“สุพิศาล” ยกกรณีสื่อออสซี่แฉ “ธรรมนัส” ใช้ Data Government เป็นประโยชน์ ลั่นไทยต้องไปให้ถึง

Loading

เมื่อวานนี้ (10 กันยายน 2562) ที่พรรคอนาคตใหม่ พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคอนาคคตใหม่ กล่าวถึง กรณีที่หนังสือพิมพ์ซิดนีย์ มอร์นิง เฮอรัลด์ ของออสเตรเลีย นำเสนอข่าวการถูกดำเนินคดียาเสพติดของ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ตอนที่ตนเองอภิปรายรายงาน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส. นั้น ก็มีประเด็นในเรื่องนี้ที่เตรียมไว้ แต่เนื่องจากเวลาจำกัดจึงอภิปรายไปไม่ถึง นั่นคือเรื่องความร่วมมือกันปราบปรามยาเสพติด ของ ป.ป.ส.กับต่างประเทศ โดยประเด็นสำคัญคือหน่วยงาน ป.ป.ส. ต้องเก็บข้อมูลผู้ค้ายาเสพติดในรายงานให้มากสุด จากนั้นก็ต้องมีการรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ จะได้รู้ข้อมูล รวมถึงศึกษาในรายละเอียด โดยเฉพาะช่วงนั้นที่มีการพูดถึงเรื่งคุณสมบัติของรัฐมนตรี ที่จะมาร่วมรัฐบาลกับท่าน เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจริงหรือไม่ “ในกรณีของหนังสือพิมพ์ต่างประเทศที่เปิดเผยข่าวนี้ในลักษณะข่าวการสืบสวน ก็มาจากการที่มีข้อเท็จจริงปรากฏอยู่ในชั้นศาล ของต่างประเทศ ข้อมูลเหล่านี้สำหรับต่างประเทศแล้ว เขาเรียก ดาต้า กอฟเวอร์เม้น (Data Government ) ที่สามารถนำมาเปิดเผยได้ ซึ่งประเทศไทยเรายังไปไม่ถึงขนาดนั้น โดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลของรัฐบาล นี่แสดงให้เห็นว่าสื่อ ออสเตรเลียมีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องในชั้นศาลอย่างชัดเจน ซึ่งข้อมูลอ้างอิงจากในชั้นศาล นั้นน่าเชื่อถือ…

