FBI เผย ‘แฮกเกอร์จีน’ พยายามล้วงข้อมูลงานวิจัย ‘วัคซีนต้านโควิด-19’

Loading

เอเอฟพี – สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ (FBI) และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงไซเบอร์เชื่อว่าแฮกเกอร์จีนกำลังพยายามขโมยข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สื่อมะกันรายงานวานนี้ (11 พ.ค.) หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์เนิลและนิวยอร์กไทม์สรายงานว่า เอฟบีไอและกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ มีแผนออกหนังสือเตือนเกี่ยวกับปฏิบัติการของแฮกเกอร์จีน ในขณะที่รัฐบาลและบริษัทเอกชนทั่วโลกกำลังเร่งคิดค้นวัคซีนที่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้ ทั้งนี้ เชื่อว่าแฮกเกอร์จีนกำลังพุ่งเป้าไปที่ข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับวิธีรักษาและการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ อ้างว่าจารชนไซเบอร์กลุ่มนี้มีส่วนเชื่อมโยงถึงรัฐบาลจีน และคาดว่าจะมีคำเตือนออกมาอย่างเป็นทางการภายในอีกไม่กี่วัน จ้าว ลี่เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน รีบออกมาปฏิเสธข้อครหาดังกล่าว โดยยืนยันว่ารัฐบาลปักกิ่งต่อต้านการโจมตีทางไซเบอร์ทุกรูปแบบ “เราก็เป็นผู้นำโลกในด้านการรักษาและคิดค้นวัคซีนต้านโควิด-19 การสร้างข่าวลือมาโจมตีและให้ร้ายจีนโดยปราศจากหลักฐานจึงเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม” จ้าว ระบุ เมื่อถูกถามถึงรายงานในสื่อชั้นนำทั้ง 2 ฉบับ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ยังปฏิเสธที่จะยืนยัน แต่บอกว่า “มีเรื่องอะไรใหม่ๆ เกี่ยวกับจีนอีกล่ะ? มีอะไรใหม่เหรอ? บอกผมมาสิ ผมไม่แฮปปี้กับจีนเลย” “เรากำลังตามดูพวกเขาอย่างใกล้ชิด” ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวเสริม ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานว่า แฮกเกอร์ซึ่งมีรัฐบาลหนุนหลังในอิหร่าน, เกาหลีเหนือ, รัสเซีย และจีน ทำกิจกรรมมุ่งร้ายที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาดใหญ่ (pandemic) ตั้งแต่การเผยแพร่เฟคนิวส์เรื่องไปจนถึงการเล่นงานนักวิทยาศาสตร์และบุคลากรทางการแพทย์ นิวยอร์กไทม์สชี้ว่า คำเตือนที่ออกมาอาจนำไปสู่ปฏิบัติการโจมตีตอบโต้โดยหน่วยงานของสหรัฐฯ ที่รับผิดชอบด้านสงครามไซเบอร์…

