ่มความพยายาม และคนขับรถตุ๊กตุ๊กถือเป็นแหล่งข้อมูลที่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ “เรื่องนี้ต้องใช้ทุกภาคส่วนของสังคมทำงานร่วมกันเพื่อเอาชนะการค้ามนุษย์ คนขับรถของแกร็บสามารถเป็นเหมือนสายลับบนท้องถนน” จัว…

อิสราเอลเผยอิหร่านใกล้มีอาวุธนิวเคลียร์ ท่ามกลางแรงกดดันจากชาติตะวันตก

Loading

FILE – In this Jan. 13, 2015, file photo released by the Iranian President’s Office, President Hassan Rouhani visits the Bushehr nuclear power plant just outside of Bushehr, Iran. นักวิเคราะห์ของกองทัพอิสราเอลระบุว่า ภายในสิ้นปีนี้ อิหร่านจะมีแร่ยูเรเนียมคุณภาพสูงในปริมาณที่เพียงพอสำหรับการผลิตระเบิดนิวเคลียร์ได้ โดยคำนวณจากตัวเลขการผลิตนิวเคลียร์หนึ่งลูกที่ต้องใช้ยูเรเนียมที่เสริมคุณภาพแล้วในระดับ 90% จำนวน 40 กิโลกรัม ด้านนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู มีคำเตือนไปถึงอิหร่านในวันพุธ โดยระบุว่าอิสราเอลทราบดีว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน พร้อมยืนยันว่าอิสราเอลจะไม่ยอมให้อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง ผู้นำอิสราเอลยังเรียกร้องให้ประเทศในยุโรปเพิ่มมาตรการลงโทษชุดใหม่ต่ออิหร่านที่ละเมิดข้อตกลงที่ทำไว้ด้วย เดิมทีนั้น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี รวมทั้ง จีน รัสเซีย และสหรัฐฯ ร่วมลงนามในข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อควบคุมโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งมีชื่อย่อว่า JCPOA…

ไทยจับมืออินโดฯแบ่งปันข่าวกรอง จำกัดความเคลื่อนไหวกลุ่มก่อความไม่สงบ

Loading

รอยเตอร์ – ไทยและอินโดนีเซียในวันอังคาร (14 ม.ค.) ลงนามในข้อตกลงแบ่งปันข่าวกรอง ที่ทางผู้บัญชาการทหารของไทยบอกว่าจะช่วยจำกัดความเคลื่อนไหวของพวกก่อความไม่สงบที่ปฏิบัติการทางภาคใต้ของไทย รอยเตอร์อ้างเอกสารอย่างเป็นทางการที่พบเห็น ระบุว่าไทย ซึ่งมีชาวพุทธเป็นคนกลุ่มใหญ่แลอินโดนีเซีย อันมีชนกลุ่มใหญ่เป็นมุสลิม จะแบ่งปันข้อมูลความเคลื่อนไหวต่างๆของพวกหัวรุนแรง กบฏและกลุ่มผู้กระทำผิดทั้งหลาย ซึ่งบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ การลงนามมีขึ้นระหว่างที่พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบกเดินทางเยือนจังหวัดอาเจะห์ของอินโดนีเซียในวันอังคาร (14 ม.ค.) “มันเป็นการจำกัดความเคลื่อนไหวโดยเสรีของกลุ่มต่างๆ เพราะว่าเราจะแบ่งปันข้อมูลและเฝ้าระวังบุคคลทั้งหลาย” พล.อ.อภิรัชต์ ระบุต่อว่าอินโดนีเซีย โดยเฉพาะจังหวัดอาเจะห์ เคยถูกพวกกลุ่มก่อความไม่สงบกลุ่มต่างๆในไทยใช้เป็นแหล่งฝึกฝน ซ่อนตัวและวางแผนปฏิบัติการต่างๆโจมตีไทย จากข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ไทยสู้รบกับกลุ่มก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดนมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ยะลา, ปัตตานีและนราธิวาส มานับตั้งแต่ปี 2004 คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วเกือบ 7,000 ศพ ด้านพลเอกเปอร์กาซา แห่งกองทัพอินโดนีเซีย ไม่ได้พาดพิงอย่างเจาะจงว่ากลุ่มนักรบใดที่อินโดนีเซียได้รับการร้องขอจากไทยให้เฝ้าสังเกตการณ์เป็นพิเศษ แต่เน้นย้ำถึงความร่วมมือระดับภูมิภาค “ในการจัดการกับประเด็นความมั่นคงใดๆ เราควรร่วมมือกัน” อินโดนีเซียเองก็เผชิญกับภัยคุกคามของกลุ่มนักรบอิสลามิสต์ต่างๆเช่นกัน อาทิเจมาห์ อิสลามิยาห์ (Jemaah Islamiah) และกลุ่มอื่นๆที่ได้แรงบันดาลใจจากพวกรัฐอิสลาม (ไอเอส) อาเจะห์ เคยถูกห้อมล้อมไปด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบมานานกว่า…