ออสเตรเลียตั้งคณะทำงานปกป้อง “มหาวิทยาลัย” ไม่ให้ถูกต่างชาติแทรกแซง

Loading

เอเอฟพี – ออสเตรเลียพยายามตอบโต้การแทรกแซงจากต่างชาติในมหาวิทยาลัยในประเทศวันนี้ (28) โดยได้ก่อตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อช่วยปกป้องการวิจัยที่อ่อนไหว ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเสรีภาพในการพูด ด้วยความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลของจีนเหนือสถาบันศึกษาต่างๆ ในแดนจิงโจ้ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ แดน เตฮาน ประกาศการปรึกษาหารือเพิ่มเติมระหว่างสถาบันศึกษาและเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงหน่วยงานข่าวกรองต่างๆ  กลุ่มๆ นี้จะให้ความสำคัญกับการเพิ่มความปลอดภัยทางไซเบอร์ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการทำให้แน่ใจว่าการร่วมงานกับบุคคลหรือองค์กรต่างชาติจะไม่ทำลายผลประโยชน์แห่งชาติของออสเตรเลีย  เตฮานเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างความสมดุลระหว่าง “ผลประโยชน์แห่งชาติและเสรีภาพของมหาวิทยาลัยในการทำวิจัยและการร่วมมือที่ขยายขอบเขตความรู้ของเราและนำไปนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต” ความสมดุลดังกล่าวถูกตั้งข้อสงสัยเนื่องจากการแฮก การบริจาคอันเป็นที่ถกเถียง และกรณีการข่มขู่สถาบันศึกษาที่เกี่ยวข้องกับปักกิ่ง การรั่วไหลของข้อมูลที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียเมื่อปีที่แล้วทำให้ข้อมูลอ่อนไหวของพนักงานและนักศึกษาย้อนกลับไป 20 ปีถูกเปิดโปง มหาวิทยาลัยออสเตรเลียหลายแห่งได้รับเงินหลายสิบล้านดอลลาร์จากปักกิ่งเพื่อก่อตั้ง “สถาบันขงจื้อ” ที่หลบเลี่ยงประเด็นต่างๆ ที่สร้างความเสียหายต่อพรรครัฐบาลคอมมิวนิสต์ของจีน มหาวิทยาลัยเหล่านี้คัดค้านเสียงเรียกร้องให้ขึ้นทะเบียนสถาบันขงจื้อภายใต้กฎหมายการแทรกแซงจากต่างชาติฉบับใหม่ ความไม่สงบในฮ่องกงก็ถูกสะท้อนให้เห็นในสถาบันศึกษาหลายแห่งทั่วออสเตรเลีย มีนักศึกษาโปรประชาธิปไตยหลายคนถูกกลุ่มนักศึกษาจีนโปรปักกิ่งข่มขู่ และถูกปล่อยข้อมูลส่วนตัวบนอินเตอร์เน็ต “การทดสอบข้อผูกมัดของเราต่อเสรีภาพในการพูดคือเราจะมีความตั้งใจอดทนต่อการพูดของผู้อื่นหรือไม่ โดยเฉพาะจากกลุ่มคนที่เราไม่เห้นด้วยอย่างที่สุด” เตฮาน กล่าว ——————————————————— ที่มา : MGR Online / 28 สิงหาคม 2562 Link : https://mgronline.com/around/detail/9620000082509

อินโดฯ “จำกัด” การให้ชาวต่างชาติท่องเที่ยวในปาปัว

Loading

รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศมาตรการ “ควบคุม” การอนุญาตให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางไปยังภูมิภาคปาปัว ที่อยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศ ซึ่งกำลังเกิดสถานการณ์ความไม่สงบครั้งใหม่ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 4 ก.ย. ว่านายวิรันโต รัฐมนตรีด้านการประสานงานกิจการการเมือง กฎหมายและความมั่นคงของอินโดนีเซีย แถลงเมื่อวันอังคาร ว่ารัฐบาลจาการ์ตาได้ออกมาตรการ “จำกัด” การเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติ หากประสงค์เข้าไปยังภูมิภาคปาปัวที่อยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศ ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการเป็นหนึ่งในชายหาดสวยงามที่สุดของอินโดนีเซีย และระบบนิเวศที่ยังสมบูรณ์อยู่มาก ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียยืนยันว่ามาตรการดังกล่าวไม่ใช่การ “ห้ามอย่างเด็ดขาด” หรือไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าสู่พื้นที่ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาคำร้องเป็นรายกรณี โดยประเมินจากช่วงเวลาเป็นสำคัญ และเพื่อความปลอดภัยของทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม วิรันโตปฏิเสธกล่าวว่า มาตรการจำกัดการเดินทางเข้าสู่ภูมิภาคปาปัวครอบคลุมผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติด้วยหรือไม่ จากการที่ภูมิภาคแห่งนี้ซึ่งแบ่งเป็นจังหวัดปาปัวและปาปัวตะวันตก เผชิญกับเหตุรุนแรงตั้งแต่วันชาติอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 17 ส.ค. ที่ผ่านมา และฝ่ายความมั่นคงเสริมกำลังทหารและตำรวจเข้าสู่พื้นที่อย่างต่อเนื่อง “เพื่อจัดการและฟื้นฟูความสงบ” พร้อมทั้งย้ำว่า รัฐบาลจาการ์ตาไม่มีนโยบายเจรจากับกองกำลังแบ่งแยกดินแดนในปาปัว เรื่อง “ความเป็นอิสระ” ของภูมิภาค สำหรับการออกมาตรการควบคุมการเข้าสู่ภูมิภาคปาปัวของอินโดนีเซีย เกิดขึ้นไม่กี่วันหลังมีรายงานว่ารัฐบาลจาการ์ตาขับนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลีย 4 คน ซึ่งเดินทางเข้าสู่พื้นที่ “โดยไม่ได้รับอนุญาต” นอกจากนั้น เมื่อต้นสัปดาห์นี้ สำนักงานตำรวจจังหวัดปาปัวประกาศห้ามการเดินขบวนประท้วง และจัดกิจกรรมทางการเมืองทุกรูปแบบ ซึ่งครอบคลุมถึงการปราศรัยแสดงความคิดเห็นในสถานที่สาธารณะ ซึ่งอาจนำไปสู่การปลุกระดมแนวคิดแบ่งแยกดินแดนให้รุนแรงมากขึ้น เครดิตภาพ…