แอพช่วยติดตามผู้เข้าใกล้เชื้อโควิด 19 กับประเด็นความเป็นส่วนตัวของสหภาพยุโรป

Loading

สหภาพยุโรปได้ชื่อว่าเป็นผู้นำของโลกเรื่องการปกป้องคุ้มครองข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลในระบบดิจิตอล แต่ปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งความจำเป็นเพื่อติดตามและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อกำลังทำให้เกิดคำถามและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะโดยปกติแล้วการสืบสวนโรคและติดตามผู้ได้ติดต่อสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อ หรือที่เรียกว่า contact tracing เพื่อการแจ้งเตือนและแยกตัวเองนั้นต้องใช้ทั้งเวลาและกำลังคนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นขณะนี้หลายประเทศในยุโรปจึงหันมาพิจารณาใช้เทคโนโลยีในสมาร์ทโฟนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยวิธีที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปัจจุบันคือการใช้ระบบส่งสัญญาณบลูทูธจากโทรศัพท์มือถือเพื่อติดตามและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของโทรศัพท์ผู้อาจเคยสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อ และขณะนี้ก็มีระบบซึ่งเป็นทางเลือกใหญ่ๆ อยู่สองระบบด้วยกันในยุโรป โดยระบบหนึ่งซึ่งสนับสนุนโดยเยอรมนีมีชื่อเรียกย่อว่า PEPP-PT อาศัยการเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์เข้าไว้ที่เซิฟเวอร์ส่วนกลาง ในขณะที่อีกระบบหนึ่งซึ่งมีสวิตเซอร์แลนด์เป็นผู้นำและมีชื่อว่า DP3T นั้นไม่ใช้วิธีเก็บข้อมูลแบบรวมไว้ที่ศูนย์กลางแต่อย่างใด ผู้ที่สนับสนุนเรื่องการปกป้องความเป็นส่วนตัวเห็นด้วยกับระบบของสวิตเซอร์แลนด์ที่ไม่เก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์เข้าส่วนกลางเพราะข้อมูลซึ่งไม่มีการระบุตัวตนผู้ใช้นี้จะถูกเก็บไว้เฉพาะในเครื่องโทรศัพท์เท่านั้น แต่ก็มีรัฐบาลของบางประเทศในยุโรปที่สนับสนุนระบบการเก็บข้อมูลแบบรวมเข้าที่เซิร์พเวอร์ส่วนกลางเพราะเห็นว่าฐานข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์สำหรับการตัดสินใจเชิงนโยบาย ดูเหมือนว่าขณะนี้ประเทศต่างๆ ในยุโรปกำลังแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ในแง่การใช้ระบบเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยติดตามการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย กล่าวคือสวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ไอร์แลนด์ และเอสโตเนียเป็นตัวอย่างของประเทศที่สนับสนุนการเก็บข้อมูลแบบไม่รวมศูนย์เข้าส่วนกลาง และมีอิตาลีกับเยอรมนีที่เริ่มเห็นด้วยในช่วงหลังนี้ขณะที่ฝรั่งเศสต้องการใช้ระบบเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์ของตนเอง แต่ก็มีบางประเทศอย่างเช่นนอรเวย์ซึ่งพัฒนาแอพของตนที่ไปไกลกว่านั้นคืออาศัยข้อมูลทั้งจากระบบ GPS และบลูทูธเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้โทรศัพท์และอัพโหลดเข้าไปที่เซิร์ฟเวอร์ส่วนกลางทุกๆชั่วโมงเป็นต้น แต่สเปนนั้นกำลังพิจารณาจะผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์และอาจไม่นำเทคโนโลยีเพื่อช่วยติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดดังกล่าวนี้มาใช้เลย การมีมาตรฐานที่แตกต่างกันระหว่างประเทศต่างๆ ในยุโรปในขณะนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเตือนว่าปัญหาหนึ่งที่จะเกิดขึ้นคือแอพที่ใช้กับโทรศัพท์มือถืออาจจะไม่สื่อสารหรือส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันเมื่อพลเมืองของประเทศหนึ่งเดินทางข้ามพรมแดนเข้าไปในอีกประเทศหนึ่ง และเห็นได้ชัดว่าความกังวลของกลุ่มที่สนับสนุนเรื่องการปกป้องความเป็นส่วนตัวก็คือถ้ารัฐบาลนำเทคโนโลยีช่วยด้าน contact tracing มาใช้เกินความจำเป็น เรื่องนี้ก็อาจนำไปสู่การติดตามสอดส่องความเคลื่อนไหวของประชาชนในวงกว้างโดยรัฐบาลที่นิยมใช้อำนาจเผด็จการได้ และถึงแม้ว่าโอกาสของการใช้แอพในโทรศัพท์มือถืออย่างเช่นที่เคยใช้ในเกาหลีใต้หรือฮ่องกงเพื่อติดตามเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเกิดขึ้นได้ยากในยุโรปนั้น นักวิเคราะห์ก็หวังว่าระบบที่สามารถตกลงกันได้ในกลุ่มสหภาพยุโรปจะช่วยสร้างมาตรฐานเรื่องการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว ซึ่งประเทศอื่นๆในทวีปอื่นๆ จะสามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน ————————————————————————– ที่มา : VOA Thai / 5 พฤษภาคม 2563 Link :…