รบ.จีนใช้มัลแวร์โจมตีโทรศัพท์อุยกูร์กว่า 2 ปี

Loading

ชาวอุยกูร์ในจีนถูกโจมตีอุปกรณ์สื่อสารทั้งระบบ iOS แอนดรอยด์ และวินโดวส์มานานกว่า 2 ปี โดยมีรายงานชี้ว่า รัฐบาลจีนเป็นผู้สนับสนุนปฏิบัติการโจมตีอุปกรณ์ของชาวอุยกูร์ สำนักข่าว The Guardian รายงานว่า ชาวอุยกูร์ที่อาศัยอยู่ในจีน โดยเฉพาะในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ถูกโจมตีโดยมัลแวร์ในระบบ iOS (ไอโอเอส) มาเป็นเวลานานกว่า 2 ปีแล้ว ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นปฏิบัติการของรัฐบาลจีนในการสอดส่องชาวอุยกูร์ในประเทศ สัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยของกูเกิลเป็นผู้ค้นพบปฏิบัติการโจมตีอุปกรณ์ที่ใช้ระบบ iOS ของชาวอุยกูร์ โดยเว็บไซต์ต้องสงสัยมีผู้เข้าชมหลายพันคนต่อสัปดาห์ในช่วงเวลาอย่างน้อย 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งหลังบริษัทแอปเปิลได้รับแจ้ง ก็รีบกำจัดมัลแวร์เหล่านี้โดยเร็ว โดยการโจมตีระบบ iOS ของชาวอุยกูร์อาจเป็นครั้งแรกที่มีการเจาะระบบครั้งแรกของ iOS ในประวัติศาสตร์ของไอโฟน เว็บไซต์ที่มีมัลแวร์สามารถเข้าไปควบคุมอุปกรณ์ที่ถูกแฮ็กได้เกือบทั้งหมด โดยอาศัยจุดอ่อนในระบบปฏิบัติการที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน ซึ่งผู้ใช้อุปกรณ์นั้นอาจไม่รู้เลยว่าถูกโจมตี เพราะถูกหลอกให้เปิดเว็บไซต์ที่มีมัลแวร์ แล้วก็ถูกโจมตีทันที แม้ไม่ได้คลิกอะไรบนเว็บไซต์นั้นอีก นอกจากนี้ อุปกรณ์ที่ใช้ระบบแอนดรอยด์และวินโดว์สก็ถูกโจมตีเช่นกัน โดยใช้วิธีการฝังมัลแวร์ไปในเว็บไซต์ที่ผู้ใช้ชอบเข้า หรือเปลี่ยนทิศทางจากเว็บไซต์ที่ผู้ใช้ต้องการเข้าไปเป็นเว็บไซต์ที่ทำขึ้นมาเลียนแบบ เพื่อที่จะโจมตีผู้ใช้อย่างไม่เลือกเป้าหมาย โดยโธมัส บรูสเตอร์ นักข่าวด้านความมั่นคงและความเป็นส่วนตัวของนิตยสาร Forbes กล่าวว่า การโจมตีระบบแอนดรอยด์และวินโดวส์มีมานานกว่า 2 ปีแล้ว และจำนวนผู้ใช้ที่ถูกโจมตีก็มีจำนวนมากกว่าผู้ใช้ iOS อยู่มาก แซ็ค วิทเทเคอร์จากสำนักข่าว Tech…