ส.ส.ฮ่องกง ‘ปะทะเดือด’ กลางสภา

Loading

สัญญาณความตึงเครียดทางการเมืองฮ่องกงปะทุอีกรอบ ส.ส.ขั้วตรงข้ามในสภาปะทะเดือดเรื่องการเลือกตั้งประธานคณะกรรมาธิการ สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ส.ส.ฮ่องกงทั้งฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตยและหนุนรัฐบาลปักกิ่งขัดแย้งกันอย่างหนัก เรื่องการเลือกตั้งประธานคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ต้องตรวจสอบร่างกฎหมายก่อนส่งให้สภาพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ไม่มีประธานมาตั้งแต่เดือน ต.ค.แล้ว การประชุมเมื่อช่วงบ่าย ส.ส.ฝ่ายหนุนปักกิ่งอ้างข้อกฎหมายว่าเพื่อผ่าทางตัน เลือกนางสตาร์รี ลี ขึ้นเป็นประธานคณะกรรมาธิการ ฝ่ายหนุนประชาธิปไตยก็อ้างข้อกฎหมายกล่าวหาว่านางลีทำผิดระเบียบ ต่างฝ่ายต่างขึ้นเสียงใส่กันชนิดไม่มีใครยอมใคร ปากระดาษแข็งเข้าใส่หน้าฝ่ายตรงข้าม สุดท้ายกลายเป็นเหตุตะลุมบอน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยลาก ส.ส.ฝ่ายประชาธิปไตยหลายคนออกจากห้องประชุม ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็พลอยโดนลูกหลงไปด้วย ระหว่างนั้นทั้งสองฝ่ายต่างถ่ายทอดสดเหตุการณ์ผ่านโทรศัพท์มือถือให้คนภายนอกได้รับรู้ ด้านรัฐบาลปักกิ่งกล่าวหาว่า ส.ส.ฝ่ายหนุนประชาธิปไตยมีเจตนาร้าย ต้องการขัดขวางไม่ให้ร่างกฎหมายหลายฉบับที่นำเสนอไปแล้วผ่านการลงมติในสภา ——————————————————————- ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ / 8 พฤษภาคม 2563 Link : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/879688

จีนยิงจรวด ‘ลองมาร์ช-5บี’ ลำยักษ์ เปิดทางสร้าง ‘สถานีอวกาศ’ สำเร็จ

Loading

(แฟ้มภาพซินหวา สื่อทางการจีน) สำนักข่าวซินหัว สื่อทางการจีน รายงาน (7 พ.ค.) — เมื่อวันอังคาร (5 พ.ค.) จีนปล่อยลองมาร์ช-5บี (Long March-5B) จรวดขนส่งขนาดมหึมาลำใหม่ของประเทศ เดินทางสู่ห้วงอวกาศเที่ยวปฐมฤกษ์ พร้อมทดสอบยานอวกาศและแคปซูลส่งวัตถุกลับโลกรุ่นใหม่ องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน (CMSA) ระบุว่าจรวดสีขาวลำใหญ่ยักษ์พุ่งทะยานออกจากศูนย์ปล่อยยานอวกาศเหวินชาง บริเวณริมชายฝั่งมณฑลไห่หนานทางตอนใต้ เวลา 18.00 น. ตามเวลาปักกิ่ง หลังจากจรวดลองมาร์ช-5บี ทะยานบินกลางอวกาศนานราว 488 วินาที ยานอวกาศที่ไม่มีลูกเรือและแคปซูลส่งวัตถุกลับโลก ซึ่งล้วนเป็นรุ่นทดลอง ได้แยกตัวออกจากจรวดขนส่งและเคลื่อนตัวเข้าสู่วงโคจรตามที่วางแผนไว้สำเร็จ องค์การฯ เสริมว่าความสำเร็จครั้งนี้นับเป็นการเปิดทางสู่ “ก้าวที่ 3” ของโครงการอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมของจีน นั่นคือการก่อสร้าง “สถานีอวกาศ” ของตนเอง โดยจรวดลองมาร์ช-5บี จะถูกใช้ขนส่งโมดูลของสถานีอวกาศเป็นหลัก —————————————————————- ที่มา : MGR Online / 8 พฤษภาคม 2563 Link : https://m.mgronline.com/china/detail/9630000047588