จีนทุ่มทุน 6,300 ล้านดอลลาร์สำหรับสงครามข่าวสารข้อมูลระดับโลก

Loading

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว YouTube ประกาศปิดช่อง YouTube 210 ช่องที่มีพฤติกรรมน่าสงสัยเรื่องการทำงานอย่างประสานกันเพื่ออัพโหลดวิดีโอเกี่ยวกับการประท้วงในฮ่องกง โดย YouTube สันนิษฐานว่าช่องทางเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ด้านข่าวสารข้อมูลที่ปักกิ่งหนุนหลังอยู่เพื่อครอบงำมติมหาชนเกี่ยวกับการประท้วงในฮ่องกง ก่อนหน้านี้ราวหนึ่งสัปดาห์ Twitter กับ Facebook ก็ได้สั่งระงับการเผยแพร่ข้อมูลที่มีแนวทางบิดเบือน เช่นเปรียบเทียบกลุ่มที่ประท้วงต่อต้านรัฐบาลในฮ่องกงว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายของรัฐอิสลาม โดย Twitter ได้ปิดบัญชี 936 บัญชีที่เริ่มส่งข้อความจากในประเทศจีน และ Facebook ก็ได้ยกเลิก 27 เพจ 3 กลุ่ม และอีก 5 บัญชีซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ Facebook เรียกว่าเป็นพฤติกรรมเสแสร้งและมีการทำงานอย่างประสานสอดคล้องกันด้วย ถึงแม้ว่าการตัดสินใจของบริษัทสื่อสังคมออนไลน์ใหญ่ทั้งสามจะไม่ค่อยเห็นได้บ่อยนัก แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อก็เตือนว่ายังมีงานที่รอให้ต้องทำอยู่อีกมาก เพราะขณะนี้การรณรงค์ระดับโลกของจีนเพื่อควบคุมข่าวสารข้อมูลไร้พรมแดนเป็นไปอย่างกว้างขวางทั้งยังคุกคามเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาธิปไตยทั่วโลกด้วย โดยคุณ Cedric Alviani ผู้อำนวยการของหน่วยงานผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนประจำเอเชียตะวันออกที่กรุงไทเปเรียกร้องให้สาธารณชนให้ความสนใจเป็นพิเศษกับแหล่งที่มาของข่าวสารข้อมูลที่ได้รับ รวมทั้งช่วยรายงานเนื้อหาที่เห็นว่านำเสนอภาพหรือเหตุการณ์ที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริงอย่างจงใจ เมื่อเดือนมีนาคมปีนี้องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนดังกล่าวได้ออกรายงานเกี่ยวกับความพยายามของจีนเพื่อสร้างระเบียบความสัมพันธ์ของสื่อในโลกยุคใหม่ และชี้ว่าการโฆษณาชวนเชื่อรวมทั้งการบิดเบือนความจริงนับเป็นเครื่องมือที่สำคัญของรัฐบาลกรุงปักกิ่งที่ใช้กับผู้ตำหนิวิจารณ์ตน อย่างไรก็ตามข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งของจีนด้านปฏิบัติการข่าวสารข้อมูลระดับโลกก็คือ ในขณะที่สื่อสังคมออนไลน์ที่สำคัญของสหรัฐ เช่น Facebook, Twitter และ YouTube นั้นไม่สามารถใช้งานอย่างเป็นทางการได้ในประเทศจีน สื่อสังคมของจีนเองเช่น Weibo และ WeChat สามารถมีบทบาทได้ทั่วโลกและมักได้รับอิทธิพลด้านเนื้อหาจากสื่อต่างๆ…