โรงงานเคมีกลุ่มแอลจีในอินเดีย ‘แก๊สรั่ว’ ชาวบ้านดับ 11 ต้องนอนโรงพยาบาล 600

Loading

คนที่ถูกพิษแก๊สรั่วจากโรงงานแอลจี โพลิเวอร์ ถูกนำขึ้นรถส่งไปโรงพยาบาล ที่เมืองวิสาขปัตนัม ในอินเดีย เมื่อวันพฤหัสบดี (7 พ.ค.) เอเอฟพี – เกิดอุบัติเหตุแก๊สรั่วที่โรงงานสารเคมีแห่งหนึ่งบริเวณชายฝั่งภาคตะวันออกของอินเดียในตอนเช้ามืดวันพฤหัสบดี (7 พ.ค.) ทำให้มีผู้เสียชีวิต 11 คน และมีชาวบ้านบาดเจ็บถูกนำส่งโรงพยาบาลอีกหลายร้อยคน โดยที่เหยื่อจำนวนมากนอนกันอยู่ตามท้องถนน อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้เสียชีวิตไม่ได้พุ่งสูงอย่างที่หวาดกลัวกันในตอนแรก จากเหตุการณ์คราวนี้ซึ่งเกิดขึ้นที่โรงงานเคมี ของบริษัท แอลจี โพลิเมอร์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ แอลจี เคม กลุ่มทุนเกาหลีใต้ โรงงานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ชานเมืองวิสาขปัตนัม อันเป็นเมืองท่าอุตสาหกรรมของรัฐอานธรประเทศ สำหรับเมืองนี้มีประชากรอยู่อาศัยทั้งในตัวเมืองและพื้นที่โดยรอบประมาณ 5 ล้านคน ตำรวจอินเดียเปิดเผยว่า แก๊สได้รั่วไหลออกมาจากถังเก็บขนาด 5,000 ตัน จำนวน 2 ถัง ซึ่งไม่มีพนักงานดูแล เนื่องจากรัฐบาลอินเดียได้ประกาศคำสั่งล็อกดาวน์ตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค. สวารูป รานี รองผู้บังคับการตำรวจเมืองวิสาขปัตนัม ระบุว่า ถังแก๊สถูกปล่อยทิ้งเอาไว้เฉยๆ โดยไม่มีคนดูแลในช่วงล็อกดาวน์ เป็นเหตุให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีและความร้อนสะสม แก๊สจึงรั่วไหลออกมา “เราได้รับแจ้งเหตุฉุกเฉินจากคนในพื้นที่เมื่อเวลาประมาณ 3.30 น. เช้าวันนี้…

สหราชอาณาจักรเปิดระบบการเรียนการสอนออนไลน์ให้เยาวชนฝึกทักษะด้าน Cyber Security

Loading

รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้จัดตั้งโรงเรียนไซเบอร์เสมือน (Virtual Cyber School) เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรรุ่นใหม่ของประเทศในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนในสหราชอาณาจักรสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนไซเบอร์ออนไลน์ได้ในระหว่างที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยต้องปิดภาคเรียนการสอน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ร่วมมือกับ SANS Institute ในโครงการ Cyber Discovery เปิด โรงเรียนไซเบอร์เสมือน (Virtual Cyber School) ให้เยาวชนในสหราชอาณาจักรได้เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฟรี โดยผู้เข้าเรียนจะได้ศึกษาวิธีการหาช่องโหว่ของชุดคำสั่งหรือโปรแกรม แก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยของระบบ และสืบสวนการก่อเหตุอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบการเล่นเกมส์แก้ไขปัญหาโดยสวมบทบาทเป็นเจ้าหน้าที่ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ นอกจากนี้โรงเรียนจะจัดสัมมนาออนไลน์เป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสอนหลักการพื้นฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เช่น การพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล การรหัส และระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ศูนย์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (Natoinal Cyber Security Centre – NCSC) เปิดหลักสูตรภาคฤดูร้อน CyberFirst ให้นักเรียนอายุ 14 – 17 ปี พัฒนาทักษะการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จากที่บ้านระหว่างการแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมทั้ง สำนักอาชญากรรมแห่งชาติ (National Criminal Agency) และกลุ่มจัดกิจกรรมแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สหราชอาณาจักร (Cyber Security Challenge UK) ได้เปิดแพลตฟอร์มเกมส์ฝึกทักษะด้านไซเบอร์ CyberLand ให้แก่นักเรียนนักศึกษาฟรี…